• Tidak ada hasil yang ditemukan

การพัฒนาชุมชนต้องอยู่บนพื้นฐานดั้งเดิมคือเป็นกระบวนการให้การศึกษาแก่ประชาชน เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด ให้มีศักยภาพและสามารถพึ่งตนเองได้ โดยมีแนวคิดและหลักการดังนี้

3.1 แนวคิดการพัฒนาชุมชน

การพัฒนาชุมชนมีแนวคิดพื้นฐานดั้งเดิมเป็นกระบวนการให้การศึกษา (Education Process) แก่ประชาชนเพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด ให้มีความสามารถพึ่งตนเองได้

(Self-Reliance) หรือช่วยตนเองได้ (Self-Help) ทั้งในการคิด ตัดสินใจ และด าเนินการแก้ปัญหา ตนเองตลอดจนตอบสนองความต้องการของตนเองและส่วนรวมด้วยกระบวนการกลุ่ม (Group Process) กับกระบวนการกระตุ้นจิตส านึก (Consciousness Process) ดังนั้น การพัฒนาชุมชน จึงเป็นการพัฒนามนุษย์ให้ครบถ้วนถึงความพร้อมทุกด้านเพื่อจัดการกับปัญหาและความต้องการ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การพัฒนาชุมชนนั้นแนวคิดพื้นฐานอยู่ที่การสรรหากระบวนการ แนวทาง รูปแบบ ของกิจกรรมหรือโครงการที่หนุนเสริมการพัฒนาโดยเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนา ชุมชนของตนเอง โดยวางอยู่บนแนวทางดังต่อไปนี้ (โกวิทย์ พวงงาม, 2553, น. 125-129)

1) คนมีความส าคัญที่สุด (man is a most important) กล่าวคือ การ พัฒนาชุมชนเชื่อมั่นในศักยภาพหรือพลังความสามารถของคน เพราะการด ารงอยู่หรือการล่ม สลายของชุมชน การพัฒนาหรือการเสื่อมถอยของชุมชน ขึ้นอยู่กับคนในชุมชนเป็นส าคัญ จึงต้อง ให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้วย ดังนั้นจ าเป็นต้องพัฒนาคนให้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง และชุมชน รวมทั้งสร้างมาตรฐานในการด ารงชีวิตหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความพร้อมที่จะพัฒนา ชุมชนของตนเอง

2) การมีส่วนร่วมของประชาชน (people participation) กล่าวคือ การมี

ส่วนร่วมของประชาชนถือเป็นหัวใจของการพัฒนาโดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมี

ส่วนร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ที่

เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า การพัฒนาชุมชนนั้นเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อ ประชาชนนั่นเอง

3) การช่วยเหลือตนเอง (aided self-help) โดยการช่วยเหลือตนเองเป็น แนวทางในการพัฒนาที่ยึดเป็นหลักการส าคัญประการหนึ่งคือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเอง ได้มากขึ้น โดยมีรัฐให้การช่วยเหลือสนับสนุนในส่วนที่เกิดขีดความสามารถของประชาชน ตาม โอกาสและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

4) การพึ่งตนเอง (self-reliance) การพึ่งตนเองเป็นความเชื่อในศักยภาพ และพลังความสามารถของชุมชน แนวคิดของการพัฒนาชุมชนจึงเชื่อมั่นว่าการเสริมสร้างขีด ความสามารถของประชาชนและชุมชนนั้นท าให้คนสามารถที่จะพัฒนาชุมชนได้ด้วยตนเอง สามารถสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

5) ความคิดริเริ่มของประชาชน (initiative) เป็นแนวคิดในการท างานกับ ประชาชนโดยยึดหลักการที่ว่า ความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน ซึ่งต้องใช้วิถีแห่งประชาธิปไตย และหาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา ให้ประชาชนเกิดความคิดและแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็น ประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ต าบลเป็นแนวความคิดที่เชื่อมั่นในสิทธิเสรีภาพของคน การพัฒนาชุมชนต้อง เกิดจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในชุมชน โดยประชาชนเป็นผู้ริเริ่มในการศึกษา วิเคราะห์ปัญหา จัดท าแผนและโครงการ ไม่ใช่ถูกก าหนดโดยบุคคลหรือหน่วยงานนอกชุมชน การ ด าเนินงานพัฒนาในขั้นตอนต่าง ๆ ต้องให้ประชาชนในชุมชนเป็นผู้ริเริ่มและรับผิดชอบ หน่วยงาน นอกชุมชนอื่น ๆ เป็นหน่วยที่สนับสนุนส่งเสริมเท่านั้น แนวความคิดดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้โดยวิธี

ให้การศึกษาแก่คนในชุมชนจนมีความรู้ ความสามารถในระดับที่เรียกว่า “คิดเป็นท าเป็น” จน สามารถที่จะค้นหาปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ก าหนดวิธีการแก้ไขปัญหา และด าเนินการแก้ไขปัญหา ด้วยตนเอง

6) ความต้องการของชุมชน (felt-needs) การพัฒนาชุมชนต้องให้

ประชาชนและองค์กรประชาชนคิดและตัดสินใจบนฐานความต้องการของชุมชนเอง เพื่อให้เกิด ความคิดที่ว่างานเป็นของประชาชนและจะช่วยกันดูแลรักษาต่อไป

7) การใช้ทรัพยากรในชุมชน (community natural resources utilize) การพัฒนาชุมชนย่อมต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนในชุมชน ดังนั้น ผลประโยชน์ในการพัฒนา ของชุมชนใดย่อมต้องเกิดขึ้นกับคนชุมชนนั้น จึงจ าเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของชุมชน เช่น ทรัพยากรมนุษย์ เงิน วัสดุอุปกรณ์ ทุนทางสังคม ภูมิปัญญา และทรัพยากรต่าง ๆ ไม่พึ่งพาชุมชน อื่น ๆ ในการพัฒนาชุมชนของตนเอง เพราะแต่ละชุมชนต่างก็มีความจ าเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากร เพื่อการพัฒนาชุมชนของตนเช่นเดียวกัน

8) ขีดค วาม สา ม ารถขอ งชุม ช น แล ะรัฐ บ า ล (community and government capacity) การพัฒนาชุมชนได้มุ่งเน้นการด าเนินการโดยคนและทรัพยากรในชุมชน เป็นส าคัญ เพราะรัฐบาลมีขีดความสามารถจ ากัด ทั้งด้านคน เงิน และระบบการบริหาร ส่วน ชุมชนก็มีขีดจ ากัดในเรื่องความไม่พร้อมของคน และความไม่เพียงพอของทรัพยากรที่ใช้ในการ พัฒนา ดังนั้น การด าเนินงานพัฒนาชุมชนจึงต้องค านึงถึงขีดความสามารถของรัฐบาลและชุมชน กล่าวคือ ชุมชนที่มีความพร้อมมากก็สามารถพึ่งตนเองให้มาก ชุมชนที่มีความพร้อมน้อย รัฐก็ควร ให้การสนับสนุนให้มากขึ้น ขีดความสามารถของชุมชนและรัฐควรต้องได้สัดส่วนที่สอดคล้องซึ่งกัน และกัน

9) การร่วมมือกันระหว่างรัฐกับประชาชน (co-operations between government with people) การพัฒนาชุมชนที่ประสบความส าเร็จต้องเกิดจากการร่วมมือกันทั้ง รัฐบาลและประชาชน เนื่องจากทั้งรัฐบาลและประชาชนในชุมชนต่างก็มีข้อจ ากัดไม่สามารถ ด าเนินงานชุมชนให้มีประสิทธิภาพได้เต็มที่ การร่วมมือระหว่างรัฐบาลและประชาชนต้องตั้งอยู่บน พื้นฐานของการช่วยเหลือตัวเอง การมีส่วนร่วมของประชาชน การใช้ทรัพยากรในชุมชน และการ สนับสนุนส่งเสริมของรัฐบาลอย่างเหมาะสมเป็นส าคัญ

10) การพัฒนาแบบบูรณาการ (integrated development) การพัฒนา ชุมชนต้องด าเนินการไปพร้อมกันในหลาย ๆ ด้าน จะมุ่งเพียงด้านเดียวไม่ได้ เนื่องจากกิจกรรมใน การพัฒนาชุมชนมีหลายกิจกรรม การด าเนินกิจกรรม ต้องสอดคล้องและเป็นไปในแนวทาง เดียวกันเพื่อการประหยัดงบประมาณ แรงงาน และเวลาที่ใช้ การด าเนินงานพัฒนาชุมชนจึงต้อง ประสานงานแบบร่วมมือกันทั้งกับคน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ และงบประมาณ ถึงจะประสบ ความส าเร็จ

11) ความสมดุลในการพัฒนา (development as equality) การพัฒนา ชุมชนต้องด าเนินการไปพร้อมกันทุกด้านไม่เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เพราะทุกกิจกรรมมีความ เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด จึงต้องค านึงถึงความสมดุลในการพัฒนาด้วย เช่น ความสมดุลระหว่าง ความสมดุลระหว่างสิ่งที่เป็นรูปธรรมกับนามธรรม ความสมดุลระหว่างการพัฒนาวัตถุกับการ พัฒนาจิตใจของคน การพัฒนาคนกับสิ่งแวดล้อม ความสมดุลระหว่างเพศและวัย ความสมดุล ระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับภูมิปัญญาสากล เป็นต้น

12) การพัฒนาชุมชนเป็นการศึกษาภาคชีวิต (lifelong education) คือ มี

ลักษณะเป็นการให้ค าปรึกษาแก่ประชาชนทุกเพศวัยอย่างต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต เป็นการให้

การศึกษาที่เน้นให้รู้จักตนเองรู้จักโลก และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสรรพสิ่งทั้งที่เป็นมนุษย์ ธรรมชาติ

หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ อันก่อให้เกิดปัญญาเพื่อปรับสภาพความเป็นอยู่ให้สอดคล้องสมดุล การศึกษาภาคชีวิตเป็นเครื่องมือส าคัญซึ่งจะท าให้มีความสามารถปรับตัวเองอยู่ในชุมชน และ สังคมได้อย่างเป็นสุขตามอัตภาพ

แนวคิดการพัฒนาชุมชน ตามความเห็นของกรมการพัฒนาชุมชน (กรมพัฒนา ชุมชน, 2562)(เอกสารจากเว็บไซต์) มีดังต่อไปนี้

1) การมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นหัวใจของงาน พัฒนาชุมชนโดย ยึดหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจวางแผน งานการปฏิบัติการ และร่วมบ ารุงรักษา

2) การช่วยเหลือตนเอง (Aided Self-Help) เป็นแนวคิดในการพัฒนาที่ยึด เป็นหลักการส าคัญประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองให้มากขึ้นโดยมีรัฐคอยให้

ความช่วยเหลือ สนับสนุนในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน ตามโอกาสและหลักเกณฑ์

ที่เหมาะสม

3) ความคิดริเริ่มของประชาชน (Initiative) ในการท างานของประชาชนที่ยึด แนวคิดตามหลักการที่ว่าความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน ซึ่งต้องใช้วิถีแห่งประชาธิปไตย และ หาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา ให้ประชาชนเกิดความคิด และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็น ประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ชุมชน

4) ความต้องการของชุมชน (Felt-Needs) การพัฒนาชุมชนต้องให้ประชาชน และองค์กร ประชาชนคิด และตัดสินใจบนพื้นฐานความต้องการชุมชนเอง เพื่อให้เกิดความคิดที่ว่า งานเป็นของประชาชน และจะช่วยกันดูแลรักษาต่อไป

5) การศึกษาภาคตลอดชีวิต (Life-Long Education) งานพัฒนาชุมชนถือ เป็นกระบวนการ ให้การศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชน เพื่อน าไปสู่การพัฒนาคน การให้การศึกษา ต้องให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องกันไป ตราบเท่าที่บุคคลยังด ารงชีวิตอยู่ในชุมชน

โดยสรุปแนวคิดการพัฒนาชุมชน คือกระบวนการในการหนุนเสริมให้คน และ สิ่งแวดล้อมในพื้นที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้งในด้านการด าเนินชีวิตและวิถีชีวิต โดยมีกระบวนการพัฒนา แบบมีส่วนร่วมและบูรณาการผ่านคนที่อยู่ในชุมชนจากฐานความต้องการของชุมชน โดยอาศัย ทรัพยากรและทุนที่มีอยู่ในชุมชน และการหนุนเสริมจากหน่วยงานภาครัฐในลักษณะการมีส่วน ร่วมจากภายในและภายนอก หากกระบวนการในการพัฒนามีการจัดการที่ดีย่อมส่งผลดีต่อ คุณภาพชีวิตคนในชุมชนและน าไปสู่ความเจริญด้านกายภาพในเชิงพื้นที่ด้วย

Garis besar

Dokumen terkait