• Tidak ada hasil yang ditemukan

David McClelland (1973 อ้างถึงใน สุรชัย พรหมพันธุ์, 2554, น. 186-187) แห่งมหาวิทยาลัย Harvard ได้แสดงความคิดเห็นเรื่อง Competency ในบทความชื่อ Testing for Competence Rather Than Intelligence ว่า IQ (ประกอบด้วยความถนัด หรือความเชี่ยวชาญ ทางวิชาการ ความรู้ และความมุ่งมั่นสู่ความส าเร็จ) ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีของผลงาน และความส าเร็จ โดยรวมแต่ Competency กลับเป็นสิ่งที่สามารถคาดหมายความส าเร็จในงานได้ดีกว่า ซึ่ง Competency ในความหมายของ David McClelland จึงหมายถึง ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ซึ่ง ประกอบด้วย 1) ความรู้ (Knowledge) 2) ทักษะ (Skill) 3) คุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่แสดงออก (Attributes/Behavior) เช่น อุปนิสัย (Trait) บทบาททางสังคม (Social role) การรับรู้ตนเอง (Self- Image) และแรงจูงใจ (Motive)

Scott Parry (1973 อ้างถึงใน สุรชัย พรหมพันธุ์, 2554, น. 187) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบ (Cluster) ของความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitudes) ของ ปัจเจกบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อผลสัมฤทธิ์ของการท างานของบุคคลนั้น ๆ เป็นบทบาท หรือ ความรับผิดชอบซึ่งสัมพันธ์กับผลงานและความสามารถวัดค่าเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน และสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกอบรม

ส านักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2551, น. 43) (เอกสารจาก เว็บไซต์) กล่าวว่า สมรรถนะ (Competency) หรือพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ หมายถึงสิ่งที่ผู้

ปฏิบัติ แสดงออกในระหว่างการปฏิบัติราชการอันเป็นผลจากแรงจูงใจหรือแรงผลักดันภายใน จิตใจที่จะส่งผลต่อความส าเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ตามต าแหน่งที่รับผิดชอบอยู่ให้ส าเร็จลุล่วงไป ด้วยดี

ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2551, น. 3) กล่าวว่า สมรรถนะ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความสามารถ (Ability) และคุณลักษณะ ส่วนบุคคล (Other characteristics) ที่ท าให้บุคคลปฏิบัติงานได้ส าเร็จ และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของ องค์กร

ชูชัย สมิทธิไกร (2556, น. 102) กล่าวว่า สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะที่

จ าเป็นต่อการปฏิบัติงานของบุคคล และมีความเหมาะสม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ค่านิยม และ เป้าหมายขององค์การ ซึ่งท าให้การปฏิบัติงานของบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผล ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่บุคคลมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และ คุณลักษณะอื่น ๆ ที่เหมาะสม

จากความหมายดังกล่าวสามารถสรุปว่า สมรรถนะ หมายถึง ความรู้ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวบุคคลที่สามารถวัดหรือสังเกตได้จากพฤติกรรมการท างานที่แสดง ออกมาให้เห็น และส่งผลท าให้บุคคลนั้นๆ สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของ งานที่ตั้งไว้ได้

McClelland (1993 อ้างถึงใน ชูชัย สมิทธิไกร, 2556, น. 103) ได้อธิบายคุณลักษณะ (characteristic) ของบุคคลว่าเปรียบเสมือนภูเขาน ้าแข็ง (iceberg) กล่าวคือ สิ่งที่อยู่เบื้องหลังและ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลเปรียบได้กับภูเขาน ้าแข็งซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ลอยอยู่เหนือน ้า และส่วนที่อยู่ใต้ผิวน ้า โดยส่วนที่ลอยอยู่เหนือน ้า เป็นส่วนที่มองเห็น และสามารถพัฒนาได้ง่าย ได้แก่ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skills) และส่วนที่อยู่ใต้ผิวน ้า เป็นส่วน ที่ใหญ่กว่าและมองเห็นยาก ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคคลแต่ละคนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นส่วนที่พัฒนาได้ยาก ได้แก่ แรงจูงใจ (motives) ลักษณะนิสัย (traits) ภาพลักษณ์ของ ตนเอง (self image) และบทบาททางสังคม (social role) ซึ่งสอดคล้องกับ สุรชัย พรหมพันธุ์ (2554, น.

187) ได้อธิบายองค์ประกอบของสมรรถนะไว้ 3 ประการคือ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่แสดงออก (Attributes/Behavior) โดยมีรายละเอียดดังนี้

4.1 ความรู้ (Knowledge)

ความรู้ คือ สิ่งที่สะสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์

รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจาก ประสบการณ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2542 อ้างถึงใน สุรชัย พรหมพันธุ์, 2554, น.

190) ได้ให้ความหมายของ “ความรู้” คือ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ

องค์วิชาในแต่ละสาขา

ดังนั้น ความรู้ คือ สารสนเทศที่น าไปสู่การปฏิบัติ เป็นเรื่องของเนื้อหาข้อมูล ซึ่ง ประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่มี

ความจ าเป็น David McClelland ได้อธิบายประเภทของความรู้ เป็น 2 ประเภท คือ

1) ความรู้ในตัวมนุษย์หรือความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) หมายถึง ความรู้เฉพาะตัวที่เกิดจากประสบการณ์ การศึกษา การสนทนา การฝึกอบรม เจตคติแต่ละบุคคล เป็นความรู้บวกกับสติปัญญา และประสบการณ์

2) ความรู้เชิงประจักษ์ที่ปรากฏชัด (Explicit Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่

ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลออกมาในรูปของการบันทึกตามรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารสนเทศ นั่นเอง

ภาพประกอบ 7 แสดงโมเดลการจัดการความรู้ SECI ที่มา : SECI model of knowledge dimensions [online] เข้าถึงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/SECI_model_of_knowledge_dimensions

ความรู้มีกระบวนการที่เคลื่อนไหลในตัวของมันเอง เป็นไดนามิกตลอดเวลา โดยมีคน เป็นปัจจัยหลักที่ท าให้เกิดการแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหว ดังนี้

1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็น การแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจาก ความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วน ามาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือต ารา

2) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการน าเสนอในเวทีวิชาการ หรือ บทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่

เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วน าไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกน าไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่

3) การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น น าความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์

งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วน ามารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ท าให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูก เผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร

4) การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการน าไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือท า ซึ่งความรู้

ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร โดยความรู้สามารถแบ่งเป็นได้เป็น 4 ระดับ คือ

1) รู้ว่าคืออะไร (Know-what) เป็นความรู้เชิงทฤษฎีล้วน ๆ เมื่อน าความรู้เหล่านี้

มาใช้ก็จะได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง

2) รู้วิธีการ (Know-how) เป็ น คว าม รู้ที่ มี ทั้งเชิงทฤ ษ ฎี และเชิงบ ริบ ท (สภาพแวดล้อม และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่รายล้อมเหตุการณ์หนึ่ง เรื่องหนึ่ง ประเด็นหนึ่ง) เป็นความรู้

ในลักษณะที่รู้จักปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือบริบท

3) รู้เหตุผล (Know-why) เป็นความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผลได้ว่าท าไมความรู้

นั้น ๆ จึงใช้ได้ผลในบริบทหนึ่ง แต่ใช้ไม่ได้ผลในอีกบริบทหนึ่ง

4) ใส่ใจกับเหตุผล (Care-why) เป็นความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ ซึ่งจะเป็น แรงขับดันมาจากภายในจิตใจ ให้ต้องกระท าสิ่งนั้น เผื่อเผชิญสถานการณ์

4.2 ทักษะ (Skill)

ทักษะที่จ าเป็นต่อการด ารงชีวิตของมนุษย์ซึ่งจ าแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) ทักษะทั่วไป (Generic Skills) หมายถึง ทักษะทั่วไปเป็นทักษะที่มนุษย์ต้องใช้

ทุกวันเพื่อการมีชีวิตอยู่

2) ทักษะวิชาชีพ (Profession Skills) หมายถึง ทักษะที่มนุษย์จ าเป็นต้องมีเพื่อใช้

ในการหาเลี้ยงชีพ

ทักษะทั้งสองประเภทถือได้ว่าเป็นการต่อยอดจากความรู้ แล้วน าไปสู่การปฏิบัติ

มีการพัฒนา การฝึกฝนให้เกิดขึ้น โดยมีช่วงของระยะเวลาที่ท าการหล่อหลอมจากการปฏิบัติ จน กลายเป็นทักษะในเรื่องนั้น ๆ

จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ทักษะ หมายถึง การน าความรู้ไปสู่การปฏิบัติ

ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิต และวิชาชีพ หลาย ๆ ครั้ง จนเกิดความช านาญ 4.3 คุณลักษณะของบุคคล หรือพฤติกรรมของบุคคล (Attributes)

คุณลักษณะของบุคคล หรือพฤติกรรมของบุคคล หมายถึง ความคิด ความรู้สึก เจตคติ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความต้องการส่วนบุคคล ภาพลักษณ์ของตน หรือสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเอง เป็น โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม (Social Role) แนวคิดของตนเอง (Self-Concept) ภาพลักษณ์ของบุคลคลที่มีต่อตนเอง (Self-Image) ความเชื่อ (Trait) และ แรงจูงใจ (Motive)

1) บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม (Social Role) หมายถึง การกระท าตามสิทธิ

และหน้าที่ของบุคคลตามสถานภาพที่ตนด ารงอยู่ในสังคมนั้น ๆ หรือในองค์กร

2) แนวคิดของตนเอง (Self-Concept) เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ทัศนคติ (Attitude) ค่านิยม (Value) หมายถึง ความคิด ความรู้สึก เจตคติ และค่านิยมที่บุคคลมีต่อตนเองในด้าน ต่าง ๆ อันเกิดจากการเรียนรู้ที่ได้มีความสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการรับรู้เกี่ยวกับ ตนเองในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านสติปัญญา ความคิด ทักษะต่าง ๆ และรูปร่างลักษณะทางร่างกาย เป็นแนวคิดเกี่ยวกับตนเอง ไม่ได้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่เกิดจากการเรียนรู้และเมื่อบุคคลมีแนวคิด เกี่ยวกับตนเองอย่างไรแล้ว ก็จะมีผลสะท้อนให้บุคคลแสดงพฤติกรรมไปในแนวคิดนั้นด้วย

3) ภ า พ ลัก ษ ณ์ ข อ งบุ ค ค ล ที่ มี ต่ อ ต น เอ ง (Self-Image) ห ม า ย ถึ ง บุคลิกลักษณะ ความสามารถ หรือสิ่งที่เป็นและสิ่งที่แสดงออกมา ซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้ของผู้พบ เห็นเกี่ยวกับลักษณะ บุคลิกภาพ และศักยภาพในตัวคุณ

4) ค่านิยม (Value) หมายถึง แนวความคิด ความเชื่อ เป็นอุดมการณ์ เป็น ความต้องการของกลุ่มคนในสังคม ซึ่งยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าควรแก่การน าไปเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติ เป็นกรอบของการด าเนินชีวิตเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม

5) ทัศนคติ (Attitude) เป็นความรู้สึกในการประเมินว่าชอบ หรือไม่ชอบสิ่งใด สิ่งหนึ่ง หรือสถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง ซึ่งทัศนคติจะเป็นส่วนส าคัญที่จะก าหนดหรือผลักดัน ในแต่ละบุคคลนั้นเกิดพฤติกรรม หรือการกระท าที่สอดคล้องกับทัศนคติที่แต่ละบุคคลนั้นมีอยู่

Garis besar

Dokumen terkait