• Tidak ada hasil yang ditemukan

ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สารบัญภาพ

4. ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

48 สรุปได้ว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเ หมายถึงการวัดความสามารถทางสมอง หรือวัดสติปัญญาของผู้เรียนว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใดหลังจากที่ได้รับประสบการณ์จากการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิชาที่เรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนับว่าเป็นเครื่องมือที่มี

ความสำคัญมากที่จะทำให้ครูผู้สอนทราบสิ่งเหล่านั้นได้ สำหรับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัย จำนวน 4 ตัวเลือก สอดคล้องกับตัวชี้วัดและจุดประสงค์การ เรียนรู้

49 ปรับปรุงและแก้ไข เพราะเป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้นใช้เฉพาะครั้ง อาจยังไม่มีการวิเคราะห์หา คุณภาพ แต่มีการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบแล้วเบื้องต้น

1.2 แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Test) เป็นแบบทดสอบที่มีการ พัฒนาด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติมาแล้วหลายครั้ง จนมีคุณภาพสมบูรณ์ทั้งด้านความตรง ความเที่ยง ความยากง่าย อำนาจจำแนก ความเป็นปรนัยและมีเกณฑ์ปกติ (Norm) ไว้เปรียบเทียบ

2. แบบทดสอบวัดความถนัด (Aptitude Test) เป็นแบบทดสอบเพื่อวัดความถนัด ที่ใช้วัดสมรรถภาพทางสมองของคนว่า มีความรู้ ความสามารถมากน้อยเพียงใด แบบทดสอบประเภท นี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

2.1 แบบทดสอบความถนัดทางการเรียน (Scholastic Aptitude) เป็น แบบทดสอบความถนัดที่วัดความสามารถทางวิชาการว่ามีความถนัดในวิชาอะไร ซึ่งจะแสดงถึง ความสามารถในการเรียนต่อแขนงวิชานั้น และจะสามารถเรียนไปได้มากน้อยเพียงใด

2.2 แบบทดสอบความถนัดพิเศษ (Specific Aptitude Test) เป็นแบบทดสอบ ที่ใช้วัดความสามารถพิเศษของแต่ละบุคคล เช่น ความถนัดทางดนตรี ทางการแพทย์ ทางศิลปะ เป็นต้น

3. แบบทดสอบบุคคล – สังคม (Personal – Social Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัด บุคลิกภาพและการปรับตัวกับสังคมของบุคคล

4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

4.1. แบบทดสอบอัตนัย (Subjective Test) เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนที่มีลักษณะ ผู้เรียนต้องเขียนบรรยายตอบและมีสิทธิ์ที่จะเขียนตอบอย่างเสรี อาจจะมี

คำตอบถูกหลาย ๆ ทาง ซึ่งแบบทดสอบอัตนัย (Subjective Test) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

4.1.1 ประเภทแบบไม่จำกัดตอบ (Extended Response) เป็นแบบทดสอบ ทดสอบที่ผู้เรียนสามารถตอบได้อย่างอิสระและตอบได้หลากหลาย

4.1.2 ประเภทแบบจำกัดตอบ (Restricted Response) เป็นแบบทดสอบที่

มีการกำหนดขอบเขตในการตอบหรือแบบเจาะจงคำตอบ

5. แบบทดสอบปรนัย (Objective Test) เป็นแบบทดสอบที่จะกำหนดคำถามให้

ผู้เรียนและกำหนดให้ตอบสั้น ๆ หรือกำหนดคำตอบมาให้เลือก ซึ่งผู้เรียนจะต้องเลือกตอบตามนั้น ซึ่ง แบบทดสอบปรนัย (Objective Test) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

5.1 ประเภทข้อสอบแบบถูก-ผิด (True – False Item) เป็นแบบทดสอบที่

กำหนดข้อความมาให้และให้ตอบว่า ถูก หรือ ผิด ใช่ หรือ ไม่ใช่ จริง หรือ ไม่จริง อย่างใดอย่างหนึ่ง

50 5.2 ประเภทข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) เป็นแบบทดสอบทั่วไป ชนิดเลือกตอบจะมีข้อคำถาม ซึ่งเขียนเป็นประโยคสมบูรณ์และมีตัวเลือกหลายรายการที่กำหนดไว้ให้

เลือกตอบ โดยตัวเลือกที่กำหนดให้ประกอบด้วยตัวเลือกที่เป็นคำตอบถูก

คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม (2564) ได้อธิบายประเภทของแบบทดสอบที่แบ่งโดยใช้เกณฑ์ ดังนี้

1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) หมายถึง แบบทดสอบที่

วัดสมรรถภาพสมองด้านต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้มาว่ามีอยู่เท่าใด แบบทดสอบประเภทนี้แบ่ง ออกเป็น 3 ชนิด คือ

1.1 แบบทดสอบที่ครูผู้สอนสร้างขึ้นเอง (Teacher–Made Test) หมายถึง

แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเฉพาะกลุ่ม เป็นแบบทดสอบที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

1.2 แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Test) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่ง วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั่ว ๆ ไป แบบทดสอบชนิดนี้ต้องผ่านการวิเคราะห์แล้วว่ามี

คุณภาพดีได้มาตรฐาน คือ มีมาตรฐานในการสร้าง มีมาตรฐานในการดำเนินการสอบ และมาตรฐาน ในวิธีการแปลความหมายคะแนน

1.3 แบบทดสอบวัดความถนัด (Aptitude Test) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่ง วัดสมรรถภาพสมองของผู้เรียน สามารถเรียนไปได้ไกลหรือประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยอาศัยข้อเท็จจริงจากแบบทดสอบวัดความถนัด แบ่งได้ 2 ชนิด คือ

1.3.1 แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน (Scholastic Aptitude) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดทางด้านวิชาการต่าง ๆ เช่น ด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์

1.3.2 แบบทดสอบวัดความถนัดเฉพาะอย่าง (Specific Aptitude) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดเฉพาะอย่างที่เกี่ยวกับงานอาชีพต่าง ๆ หรือความสามารถ พิเศษ เช่น ความสามารถด้านดนตรี ความสามารถด้านกีฬา ศิลปะ การประดิษฐ์

2. แบบทดสอบบุคคล–สังคม (Personal – Social) หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้

วัดบุคคลิภาพ (Personality) และการปรับตัว (Adjustment) ให้เข้ากับสังคม ซึ่งแบบทดสอบ ประเภทนี้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

2.1 แบบทดสอบวัดเจตคติ (Attitude) ที่มีต่อบุคคล สิ่งของ เรื่องราวเหตุการณ์

สังคม

2.2 แบบทดสอบวัดความสนใจ (Interest) ที่มีต่ออาชีพ งานอดิเรก กีฬา ดนตรี

2.3 แบบทดสอบวัดการปรับตัว (Adjustment) เช่น การปรับตัวเข้ากับเพื่อน การทำงานร่วมกัน

51 3. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

3.1 ประเภทแบบอัตนัยหรือแบบความเรียง (Subjective Test or Essay Type) หมายถึง แบบทดสอบที่มีคำถามให้ผู้เรียนเขียนตอบยาว ๆ ภายในเวลาที่ครูผู้สอนกำหนด ข้อสอบ ประเภทนี้ แต่ละข้อจะวัดได้หลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการใช้ภาษา ด้านความคิด ด้านเจตคติ

3.2 ประเภทแบบปรนัยหรือแบบให้ตอบสั้น ๆ (Objective Test or Short Answer) หมายถึง แบบทดสอบที่ครูผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนตอบสั้น ๆ หรือมีคำตอบให้เลือก ดังนี้

3.2.1 แบบถูก-ผิด (True-False)

3.2.2 แบบเติมคำหรือเติมความ (Completion) 3.2.3 แบบจับคู่ (Matching)

3.2.4 แบบเลือกตอบ (Multiple Choices)

4. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

4.1 ประเภทแบบทดสอบเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Test) หมายถึง แบบทดสอบ ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทดสอบเพื่อหาข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนในการเรียน และนำผลไปปรับปรุงแก้ไข มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน

4.2 ประเภทแบบทดสอบเพื่อทำนายหรือพยากรณ์ (Prognostic Test) หมายถึง แบบทดสอบที่นำผลจากการสอบมาช่วยในการทำนายว่า ใครจะสามารถเรียนอะไรได้บ้าง และ สามารถจะเรียนได้มากน้อยเพียงใด แบบทดสอบประเภทนี้จะต้องมีความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์สูง (Predictive Validity) มีประโยชน์มากในด้านการสอบคัดเลือก การวัดความถนัดทางการเรียน และ การแนะแนว

5. แบ่งตามเวลาที่กำหนดให้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

5.1 ประเภทแบบใช้ความเร็ว (Speed Test) หมายถึง แบบทดสอบที่มีข้อสอบ มาก ๆ ข้อสอบมักจะง่ายและจำกัดเวลาในการตอบ บางทีเรียกข้อสอบประเภทนี้ว่า ข้อสอบวัดทักษะ 5.2 ประเภทแบบให้เวลา (Power Test) หมายถึง แบบทดสอบวัดความสามารถ ในเรื่องที่กำหนดว่ามีอยู่มากและดีเพียงใด โดยให้เวลาตอบมากหรือจนกระทั้งทุกคนทำเสร็จ หรือไม่

จำกัดเวลาในการตอบ ต้องการให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มความสามารถ 6. แบ่งตามลักษณะการตอบ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

6.1 ประเภทแบบให้ลงมือกระทำ (Performance Test) หมายถึง แบบทดสอบ ภาคปฏิบัติ เช่น การปรุงอาหาร การแสดง การประดิษฐ์ ศิลปะ

6.2 ประเภทแบบให้เขียนตอบ (Paper-pencil Test) หมายถึง แบบทดสอบที่

ต้องตอบ โดยวิธีการเขียน เช่น การสอบแบบอัตนัย ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความถนัด

52 6.3 ประเภทแบบสอบปากเปล่า (Oral Test) หมายถึง การสอบโดยใช้การถาม- ตอบปากเปล่า มีการโต้ตอบกันทางคำพูด เช่น การสัมภาษณ์

6.4 ประเภทแบบสอบออนไลน์ (Online/Internet) หมายถึง การสอบที่ผู้เรียน ทำการตอบ โดยใช้คอมพิวเตอร์ด้วยระบบออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต (Internet)

สรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่งได้ 2 ประเภท คือ แบบทดสอบ มาตรฐาน ซึ่งสร้างจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านวัดผลการศึกษา มีการหาคุณภาพเป็นอย่างดี

ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือแบบทดสอบที่ครูผู้สอนสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการทดสอบในชั้นเรียน ในการ ออกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

5. แนวความคิดและทฤษฎีที่เป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน

การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ ระดับความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนที่เกิดจากความรู้ที่มีอยู่แต่เดิม ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ และ ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ซึ่งแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้นี้

เรียกกว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement Test) มีนักวิชาการและนักการ ศึกษาได้กล่าวถึงทฤษฎีที่เป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้

บุญชม ศรีสะอาด (2545) ได้กล่าวถึงงานวิจัยทางการศึกษา และพฤติกรรมศาสตร์

จำนวนมากที่ใช้แบบทดสอบแบบเลือกตอบ เนื่องจากแบบทดสอบแบบเลือกตอบมีข้อดี มีความ เหมาะสมหลายประการ เช่น สามารถตรวจให้คะแนนได้ง่ายและรวดเร็ว แต่การสร้างแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องมีการวางแผนอย่างดี เพื่อให้ได้

แบบทดสอบที่เป็นมาตรฐาน สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างเที่ยงตรง คะแนนวัดมีความเชื่อมั่นสูง โดยการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แต่ละประเภทมีขั้นตอนดังนี้

1. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบอิงกลุ่ม

1.1 วิเคราะห์จุดประสงค์ เนื้อหาวิชา และทำตารางกำหนดลักษณะข้อสอบ 1.2 กำหนดรูปแบบของข้อคำถามและศึกษาวิธีเขียนข้อสอบ

1.3 เขียนข้อสอบ 1.4 ตรวจทานข้อสอบ

1.5 พิมพ์แบบทดสอบฉบับทดลอง

1.6 ทดลองใช้ วิเคราะห์คุณภาพ และปรับปรุง 1.7 พิมพ์แบบทดสอบฉบับจริง

2. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบอิงเกณฑ์

2.1 วิเคราะห์จุดประสงค์ เนื้อหาวิชา