• Tidak ada hasil yang ditemukan

การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สารบัญภาพ

2. การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การวัดผลและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นส่วน สำคัญสำหรับครูผู้สอนที่จะแสวงหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อให้

ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ครูผู้สอนต้องทราบถึงความสามารถ ความสนใจ และ

ข้อบกพร่องของผู้เรียน โดยอาศัยกระบวนการของการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา มีนักวิชาการและนักการศึกษาได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ดังนี้

Bloom,B. S (1965) ได้อธิบายความหมายของการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนในด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) 6 ระดับ ดังนี้

1. ความรู้ความจำ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถของสมองในการระลึกได้

ความรู้สารสนเทศ แสดงรายการได้ ระบุบอกชื่อได้ ซึ่งเป็นความจำระยะยาว

2. ความเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง ความสามารถของสมองในการแปล ความหมายยกตัวอย่าง สรุป อ้างอิง การให้เหตุและผล

3. การนำความรู้ไปใช้ (Application) หมายถึง การนำไปใช้เป็นกระบวนการที่ได้

เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดในสถานการณ์ใหม่ หรือสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน

46 4. การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง การวิเคราะห์แยกแยะเรื่องราวต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ มองเห็นถึงความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคล

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานส่วนต่าง ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอด ความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายขึ้น การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรืออาจเกิด ความคิดอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาเป็นรูปแบบใหม่และแนวความคิดใหม่

6. การประเมินค่า (Evaluation) หมายถึง ความสามารถในการตัดสิน หรือ สรุป เกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตาม เนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับ

นันท์นภัส นิยมทรัพย์ (2560) ได้อธิบายถึง การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบผลการเรียนการสอน เพื่อจะได้ทราบภายหลังจากผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แล้วผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนมีการเรียนรู้

เกิดขึ้นหรือไม่ การสอนของครูผู้สอนมีประสิทธิผลอย่างไร ซึ่งการวัดและประเมินผลหมายถึง การใช้

เครื่องมือหรือวิธีการ ได้แก่ แบบทดสอบ แบบฝึกหัด แบบวัด แบบประเมินการปฏิบัติ แบบบันทึกการ สังเกต การแปลพฤติกรรมหรือความรู้ ทักษะและการปฏิบัติ รวมถึงเจตคติออกมาเป็นตัวเลขแล้วแปล ผลตัวเลขนั้นด้วยการตัดสินเป็นระดับต่าง ๆ เช่น ผ่าน ไม่ผ่าน ดี พอใช้ ควรปรับปรุง มาก ปานกลาง น้อย ในทางการศึกษามีการวัดผลผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่แบ่งเป็นพุทธิพิสัยตามแนวทฤษฎี

ของบลูม (Bloom) มี 6 ระดับ ได้แก่ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การ ประเมินค่า และการสังเคราะห์ เพื่อดำเนินตามกระบวนการจนได้รับความสำเร็จ

สรุปได้ว่าการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นกระบวนการที่ใช้แบบทดสอบของ ครูผู้สอนเพื่อวัดความสามารถทางสมองของผู้เรียน การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประกอบไปด้วย จุดมุ่งหมายของการวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวัด เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์

มีการแปลผลและการนำผลไปใช้ เช่น คะแนนสอบ เพื่อจะได้ทราบภายหลังจากผ่านการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แล้วผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนมีการ เรียนรู้เกิดขึ้นหรือไม่ การสอนของครูผู้สอนมีประสิทธิผลอย่างไร สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้มี

การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียน มีความรู้ในเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์มากน้อยเพียงใด โดยการ วัดและประเมินผลจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็น แบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

47 3. ความหมายแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับวัดพฤติกรรมทาง สมองของผู้เรียนว่ามีความรู้ ความสามารถในเรื่องที่เรียนหรือไม่ มีนักวิชาการและนักการศึกษาได้

อธิบายถึงความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2543) ได้อธิบายความหมายของแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังจากที่เสร็จสิ้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มักจะเป็นข้อคำถามให้ผู้เรียนตอบด้วยกระดาษและดินสอ หรือให้ผู้เรียน ปฏิบัติจริง ซึ่งแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. แบบทดสอบของครูผู้สอน หมายถึง ชุดคำถามที่ครูผู้สอนได้สร้างขึ้น เป็นคำถาม ที่ถามเกี่ยวกับความรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนในชั้นเรียน มีความรู้มากน้อยเพียงใด หรือมีข้อบกพร่องที่จะต้อง ทดสอบซ่อมเสริมหรือไม่ เป็นการวัดความพร้อมที่จะเรียนใหม่ ขึ้นอยู่กับความต้องการของครูผู้สอน

2. แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละ วิชา หรือจากครูผู้สอนแต่ผ่านการทดลองหาคุณภาพหลายครั้งจนกระทั้งได้คุณภาพที่ดี จึงจะสามารถ สร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบนั้น สามารถใช้เป็นหลักในการเปรียบเทียบผล เพื่อประเมินค่าของ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องใด ๆ ได้ โดยใช้วัดอัตราความรู้ความสามารถของผู้เรียนในแต่ละวัย แต่ละกลุ่ม ข้อสอบที่ได้มาตรฐานนอกจากจะมีคุณภาพของแบบทดสอบสูงแล้ว ยังมีมาตรฐานในด้าน การดำเนินการสอบ สำหรับโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดที่จะนำไปใช้จะต้องมีการดำเนินการสอบเป็น แบบเดียวกัน แบบทดสอบมาตรฐานจะมีคู่มือดำเนินการสอบบอกถึงวิธีการสอบว่าจะต้องทำอย่างไร บ้าง และยังมีมาตรฐานในการแปลผลคะแนน

ชวลิต ชูกำแพง (2559) ได้อธิบายความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การ เรียน หมายถึง ชุดของคำถาม (Items) ที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้กับผู้เรียนให้แสดงพฤติกรรมตอบสนอง ออกมา ซึ่งอาจอยู่ในรูปของการเขียนตอบ การพูด การปฏิบัติที่สามารถสังเกตได้ วัดให้เป็นปริมาณได้

โดยมุ่งเน้นวัดความสามารถด้านสมอง หรือพุทธิพิสัยเป็นหลัก

นันท์นภัส นิยมทรัพย์ (2560) ได้อธิบายความหมายของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการศึกษาที่มีหลายประเภท ที่ครูผู้สอนจะต้อง เลือกใช้ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หรือเครื่องมือที่ใช้โดยทั่วไป มี 2 ประเภท ได้แก่

1. แบบปรนัยหรือเลือกตอบ (Selected-response items) แบ่งเป็น ถูกผิด แบบจับคู่และแบบหลายตัวเลือก

2. แบบอัตนัย (Constructed-response items) เป็นแบบที่วัดความคิดขั้นสูง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ เติมคำ เรียงความหรือตอบสั้น

48 สรุปได้ว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเ หมายถึงการวัดความสามารถทางสมอง หรือวัดสติปัญญาของผู้เรียนว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใดหลังจากที่ได้รับประสบการณ์จากการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิชาที่เรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนับว่าเป็นเครื่องมือที่มี

ความสำคัญมากที่จะทำให้ครูผู้สอนทราบสิ่งเหล่านั้นได้ สำหรับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัย จำนวน 4 ตัวเลือก สอดคล้องกับตัวชี้วัดและจุดประสงค์การ เรียนรู้