• Tidak ada hasil yang ditemukan

5) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และ 6) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร โดยมี

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความหมายและความส าคัญของหลักสูตร

“หลักสูตร” มาจากภาษาอังกฤษค าว่า “curriculum” เป็นค าศัพท์ทางการศึกษาที่คน ส่วนใหญ่คุ้นเคย และมีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้

โครว์(Crow, 1980, p. 250) กล่าวว่าหลักสูตรคือมวลประสบการณ์ที่โรงเรียนให้

การศึกษาแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้

กู๊ด (Good, 1973, p. 157)ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรคือกลุ่ม รายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบหรือล าดับวิชาที่บังคับส าหรับการจบการศึกษาหรือเพื่อรับ ประกาศนียบัตรใบสาขาวิชาหลักต่าง ๆ

เซย์เลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor. J.G. & Alexander, 1974, p. 6) ได้ให้

ความหมายของหลักสูตรว่า หลักสูตรคือแผนส าหรับจัดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่บุคคลกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือจุดหมายที่วางไว้โดยมีโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ

โอลิวา (Oliva, 1992, p. 8 - 9)ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรโดยแบ่งเป็น การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ บริบทหรือสภาพแวดล้อม และวิธีด าเนินการหรือยุทธศาสตร์ ดังนี้

1) การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตรมีภาระหน้าที่ที่จะท า ให้ผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร แนวคิดนี้มีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการที่น าไปสู่ความส าเร็จ ตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายนั้น ๆ

2) การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามของ หลักสูตร เป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตรซึ่งแล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรนั้นมี

ลักษณะเป็นอย่างไร เช่น หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา เป็นต้น

3) การให้นิยามโดยยึดวิธีด าเนินการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการ นิยามในเชิงวิธีด าเนินการที่เป็นกระบวนการ ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการ สอน เช่น หลักสูตร คือ กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การท างาน กลุ่ม หลักสูตร คือการเรียนรู้เป็นรายบุคคล หลักสูตร คือโครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น

โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ โครงการที่จัด ประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ภายใต้การด าเนินงานของโรงเรียน และในทางปฏิบัติหลักสูตร ประกอบด้วยจ านวนของแผนการต่าง ๆ ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และมีขอบเขตกว้างหลาย หลาย เป็นแนวทางของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย เป็นรายวิชา หรือเป็นรายวิชาย่อย แผนงานหรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าว อาจจัดขึ้นได้ทั้งใน และนอกชั้นเรียน

ธ ารง บัวศรี (2542, น. 6)กล่าวว่าหลักสูตร คือแผนซึ่งได้ออกแบบจัดท าขึ้น เพื่อให้แสดงถึงจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาสาระ กิจกรรม และประมวลประสบการณ์ในแต่ละ โปรแกรมการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตามจุดหมายที่ได้ก าหนดไว้

สุมิตร คุณานุกร (2520, น. 2-3) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ในสองระดับ คือหลักสูตรในระดับชาติกับหลักสูตรในระดับโรงเรียน หลักสูตรในระดับชาติ หมายถึง โครงการให้

การศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และคุณลักษณะ สอดคล้องกับความมุ่งหมายทาง การศึกษาที่ก าหนดไว้ ส่วนหลักสูตรในระดับโรงเรียน หมายถึง โครงการที่ประมวลความรู้ และ ประสบการณ์ทั้งหลายที่โรงเรียนจัดให้กับนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกโรงเรียนก็ตาม เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามความมุ่งหมายที่ก าหนดไว้

จะเห็นได้ว่าหลักสูตรเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาทุกระดับ เป็นเครื่องมือใน การก าหนดแนวทางการจัดการศึกษา เป็นเข็มทิศในการพัฒนาผู้เรียนให้ถึงผลที่คาดหวัง มี

สมรรถนะ มีทักษะในการด ารงชีวิต ที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและพัฒนาสังคมได้

อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นหลักสูตรการศึกษาที่ดีจึงควรมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพชีวิตและ สังคมของผู้เรียน

หลักสูตรเป็นแม่บทส าคัญต่อการศึกษาในทุกระดับและทุกสาขาวิชา การจะท า ให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่ก าหนดไว้จะต้องมีหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางและเป็นเกณฑ์

มาตรฐานทางการศึกษาส าหรับควบคุมการเรียนการสอนในแต่ละระดับการศึกษา ใจทิพย์ เชื้อ รัตนวงษ์ (2539, น. 11) ได้กล่าวว่าการที่จะทราบว่าการศึกษาระดับต่าง ๆ ของประเทศดีหรือไม่

นั้นสามารถพิจารณาได้จากหลักสูตรการศึกษา เพราะหลักสูตรเป็นเครื่องมือในการแปลง จุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ สถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ หลักสูตรเป็นเครื่องชี้แนะทางการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียน ครูจะต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มุ่งสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน หลักสูตรจึงเป็นหัวใจส าคัญของการศึกษา และเป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญของชาติ ถ้าประเทศใดมีหลักสูตรเหมาะสม ทันสมัยและมี

ประสิทธิภาพ คนในประเทศย่อมมีความรู้ และมีศักยภาพในการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่

หลักสูตรมีความส าคัญต่อตัวบุคคลในการช่วยพัฒนาบุคคลในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่

การสร้างคุณลักษณะผู้เรียนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ทั้งนี้

เนื่องจากผู้พัฒนาหลักสูตรสามารถที่จะก าหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชาของหลักสูตรเพื่อ วางรากฐานความคิดที่ต้องการได้ นอกจากนี้หลักสูตรจะช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นพบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง ตลอดจนรู้จักแนวทางในการประกอบอาชีพตามที่ตน สามารถและถนัด ท าให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ เพราะหลักสูตรเป็นพาหนะที่จะน าความมุ่ง หมายของการศึกษาไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุความส าเร็จ และหลักสูตรยังท าให้สังคมเปลี่ยนแปลง ได้ เพราะเมื่อผู้พัฒนาหลักสูตรต้องการสร้างคุณลักษณะของประชาชนอย่างไรก็สามารถที่จะ ก าหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหาให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ (กาญจนา คุณารักษ์, 2540; ใจทิพย์

เชื้อรัตนพงษ์, 2539)

สุนีย์ ภู่พันธ์ (2546, น. 17) ได้สรุปความส าคัญของหลักสูตรเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1) หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองให้มีคุณภาพ 2) หลักสูตรเป็นมาตรฐานของการจัดการศึกษา 3) หลักสูตรเป็นโครงการและแนวทางให้การศึกษา 4) ในระดับโรงเรียนหลักสูตรจะให้แนวปฏิบัติแก่ครู

5) หลักสูตรเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการ ของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา

6) หลักสูตรเป็นเครื่องก าหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์ว่า ผู้เรียนและ สังคมควรจะได้รับสิ่งใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์แก่เด็กโดยตรง

7) หลักสูตรเป็นเครื่องก าหนดว่า เนื้อหาวิชาอะไรบ้างที่จะช่วยให้เด็กมีชีวิต อยู่ในสังคมอย่างราบรื่น เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และบ าเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่

สังคม

8) หลักสูตรเป็นเครื่องก าหนดว่า วิธีการด าเนินชีวิตของเด็กให้เป็นไปด้วย ความราบรื่นและผาสุกเป็นอย่างไร

9) หลักสูตรย่อมท านายลักษณะของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร 10) หลักสูตรย่อมก าหนดแนวทางความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ

ทักษะและเจตคติของผู้เรียนอันที่จะอยู่ร่วมในสังคม และบ าเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและ ชาติบ้านเมือง

2. รูปแบบและองค์ประกอบของหลักสูตร

Garis besar

Dokumen terkait