• Tidak ada hasil yang ditemukan

สารบัญภาพ

1. ความหมายของการคิดวิเคราะห์

3.1 ความสามารถในการวิเคราะห์

3.2 ความสามารถในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลและความหมายของ องค์ประกอบต่าง ๆ

3.3 ความสามารถในการวิเคราะห์จุดประสงค์ของข้อมูล ความเห็นของผู้เขียน หรือลักษณะของการคิด ทัศนคติของผู้เขียนในด้านต่าง ๆ

3.4 ความสามารถในการรู้แง่คิด และทัศนคติของผู้เขียน

Piaget, J. (1972) ได้กล่าวถึงการพัฒนาสติปัญญาและการคิดของมนุษย์มีลักษณะ เดียวกันในช่วงอายุเท่ากันและแตกต่างกันในช่วงอายุที่ต่างกัน เป็นผลที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์

ระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการสัมผัส การคิดอย่างเป็นรูปธรรมจนได้พัฒนาสู่ความคิดที่

เป็นนามธรรมโดยที่ผู้เรียนได้พยายามปรับตัว เพื่อให้เกิดภาวะสมดุลด้วยกระบวนการซึมซับจากภาพ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้าไว้ในความคิดของตนเอง และกระบวนการปรับความคิดเดิมให้สอดคล้องกับ สิ่งใหม่ นอกจากนี้เพียร์เจต (Piaget) ยังได้มีการจัดกระบวนการทางสติปัญญาและความคิดออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 การใช้ประสาทสัมผัส เป็นระยะที่เริ่มมีการพัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึงอายุ 2 ปี โดยใช้ประสาทสัมผัสกับสิ่งของต่าง ๆ เริ่มจากการพัฒนาการรับรู้สู่การใช้อวัยวะ ต่าง ๆ ของร่างกาย

ขั้นที่ 2 การควบคุมอวัยวะต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่อายุ 2 ปี จนถึงอายุ 7 ปี เป็นการพัฒนา ทางด้านสมองที่ใช้ควบคุม การพัฒนาลักษณะนิสัยและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

64 ขั้นที่ 3 การคิดอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการพัฒนาการทางด้านสมองเริ่มตั้งแต่อายุ

7 ปี ถึงอายุ 11 ปี ช่วงนี้จะเป็นวัยที่เริ่มรู้จักคิด สามารถเรียนรู้และจำแนกสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมได้

แต่ยังไม่สามารถจินตนาการกับเรื่องราวที่เป็นนามธรรมได้

ขั้นที่ 4 การคิดอย่างเป็นนามธรรม เป็นการพัฒนาการคิดช่วงสุดท้ายของเด็กในช่วง อายุ 12 ปี ถึงอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล และคิดในสิ่งที่ซับซ้อนเป็น นามธรรมได้มากขึ้น สามารถแก้ปัญหาได้อย่างพอดีพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะ

สำหรับการพัฒนาการคิดของมนุษย์ตามทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) จะเป็นไปอย่าง ต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงอายุ 11 ปี ถึงอายุ12 ปี ผู้เรียนจะสามารถคิดอย่างเป็น รูปธรรมสู่ความเป็นนามธรรม สามารถคิดซับซ้อนยิ่งขึ้นถ้าหากมีการทำกิจกรรมการเรียนรู้ และสร้าง ประสบการณ์ใหม่ต่อจากประสบการณ์เดิมของผู้เรียนในบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของ ผู้เรียน เพื่อให้เห็นภาพรวมและสรุปเรื่องราวจากเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลจากข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่าผู้เรียนในช่วงอายุ 11 ปี ถึงอายุ 12 ปี ที่อยู่ในช่วงขั้นที่ 2 สามารถ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ได้

Marzano, R.J (2001) ได้กล่าวถึงหลักแนวคิดและทฤษฎีของการคิดวิเคราะห์ โดยได้

พัฒนาข้อจำกัดของบลูม (Bloom) ที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ในรูปแบบทักษะการ คิดที่ผนวกกับปัจจัยต่าง ๆ มากขึ้น เป็นการส่งเสริมการคิดของผู้เรียน ซึ่งทั้งหมดมีความสำคัญสำหรับ การคิดและการเรียนรู้ นอกจากนี้มาร์ซโน (Marzano) ยังได้อธิบายว่ารูปแบบในการเรียนรู้ของผู้เรียน จะประกอบไปด้วย 3 ระบบ ดังนี้

1. ระบบตนเอง (Self-system) เป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับความสำคัญของความรู้

และความรู้สึก

2. ระบบบูรณาการณ์หรือระบบอภิปัญญา (Metacognitive system) เป็นลักษณะ ของการมีเป้าหมายในการที่จะเรียนรู้ มีการนำความรู้ไปใช้ด้วยความชัดเจนและถูกต้อง

3. ระบบความรู้ (Cognitive system) เป็นการเรียกใช้ความรู้โดยการทบทวน ทวนซ้ำ และการนำไปปฏิบัติใช้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ตามแนวคิดของมาร์ซาโน (Marzano) การคิดวิเคราะห์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมาก ต้องใช้เหตุผล คิดอย่างลึกซึ้งและหลากหลาย มีการคิดโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและต้องมี

เหตุผล เพื่อที่จะสามารถระบุความแตกต่างอย่างมีหลักการ สามารถจัดลำดับ จัดหมวดหมู่ หรือจัด ประเภทของความรู้ของสิ่งต่าง ๆ และสามารถตีความหรือบอกหลักเกณฑ์พื้นฐานของความรู้ โดยการ ระบุ เจาะจง หรือสรุปอย่างมีเหตุผล จนสามารถเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้และนำหลักการไป ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยใช้พื้นฐานของความรู้เดิม ซึ่งการคิดวิเคราะห์ประกอบไปด้วย 5 ด้าน ดังนี้

65 ด้านที่ 1 การจัดจำแนกเปรียบเทียบ (Matching) คือ ความสามารถในการสังเกต และจำแนกแยกแยะรายละเอียดของข้อมูล หรือเหตุการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกันออกเป็นส่วน ๆ อย่างมีหลักเกณฑ์และเข้าใจง่าย มีการเปรียบเทียบ ระบุ ยกตัวอย่าง ลักษณะความเหมือนความ แตกต่าง สามารถจัดกลุ่มของสิ่งต่าง ๆหรือข้อมูลของเหตุการณ์ได้ โดยเริ่มจากระดับง่ายแบบรูปธรรม ไปสู่ซับซ้อนที่เป็นนามธรรม ดังนี้

1.1 การบอกสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะวิเคราะห์

1.2 ผู้เรียนระบุลักษณะหรือคุณสมบัติเพื่อจำแนกหรือแยกแยะสิ่งที่ต้องการ จะวิเคราะห์

1.3 ผู้เรียนระบุได้ว่าสิ่งนั้น เหมือนหรือแตกต่างกันเช่นไร

1.4 ผู้เรียนสรุปได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ว่าข้อมูลหรือสิ่งต่าง ๆ มีความ เหมือนและแตกต่างกันเช่นไร

ด้านที่ 2 การจัดกลุ่ม (Classification) คือ ความสามารถในการใช้ความรู้เพื่อการ จัดกลุ่ม จัดลำดับข้อมูล หรือจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ อย่างมีหลักการหรือหลักเกณฑ์

ด้านที่ 3 การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด (error analysis) คือ ความสามารถในการระบุ

ข้อผิดพลาดหรือความสัมพันธ์และไม่สัมพันธ์กับของสิ่งต่าง ๆหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยการ เชื่อมโยงความสัมพันธ์สู่การสรุปอย่างมีเหตมีผล การระบุสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมใน สถานการณ์ต่าง ๆมีการใช้ความรู้เดิมผสมผสานเพื่อเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ ไปสู่การสรุปและ ยกตัวอย่างประกอบได้อย่างมีเหตุผลจากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว หรือมีข้อมูลใหม่มาสนับสนุนความรู้

เดิมแล้วมีการพิจารณาได้ว่าข้อมูลที่ได้มาเป็นจริง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

3.1 ความรู้เดิมเป็นความรู้ที่ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับ 3.2 ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ

3.3 ความรู้ที่มีอยู่จริง หรือจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือ และเป็นหลักฐานข้อมูลที่

สามารถนำมาสนับสนุนความคิดได้

3.4 ข้อมูลที่เกิดจากการพิสูจน์หรือทดลองแล้วเป็นจริง

3.5 ข้อมูลอื่นจากที่อื่น ๆ ที่พิจารณาแล้วว่าเป็นจริง นำมาสนับสนุนความคิด ให้

ได้รับการยอมรับ

ด้านที่ 4 การสรุปหลักการ (Generalizing) คือ ความสามารถในการนำความรู้เดิมที่

มีอยู่แล้วไปเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ โดยการประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ใหม่หรือใช้ในการแก้ปัญหาใน ชีวิตประจำวัน โดยสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ด้านที่ 5 การนำไปใช้ (Specifying) คือ ความสามารถที่นำความรู้หลักการไปใช้เพื่อ การทำนายเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้อย่างเจาะจง มีความรู้ ความเข้าใจในเหตุการณ์

66 สามารถระบุรายละเอียดของเหตุการณ์นั้น ๆบอกสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งถือว่าเป็นการนำไป ประยุกต์กับความรู้ใหม่จากหลักการความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาได้

อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

Clark, C.R., & Mayer, E.R (2003) ได้กล่าวถึงหลักแนวคิดและทฤษฎีของการ คิดวิเคราะห์ หมายถึง การแยกส่วนต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร การคิดวิเคราะห์สามารถแบ่ง ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. การคิดวิเคราะห์เนื้อหา ได้แก่ ความสามารถในการสรุป และการแยกแยะข้อมูล 2. การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ได้แก่ ความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลว่ามี

ความสอดคล้องกันหรือไม่

3. การคิดวิเคราะห์หลักการ ได้แก่ การวิเคราะห์ได้ว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารถึงสิ่งใด สุคนธ์ สินธพานนท์วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์,พรรณี สินธพานนท์ (2555) ได้กล่าวว่า แนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญของการคิดวิเคราะห์มี 3 ส่วน ได้แก่ 1) การคิดวิเคราะห์เนื้อหา เป็นการ แยกแยะข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย 2) การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นการระบุความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูล 3) การคิดวิเคราะห์หลักการ เป็นการระบุโครงสร้าง หลักการ จุดมุ่งหมาย แนวคิดสำคัญของ เรื่อง เพื่อให้เข้าใจเชื่อมโยง

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ (2556) ได้กล่าวถึงแนวคิดของการคิดวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วย 4 อย่าง ดังนี้

1. ความสามารถในการตีความ การวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ เริ่มต้นจากความเข้าใจและใช้

เหตุผลในการตีความที่แอบแฝงหรือซ่อนเร้นอยู่ กล่าวคือ ตัวข้อมูลไม่ได้บอกโดยตรงแต่จะต้องทำ ความเข้าใจให้มากเกินกว่าสิ่งที่ปรากฏในข้อมูล ซึ่งการตีความให้ดีจะต้องขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่คนแต่ละ คนใช้มาตราฐานในการตีความหมายประกอบกับความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เหตุผลให้

เป็นมาตรฐานในการตัดสินใจ การตีความของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประสบการณ์

ภูมิหลัง และค่านิยมของแต่ละบุคคล

2. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์ เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็น ปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์ การที่จะคิดวิเคราะห์ได้ดีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ พื้นฐานในเรื่องนั้น เนื่องจากความรู้จะช่วยในการกำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์ แจกแจงและ จำแนกได้ว่าเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร มีองค์ประกอบย่อย ๆ อะไรบ้าง มีการจัดเรียบลำดับ ความสำคัญอย่างไรบ้าง มีเรื่องใดบ้างที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน

3. ช่างมอง ช่างสังเกต ช่างสงสัย นักคิดวิเคราะห์จะต้องเป็นคนช่างมอง ช่างสังเกต และช่างสงสัย สามารถค้นพบความผิดปกติที่แอบซ่อนอยู่ในเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้ามองดู

อย่างผิวเผินแล้วจะเหมือนไม่มีอะไรผิดปกติจะต้องเป็นที่ช่างสงสัย เมื่อเห็นความผิดปกติแล้วไม่ละเลย