• Tidak ada hasil yang ditemukan

หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ และหลักการสอนผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่จะเข้าเรียนต่อเมื่อรู้สึกขาดความรู้และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน ดังนั้นผู้ใหญ่จึงต้องการที่จะน าความรู้ไปใช้ในอนาคตอันใกล้ หรือโดยเร็วที่สุด จึงต้องเรียนรู้โดยอาศัย ปัญหาเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน Malcolm S. Knowles (1978 อ้างถึงใน สุวัฒน์ วัฒนวงศ์, 2547, น. 247-248)ได้สรุปพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ส าหรับผู้ใหญ่สมัยใหม่ (Modern Adult Learning Theory) ดังนี้

1) ความต้องการและความสนใจ (Needs and Interests)

ผู้ใหญ่จะเรียนรู้ได้ดีหากตรงกับความต้องการและความสนใจและ ประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้ใหญ่จะเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นการจัดกิจกรรมทั้งหลาย เพื่อให้ผู้ใหญ่

เกิดการเรียนรู้ จะต้องค านึงถึงสิ่งนี้ด้วยเสมอ

2) สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้ใหญ่ (Lift Situations)

การเรียนรู้ของผู้ใหญ่จะได้ผลดีหากผู้ใหญ่เป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน (Life-Cantered) ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ควร จะยึดถือเอาสถานการณ์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้ใหญ่เป็นหลักส าคัญ มากกว่าตัวเนื้อหาวิชา

3) การวิเคราะห์ประสบการณ์ (Analysis of Experience)

เนื่องจากประสบการณ์เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณค่ามากที่สุดส าหรับผู้ใหญ่

ดังนั้น หลักส าคัญของการเรียนรู้ผู้ใหญ่ คือ การวิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้ใหญ่แต่ละคนอย่าง ละเอียดว่า และน ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

4) ผู้ใหญ่ต้องการเป็นผู้น าตนเอง (Self-Directing)

ความต้องการในส่วนลึกของผู้ใหญ่คือ ความรู้สึกต้องการที่จะสามารถน า ตนเองได้ ดังนั้นบทบาทของครูจึงควรอยู่ที่กระบวนการสืบหา หรือค้นหาค าตอบร่วมกันกับผู้เรียน (Mutual Inquiry) มากกว่าท าหน้าที่ส่งผ่านหรือเป็นสื่อส าหรับความรู้ แล้วท าหน้าที่ประเมินผลว่า ผู้ใหญ่คล้อยตามหรือไม่

5) ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference)

ความแตกต่างระหว่างบุคคลจะมีเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการสอนนักศึกษาผู้ใหญ่จะต้องจัดเตรียมในด้านนี้อย่างดีพอ เช่น รูปแบบของการ เรียนการสอน (Style) เวลาที่ได้ท าการสอน สถานที่สอน และประการส าคัญคือ ความสามารถใน การเรียนรู้ในแต่ละขั้นของผู้ใหญ่ย่อมเป็นไปตามความสามารถของผู้ใหญ่แต่ละคน (Pace of Learning)

หลักการสอนผู้ใหญ่หรือ “Andragogy” เป็นแนวความคิดใหม่ในการเรียน การสอนที่พยายามจะชี้ให้เห็นความแตกต่างจากวิธีการสอนเด็ก “Andragogy” มาจากรากศัพท์

ภาษากรีก คือค าว่า Aner (man) + Agogus (Leader) ซึ่งหมายความว่าศาสตร์และศิลป์ในการ สอนผู้ใหญ่ (The art and science of teaching adults) มีหลักส าคัญ 4 ประการ ดังนี้ (สุวัฒน์

วัฒนวงศ์, 2547, น. 245-247)

1) การเปลี่ยนแปลงด้านมโนภาพแห่งตน (Changes in Self-Concept) ข้อสันนิษฐานนี้ คือ บุคคลเจริญเติบโตและบรรลุวุฒิภาวะไปสู่มโนภาพแห่งตนจากการอาศัยหรือ พึ่งพาบุคคลอื่น ๆ ในวัยเด็กทารก และน าไปสู่การเป็นผู้น าตัวเองได้มากขึ้น ทฤษฎีการสอนผู้ใหญ่

คาดว่าจุดที่ผู้ใหญ่บรรลุความส าเร็จในด้านมโนภาพแห่งตนในการเป็นผู้น าตนเอง คือลักษณะทาง

จิตวิทยาของการเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นในการสอนผู้ใหญ่ต้องพยายามท าให้ผู้ใหญ่เกิด "Self - directing" ในการเรียนการสอนให้มากที่สุดด้วย

2) บทบาทของประสบการณ์ (The Role of Experience) ข้อสันนิษฐาน เกี่ยวกับประสบการณ์ เชื่อว่าบุคคลที่เริ่มบรรลุวุฒิภาวะแล้วเขาก็จะได้สะสมประสบการณ์ที่

กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งประสบการณ์นั้นนับว่าเป็น “แหล่งที่มีคุณค่าสูงยิ่งส าหรับการเรียนรู้” รวมทั้ง เป็นการช่วยขยายโลกทัศน์ของผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งหลายด้วย

3) ความพร้อมในการเรียน (Readiness to Learn) คือ บุคคลจะมีวุฒิ

ภาวะและเกิดความพร้อมในการเรียนรู้อันเป็นผลมาจากการพัฒนาทางชีววิทยา และแรงกดดัน ทางด้านความต้องการเกี่ยวกับวิชาการ ส่วนที่เกิดความพร้อมมากขึ้นก็คือ ผลพัฒนาของ ภาระหน้าที่ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบทบาททางสังคมที่แตกต่างกัน ในการสอนผู้ใหญ่นั้นผู้เรียนมี

ความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในการสร้างให้เกิดความพร้อม นอกจากจะดูพัฒนาการแล้ว ยังมี

รูปแบบการกระตุ้นในลักษณะของการกระท าได้ อาจจะในลักษณะของความมุ่งหวังในระดับสูง และกระบวนการวินิจฉัยในตัวเอง อย่างที่แมคคลีแลนด์ (David Mc. Clellend, 1970) ได้พัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ได้ประสบผลส าเร็จอย่างสูงส าหรับการช่วยให้ผู้ใหญ่พัฒนาตัวเอง ซึ่งเขาเรียกว่า

"แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์"

4) การส่งเสริมให้การเรียนรู้มีความเหมาะสม (Orientation to Learning) ผู้ใหญ่ส่วนมากมักจะมีการเรียนรู้โดยอาศัยปัญหาเป็นศูนย์กลาง ความแตกต่างที่เห็นได้นี้เป็น ผลลัพธ์มาจากความแตกต่างของการเห็นคุณค่าของเวลานั่นเอง ผู้ใหญ่เข้ามาเรียนและยุ่งเกี่ยวกับ กิจกรรมทางการศึกษา ก็เพราะว่าเขาขาดความรู้และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน ผู้เรียนจึงต้องการที่จะน าไปใช้ในอนาคตอันใกล้หรือโดยเร็วที่สุด ที่สามารถน าไปใช้ได้ทันทีทันใด ดังนั้นเขาจึงต้องการได้รับการเรียนรู้โดยอาศัยปัญหาเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน

Knowles (1978 อ้างถึงใน สุวัฒน์ วัฒนวงศ์, 2547, น. 249-250) กล่าวถึง การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการสอนผู้ใหญ่และการสอนเด็ก ดังตารางที่ 1

ตาราง 1 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการสอนผู้ใหญ่และการสอนเด็ก

ข้อตกลงเบื้องต้น การสอนเด็ก การสอนผู้ใหญ่

มโนภาพแห่งตน ไม่เป็นอิสระ มีความ สาม ารถในการน า

ตนเองเพิ่มมากขึ้น

ประสบการณ์ มีคุณค่าไม่มากนัก ผู้เรียนมีแหล่งของความรู้ที่มี

คุณค่า

ความพร้อม การพัฒนาทางชีววิทยา

ก่อให้เกิดแรงกดดันทางสังคม

มีภารกิจเชิงพัฒนาการเป็นไป ตามบทบาททางสังคม

การมองเห็นคุณค่าของเวลา สามารถเลื่อนไปหรือรอคอยได้ ต้องน าไปใช้ในทันทีทันใด วิธีการเรียนรู้ ใช้เนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง ใช้ปัญหาเป็นศูนย์กลาง

ที่มา : Knowles (1978 อ้างถึงใน สุวัฒน์ วัฒนวงศ์, 2547, น. 249-250)

กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาหลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ พบว่าผู้ใหญ่จะเข้าเรียน ต่อเมื่อรู้สึกขาดความรู้และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน และต้องการที่จะน าความรู้ไป ใช้ในอนาคตอันใกล้ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ถ้าตรงกับความต้องการ และความสนใจใน ประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้ใหญ่จะเรียนรู้ได้ดี รวมถึงการน าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้ใหญ่เป็น ศูนย์กลางการเรียนการสอน โดยค านึงถึงประสบการณ์ของผู้ใหญ่แต่ละคน โดยครูมีบทบาทในการ ส่งผ่านความรู้และประเมินผลโดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นส าคัญ ดังนั้น เพื่อให้

ผู้เรียนมีความสนใจ เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเห็นคุณค่าของการเรียน จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่

ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง กระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความส าคัญและความ จ าเป็นในสิ่งที่ต้องเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย และผู้ใหญ่ต้องการเป็นผู้น าตนเอง และ ต้องการการยอมรับ ดังนั้นหลักการสอนผู้ใหญ่ต้องพยายามให้ผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้แบบน าตนเอง (Self-directed learning) ผู้สอนมีบทบาทในการกระตุ้น สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้โดยยึดปัญหา เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถน าความรู้และประสบการณ์ไปแก้ปัญหาได้ทันที

Garis besar

Dokumen terkait