• Tidak ada hasil yang ditemukan

การจัดการศึกษาในปัจจุบันได้มีการน ารูปแบบและเทคนิควิธีการสอนเพื่อให้สนองตอบ ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการแข่งขันของประเทศทั้งด้านความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี

การปรับตัวต่อการกระจายความรู้ การเชื่อมโยงความรู้ด้านต่างๆ ที่เชื่อมถึงกันทั่วโลก การน า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการศึกษานั้นสามารถท าได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่

การน าคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นอุปกรณ์ในการสอน การน าบริการต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะเวิลด์ไวด์เว็บมาพัฒนาเป็นสื่อการสอนในทุกระดับการศึกษา และการจัดการเรียนการสอน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างผู้เรียนและ ผู้สอน ผู้เรียนสามารถเรียนได้โดยไม่มีข้อจ ากัดในเรื่องเวลาและสถานที่ (anytime anywhere) เป็นการ สร้างโอกาสและความเสมอภาคในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่ง ข่าวสารถึงกันได้ย่างรวดเร็วก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ในการเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบการสอนแบบใหม่อีกรูปแบบหนึ่งภายใต้กระแสแห่งพัฒนาการด้านเทคโนโลยี

คอมพิวเตอร์ เป็นรูปแบบของการบูรณาการปรับใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอนแบบ ปกติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทีก้าวไกลเกิดทั้งประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพทางการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง รูปแบบดังกล่าวนี้เรียกว่า “การเรียนรู้แบบผสมผสาน” (Blended Learning) เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่

ผสมผสานโมดูล (Module) การเรียนการสอนหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เป็นลักษณะของการผสมผสาน การเรียนทางไกล (Distance Learning) ผ่านระบบเครือข่าย Online ร่วมกับการเรียนแบบเผชิญหน้า (Face to Face) ท าให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียนปกติ

ทั้งนี้จะให้ความส าคัญกับการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมและถูกต้องตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในลักษณะ ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน

4.1 ความหมายของการเรียนการสอนแบบผสมผสาน

การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานนั้นมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้

ความหมาย และแนวคิดของการเรียนการสอนแบบผสมผสานไว้อย่างหลากหลาย ดังนี้

การ์นแฮมและโรเบิร์ต เคล (Garnham & Robert Kaleta, 2002, Online) กล่าวว่า การเรียนบนเว็บแบบผสมผสานเป็นการเรียนที่ดีที่สุดเนื่องจากเป็นการผสมผสานการ จัดการเรียนการสอน โดยการเลือกใช้คุณลักษณะที่ดีที่สุดของการสอนในห้องเรียนและ คุณลักษณะที่ดีที่สุดของการสอนออนไลน์เข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างอิสระท า ให้เกิดการเรียนรู้ที่กระฉับกระเฉง (Active Learning) สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความ กระฉับกระเฉงในการเรียน (Active Learner) และสามารถลดเวลาในการเข้าชั้นเรียนได้

ดริสคอลล์ (Driscoll, 2002) ได้แบ่งแนวคิดของการเรียนบนเว็บแบบ ผสมผสานไว้ 4 แนวคิด ได้แก่

1) แนวคิดผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนบนเว็บ (Web Based Technology) กับการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา ดริสคอลล์ได้ให้นิยามของการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานว่าเป็นการรวมหรือผสม เทคโนโลยีของเว็บกับการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม เช่น การเรียนในห้องเรียนเสมือนแบบสด (Live Virtual Classroom) การเรียนด้วยตนเอง (Self-Paced Instruction) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) วิดีโอสตรีมมิ่ง (Streaming Video) เสียง และข้อความ เป็นต้น

2) แนวคิดการผสมผสานวิธีสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน โดยให้นิยาม ของการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานว่าเป็นการผสมผสานวิธีสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน เช่น แนวคิดสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) แนวคิดพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) และแนวคิด พุทธินิยม (Cognitivism) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์จากการเรียนที่ดีที่สุด ซึ่งอาจใช้หรือไม่ใช้เทคโนโลยีการ สอนก็ได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ บองค์และเกรแฮม (Bonk และ Graham, 2006)ที่กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบผสมผสานเป็นการผสมผสานระบบการเรียน (Learning System) ที่

หลากหลายเข้าด้วยกันเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่หลากหลายในการเรียน

3) แนวคิดการผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนทุกรูปแบบกับการเรียน การสอนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมที่มีการเผชิญหน้าระหว่างการสอนในทุกรูปแบบ เช่น วิดีโอเทป ซีดีรอม การเรียนการสอนผ่านเว็บ ภาพยนตร์

4) แนวคิดการผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนกับการท างานจริง โดย ไวท์ ลอคและเจลฟ์ (Whitelock และ Jelfs, 2003) ได้ให้ความหมายของการเรียนแบบผสมผสานไว้

ว่า เป็นการรวมของการเรียนแบบดั้งเดิมด้วยวิธีการเรียนออนไลน์บนเว็บ การรวมการใช้สื่อและ เครื่องมือในสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นการรวมวิธีการสอน หลากหลาย วิธีโดยไม่ค านึงถึงการใช้เทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับเบอร์ซิน (Bersin, 2004)ที่กล่าว ว่า การเรียนแบบผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมในองค์กร เป็นการผสมผสานการเรียน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ในการส่งผ่านความรู้ในการฝึกอบรม

โรไวและจอร์แดน (Rovia & Jordan, 2004, pp.1, 3-4)กล่าวว่า การเรียนบน เว็บแบบผสมผสานท าให้ผู้เรียนมีจิตส านึกต่อการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียน (Sense of Community) มากกว่าการเรียนในสภาพแวดล้อมของห้องเรียนปกติ และการเรียนแบบออนไลน์

เพียงอย่างเดียว (Fully Online) การเรียนแบบผสมผสานจึงเป็นวิธีการเรียนที่ยืดหยุ่นด้วยการ ออกแบบหลักสูตรที่สนับสนุนเวลาและสถานที่การเรียนที่ต่างกัน จึงช่วยให้เกิดความสะดวกในการ เรียนผ่านระบบออนไลน์ได้แม้ไม่ได้ติดต่อผ่านการเผชิญหน้ากันภายในห้องเรียนปกติก็ตาม

การ์ริสัน (Garrison, 2008, p. 5)ได้กล่าวถึงการเรียนแบบผสมผสานไว้ว่า เป็นการรวมแนวคิดของการเผชิญหน้าของการเรียนแบบดั้งเดิม และการเรียนแบบออนไลน์เข้าไว้

ด้วยกัน โดยมีหลักการพื้นฐานจากการสนทนาแบบเผชิญหน้า และการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

เป็นการบูรณาการผสมผสานเอาข้อดีที่เป็นจุดแข็งของแต่ละรูปแบบการเรียนรู้มาใช้ร่วมกันได้

อย่างเหมาะสม ภายใต้สภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งสิ่งส าคัญที่สุดในการเรียน แบบผสมผสาน คือ การค านึงถึงหลักการพื้นฐานในการออกแบบเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างการ เรียนรู้ วิธีการสอนและการเรียนรู้

ธอร์น (Thorne, 2003) กล่าวว่า การเรียนบนเว็บแบบผสมผสานเป็นแนวทาง ในการปรับปรุงการเรียนรู้ที่ท้าทายและพัฒนาความต้องการส่วนบุคคล โดยการเรียนบนเว็บแบบ ผสมผสาน เป็นการรวมนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน โดยเน้นการมี

ปฏิสัมพันธ์ทั้งจาก การเรียนแบบออนไลน์และการมีส่วนร่วมในการเรียนแบบดั้งเดิม การเรียนบน เว็บแบบผสมผสาน สามารถสนับสนุนและช่วยท าให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น โดยการติดต่อแบบ ส่วนตัวกับผู้สอน

จากการศึกษาแนวคิดและความหมายของการจัดการเรียนการสอนแบบ ผสมผสานจากนักการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถสรุปความหมายของการ เรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) เป็นการบูรณาการการเรียนแบบเผชิญหน้าใน ชั้นเรียน (Traditional Learning) และการเรียนแบบออนไลน์ (Online Learning) เข้าไว้ด้วยกัน โดยการออกแบบและก าหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration) ตาม

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยอาศัยเทคนิควิธีการที่ดีของการเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนและการ เรียนแบบออนไลน์ผ่านวิธีการเรียนรู้ ช่องทาง และสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

4.2 องค์ประกอบของการเรียนการสอนแบบผสมผสาน

การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานนั้นมีนักการศึกษาหลายท่านได้น าเสนอ องค์ประกอบของการเรียนการสอนแบบผสมผสานไว้อย่างหลากหลาย ดังนี้

โรไวและจอร์แดน (Rovia & Jordan, 2004, Online) กล่าวว่า องค์ประกอบ ของการจัดการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1) การผสมผสานสื่อผสมและทรัพยากรเสมือนในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต (Blended Multimedia and Virtual Internet Resources) ประกอบด้วย

1.1) วีดิทัศน์หรือดีวีดี (Video/DVD)

1.2) การทัศนศึกษาเสมือน (Virtual Field Trips) 1.3) เว็บไซต์แบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Websites) 1.4) ซอฟต์แวร์ (Software Packages)

1.5) สื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ (Broadcasting)

2) การผสมผสานโดยใช้เว็บไซต์สนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียน (Classroom Websites) ในการสร้างสิ่งแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนบนเว็บแบบ ผสมผสาน ส าหรับแจ้งงานที่มอบหมาย รับ-ส่งการบ้าน การทดสอบ การประกาศผลการเรียน และ นโยบายของชั้นเรียน เป็นต้น โดยผู้สอนอาจจะต้องสร้างเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนด้วยตนเอง หรืออาจจะท าการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องก็ได้

3) การผสมผสานโดยใช้ระบบบริหารการจัดการเรียนรู้ (Course Management Systems: CMS/Learning Management Systems: LMS) ในการจัดการเรียนการ สอนบนเว็บแบบผสมผสานผู้สอนใช้ระบบบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารและ การบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่น การแจกเอกสารประกอบการสอน การก าหนดวันสุดท้าย ของการส่งงานที่มอบหมาย การรวบรวมงานที่มอบหมาย การแจ้งงานที่

มอบหมายล่วงหน้า การแจ้งประกาศต่างๆ การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถึงผู้เรียนเป็นรายบุคคล การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการสอนและนโยบายในการให้ระดับผลการเรียน รวมถึงการ จัดการข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เรียน เช่น ข้อมูลส่วนตัว เว็บบล็อก ข้อมูลพฤติกรรมการเรียน และ รายงานความก้าวหน้าในการเรียน เป็นต้น

Garis besar

Dokumen terkait