• Tidak ada hasil yang ditemukan

ชัยฤทธิ์ พิสุวรรณ (2544, น. 5)ให้ข้อสรุปว่าปรัชญาและทฤษฎีและแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการกระท า หรือทฤษฎีกับการปฏิบัติ ปรัชญาเป็นสาขาวิชา (Discipline) ที่แบ่งเป็น 4 สาขาย่อย คือ 1) อภิปรัชญา (Metaphysics) เป็นการศึกษาถึงความเจริญ สูงสุด (Ultimate Reality) ของสรรพสิ่งในโลก เช่น ความจริงที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของธรรมชาติ ความ จริงที่เกี่ยวกับจิตใจ และความจริงที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล 2) ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ (Epistemology) ปรัชญาสาขานี้เป็นการศึกษาถึงความรู้และกระบวน ที่ได้มาซึ่งความรู้ตลอดจนความรู้ทั้งหมดที่มีผลต่อการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ และการ เกิดขึ้นอย่างกะทันหันของความรู้ที่แท้จริงและถูกต้อง 3) คุณวิทยา (Axiology) ปรัชญาสาขานี้เป็น การศึกษาถึงคุณค่าของมนุษย์ทั้งทางด้านจริยศาสตร์ (Ethics) และทางด้านสุนทรียศาสตร์

(Aesthetics) ด้านจริยศาสตร์ ได้แก่ความดี ความชั่ว ความถูกต้องและความผิด เป็นต้น ส่วน ทางด้านสุนทรียศาสตร์จะเกี่ยวกับความสวยงาม ความไม่สวยไม่งาม นอกจากนี้ยังเน้นถึงคุณค่าทาง ลัทธิศาสนา ทางสังคมและทางเศรษฐศาสตร์ด้วย 4) ตรรกวิทยา (Logic) ปรัชญาสาขานี้ถือว่าเป็น เครื่องมือและวิธีการคิดหาเหตุผลเป็นการศึกษาถึงวิธีคิดการไตร่ตรอง การวินิจฉัย การสังเกต ทบทวน การคิดแบบนิรนัย (Deductive) และอุปนัย (Inductive) สมมุติฐานและทดลอง การวิเคราะห์และ สังเคราะห์เป็นต้น

การศึกษาผู้ใหญ่มีหลายประเด็นที่ได้รับการพิจารณาในแง่ของการให้ความส าคัญของ การพัฒนาผู้ใหญ่ (Adult Development) แม้จะมีการท างานด้านจิตวิทยาสังคมในประเด็นนี้ แต่ก็เห็น อย่างได้ชัดเจนว่าแนวคิดในการพัฒนาผู้ใหญ่กับการศึกษา จ าเป็นต้องค้นคว้าหลักสูตรการสอนของ นักศึกษาผู้ใหญ่มักจะอยู่ในรูปแบบของโครงการ Hansman และ Mott (2011 อ้างถึงใน ดวงเดือน

จันทร์เจริญ, 2555, น. 210) สรุปว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการวางแผนการศึกษาส าหรับผู้ใหญ่ ปรัชญาจะมี

ผลต่อนักการศึกษาในการวางแผนและการน าไปใช้ แต่ในมุมมองของนักวางแผนเชิงปรัชญาจะ ชี้ให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจหลาย ๆ อย่าง ในการวางแผนโครงการ การที่จะ พัฒนาโครงการต้องมีการตกลงอย่างชัดเจนถึงรายละเอียดของโครงการ วัตถุประสงค์ในการพัฒนา โครงการ และความแตกต่างของโครงการจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางปรัชญา

กระบวนการศึกษาผู้ใหญ่นั้นเกี่ยวกับการวางแผนโครงการ และกระบวนการเรียนการ สอน โดยทั่วไปนักการศึกษาจะให้ความสนใจในทักษะมากกว่าหลักการ หรือมองในรายละเอียด มากกว่าภาพรวม ดังนั้นปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่นั้นต้องวิเคราะห์แนวคิดและหลักการของปรัชญา ต่าง ๆ เพื่อน ามาก าหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทบาทของผู้สอน ผู้เรียน วิธีการสอน อุปกรณ์

และสื่อการสอน และสิ่งที่ส าคัญที่สุดคือการวิเคราะห์ความต้องการบนพื้นฐานของผู้เรียน ปรัชญา การศึกษาผู้ใหญ่ก็เหมือนกับระบบความคิดทั้งหลายซึ่งเกิดมาภายในกรอบวัฒนธรรมของสังคม แม้ว่า นักปรัชญาแต่ละคนรับผิดชอบในการพัฒนาปรัชญาเพื่อน ามาใช้ในการศึกษาผู้ใหญ่ แต่การพัฒนา ความคิดส่วนใหญ่จะมีอิทธิพลมาจากปัญหา และการท้าทายวัฒนธรรมที่มีอยู่ การท าความเข้าใจ ปรัชญาการศึกษาจะต้องท าการวิเคราะห์ถึงการพัฒนาและแหล่งที่มา ปรัชญาที่กี่ศึกษาผู้ใหญ่

วิเคราะห์และน ามาประยุกต์ใช้มีดังนี้ ((Elias & Merriam, 2005 อ้างถึงใน ดวงเดือน จันทร์เจริญ, 2555, น. 210)

ปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่เสรีนิยม (Liberal Adult Education) เริ่มต้นมาจาก ทฤษฎีของนักปรัชญาชาวกรีก Socrates Plato และ Aristotle มีการน าการศึกษาเสรีนิยมมาปรับ ใช้ในโรงเรียนคริสต์ในยุคต้น ยุคกลาง และในยุคปัจจุบัน ซึ่งกลายมาเป็นทฤษฎีการศึกษาที่มี

อิทธิพลที่สุดในโลกตะวันตก และยังมีผลกับความคิดทางการศึกษาในปัจจุบัน ความส าคัญในการ เรียนแบบเสรีนิยม แต่เดิมเน้นในการจัดการความรู้ และการพัฒนาทางสติปัญญา นักปรัชญาที่

สนับสนุนความคิดนี้ คือ Adler, Hutchins, Maritain, Doren, Bloom และ Hirsch (อ้างถึงในElias, John; Merriam, และ Sharan, 2005, p. 12) ที่มุ่งพัฒนาบุคคลให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่รู้จักใช้สติปัญญา และมีเหตุผลและความรู้ มีความคิดกว้างไกล สามารถสังเคราะห์ วิเคราะห์และเข้าใจสภาพการณ์

ต่าง ๆ ได้ การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ คือ เป็นปัญญาชน และมุ่งให้ใช้สติปัญญาและคิดหาเหตุผล เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยยึดหลักคุณธรรม มีศีลธรรม อิสระ เสรีภาพ และมุ่งหวังให้ผู้เรียน ประกอบคุณงามความดี มีศรัทธาในศาสนา นอกจากนี้เป็นการศึกษาที่มุ่งปลูกฝังลักษณะ สุนทรียภาพในตัวมนุษย์ ให้ผู้เรียนมีความละเอียดอ่อนในอารมณ์และจิตใจ ซึ่งกิจกรรมที่จัดเน้น การบรรยาย วิพากษ์ อภิปรายและการวิเคราะห์

2. ปรัชญ าการศึกษาผู้ใหญ่ แบบพิพัฒนาการนิยม (Progressive Adult Education) เริ่มต้นมาจากการด าเนินการทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ การศึกษา ปรัชญานี้ให้ความส าคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับสังคม เน้นประสบการณ์

วิชาชีพ และการศึกษาในระบบประชาธิปไตย ผู้น าการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมได้แก่

Lindeman, Bergevin, Benne และ Blakely ปรัชญ านี้มีหลักการว่าการศึกษาจะต้องเป็น กระบวนการตลอดชีวิต (Life-long Education) รับผิดชอบสังคม เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ (Learner- cantered) การแก้ปั ญ หา (Problem-solving) ป ระสบ การณ์ เป็ นพื้นฐานในการเรียนรู้

(Experience-based) การเรียนรู้แบบประชาธิปไตย (Democracy) และการประเมินความจ าเป็น หรือความต้องการของผู้เรียน (Need-assessment) ดังนั้น การจัดกิจกรรมการสอนที่ตอบสนอง ความต้องการ ความสนใจและปัญหาของผู้เรียน วิธีการสอนให้ความส าคัญกับการเรียนการสอน แบบวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการแก้ปัญหา (Problem-solving) โดยการคิดหาเหตุผล และการศึกษามี

เป้าหมายเป็นเชิงปฏิบัตินิยม และน าไปใช้ประโยชน์โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งนักการศึกษา ผู้ใหญ่ยอมรับว่าประสบการณ์ของผู้ใหญ่เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณค่ายิ่ง

3. ปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่แบบพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Adult Education) มีรากฐานมาจากการด าเนินการทางปรัชญาและทางวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมนิยมจะให้

ความส าคัญกับการควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมเรียนรู้โดยการเน้นและบริหารให้บรรลุ

จุดมุ่งหมายเป็นหลัก นักพฤติกรรมนิยมในช่วงแรกได้แก่ Thorndike, Pavlov และ Watson นัก ปรัชญาพฤติกรรมนิยมที่มีอิทธิพลที่สุด คือ Skinner หลักการของปรัชญานี้เน้นการพัฒนาทักษะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์โดยใช้แรงจูงใจ การจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่ส่งเสริมและ กระตุ้น ใช้การเสริมแรง และประเมินผลโดยการสังเกตพฤติกรรม ติดตามผลและน าข้อมูล ย้อนกลับไปปรับเปลี่ยนและพัฒนาการจัดกิจกรรมซึ่งกิจกรรมที่จัดจะเน้นให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมน า ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการจัดกิจกรรม

4. ปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่แบบมนุษยนิยม (Humanistic Adult Education) มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาของปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existential Philosophy) และจิตวิทยา มนุษย์ (Humanistic Psychology) หลักส าคัญของปรัชญานี้จะเน้นที่เสรีภาพ การปกครองตนเอง ความไว้วางใจ ความร่วมมือกัน และการเลือกเรียนด้วยตนเอง พื้นฐานของปรัชญานี้ถูกค้นพบใน งานของ Hidegger, Sartre, Camus, Marcel และ Buber นักปรัชญาที่มีอิทธิพลและรับผิดชอบ ในการพัฒนาปรัชญาการศึกษานี้ ได้แก่ Maslow, Rogers, May, Allport และ Fromm การให้

ค าแนะน าทางปรัชญาได้รับผลจากการพยายามในการค้นคว้าของ Tough และคณะ โดยปรัชญา

นี้เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพ ความดี การรับรู้ มีความรับผิดชอบ และที่ส าคัญที่สุดคือมนุษย์มีความ ต้องการที่บรรลุสัจจการแห่งตน โดยใช้หลัก Andragogical Model ของ Malcolm Knowles ผู้ที่มี

เชื่อเสียงที่ให้การสนับสนุนการประชุมเพื่อหาความต้องการของผู้เรียนผู้ใหญ่ เน้นการชี้น าตนเอง เรียนรู้จากความต้องการ มีความพร้อมถึงจะเรียนรู้ได้ดี น าความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์เป็นแหล่งทรัพยากรที่ส าคัญ และผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน กิจกรรมเน้น กระบวนการกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม และการเรียนจากประสบการณ์ เช่น การเรียนเป็นกลุ่ม (Group Dynamics) การฝึกอบรมกลุ่มสัมพันธ์ (Group Relations Training) กระบวนการท างาน ร่วมกัน (Group Processes) การเรียนกลุ่มที่ก่อให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Self-help Group) และการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning)

5. ปรัชญ าการศึกษาผู้ใหญ่ แบบปฏิรูปนิยม (Radical or Critical Adult Education) มีรากฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ศตวรรษที่ผ่านมา ในยุค อนาธิปไตยหรือกลุ่มผู้ไม่นิยมรัฐบาลและอ านาจการควบคุม (Anarchism) ลัทธิมาร์กซ์ (Marxism) ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ลัทธิฟรอยด์ฝ่ายซ้าย (Left-wing Freudianism) ทฤษฎีเชิงวิเคราะห์

(Critical Theory) และลัทธิเฟมินิส (Radical Feminism) การปฏิรูปการศึกษาเป็นแรงผลักดันให้

เกิดความส าเร็จในการปฏิรูปโครงสร้างทางสังคม การศึกษาในรูปแบบนี้จะสัมพันธ์กับความเข้าใจ ในวัฒนธรรมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง พร้อมกับพัฒนาวิธีการที่จะท าให้ประชาชนเข้าใจ บทบาทและหน้าที่ของตนเองต่อสังคม นักการศึกษาแบบปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ได้แก่ Counts และ Brameid ในช่วงปี 1930 ปรัชญานี้ได้ถูกฟื้นฟูในช่วงปี 1960 ด้วยความพยายามของ Kozol, Holt, Goodman และ lllich นักการศึกษาผู้ใหญ่ที่มีความส าคัญในปรัชญาการศึกษานี้คือ Paulo Freire ผู้ที่เน้นคุณธรรมและการพัฒนาจิตใจ ท่ามกลางกลุ่มที่กดขี่ เน้นการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและการศึกษา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางวัฒนธรรม โดยมีแนวคิด เกี่ยวกับการมีจิตส านึกทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การคิดวิเคราะห์และการมีส่วนร่วมใน สังคม เน้นการจัดกิจกรรมกลุ่ม การอภิปรายและการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่ม

6. ปรัชญาเชิงวิเคราะห์ของการศึกษาผู้ใหญ่ (Analytic Philosophy of Adult Education) ท าให้เกิดสติปัญญาในปรัชญาการศึกษา ซึ่งเริ่มมาจาก Logical Positivism, Scientific Positivism และปรัชญาวิเคราะห์แบบอังกฤษ (British Analytical Philosophy) ปรัชญา นี้จะใช้ความจ าเป็นในการอธิบายความคิด การโต้แย้ง และการก าหนดนโยบายที่ใช้ในการศึกษา ผู้ใหญ่ นักปรัชญาการศึกษานี้ ได้แก่ Scheffler, Peters, Green, Lawson และ Paterson ซึ่งเป็น นักปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่ชาวอังกฤษที่ริเริ่มการศึกษานี้และพยายามที่จะให้หลักส าคัญทาง

Garis besar

Dokumen terkait