• Tidak ada hasil yang ditemukan

สารบัญภาพ

3. หลักการคิดวิเคราะห์

หลักการคิดวิเคราะห์โดยพื้นฐานส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการจำแนกแจกแจงข้อมูล ออกเป็นส่วน ๆมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและ การเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มีนักวิชาการและนักการศึกษาได้

กล่าวถึงหลักการคิดวิเคราะห์ ดังนี้

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ (2556) ได้กล่าวว่า หลักการคิดวิเคราะห์นั้น จะต้องไม่เชื่อและ ยอมรับข้อมูลที่มีมาก่อน ไม่ด่วนสรุปก่อนที่จะได้มีการคิดวิเคราะห์เสียก่อน ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงสิ่ง สำคัญ ดังนี้

1. การคิดเชิงวิเคราะห์นั้นจะต้องพยายามมองสิ่งต่าง ๆ ตามเนื้อหาที่มีตามความ เป็นจริง หรือตามข้อมูลที่ปรากฏ อย่าพยายามทำนาย คาดการณ์ในเหตุการณ์ว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น โดยที่ไม่ได้มองถึงความเป็นไปได้ที่อาจจะมีแม้เพียงเล็กน้อย

2. คนเรามีแนวโน้มชอบที่จะยึดติดกับการแก้ไขปัญหาแบบเดิม ๆ จนกลายเป็น ความเคยชิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการหลงประเด็น อาจจะทำให้ถูกหลอกให้ไขว้เขวไปเพราะ ความคล้ายคลึงกัน

3. คนเรามักจะถูกครอบงำทำให้เชื่อยอมรับจากสิ่งที่กำหนดให้ และคิดว่าสิ่งนั้นเป็น ความจริงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

4. การเป็นคนช่างสังเกตรอบคอบในการพิจารณาความเป็นจริง หาความสัมพันธ์เชิง เหตุผลจะช่วยให้คิดแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ดี

(ศศิมา สุขสว่าง, 2562) ได้กล่าวถึงหลักการคิดวิเคราะห์ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระบุ

ปัญหาหรือข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ให้ชัดเจน (Define the problem) 2) รวบรวมและประมวลผล ข้อมูล (Gather and interpret information) 3) พัฒ นาแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้

(Develop possible solution) 4) นำแนวทางการแก้ปัญหาไปทดสอบ (Test possible solutions) 5) เลือกแนวทางที่ดีที่สุดไปดำเนินการใช้ (Select and implement a solution)

สรุปได้ว่า หลักการคิดวิเคราะห์ คือ การระบุความสำคัญของเรื่อง โดยการวิเคราะห์ข้อมูล ให้ชัดเจน รวมถึงแจกแจง จําแนก และบอกความสัมพันธ์บอกเหตุผลของข้อมูล ในสถานการณ์นั้นได้

การคิดวิเคราะห์เป็นการคิด ซึ่งผู้วิจัยได้นำหลักการคิดวิเคราะห์ของบลูม (Bloom, 1971) มาใช้

ประกอบด้วย ได้แก่ หลักการคิดวิเคราะห์ความสำคัญ การคิดวิเคราะห์หลักการ และการคิดวิเคราะห์

ความสัมพันธ์ ทั้งสามหลักการนี้จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุและผล

69 4. ประเภทของการคิดวิเคราะห์

การคิดวิเคราะห์ของมนุษย์ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ เหตุการณ์ที่

เกิดขึ้นประจำวันตลอดจนสภาพแวดล้อม มีนักวิชาการและนักการศึกษาหลายได้จัดประเภทของการ คิดวิเคราะห์ ดังนี้

Gagne (1997) ได้กล่าวถึงประเภทของการคิดวิเคราะห์ ที่ได้จากแนวคิดของกาเย่

(Gagne) ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การคิดอย่างเลื่อนลอยหรือแบบไม่มีทิศทาง เป็นการคิดที่เกิดจากประสบการณ์

ตรง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการคิดแบบต่อเนื่อง แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ดังนี้

1.1 การคิดถึงเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้ว เป็นการกระตุ้นจากสิ่งเร้า คำพูด หรือ เรื่องราวจากเหตุการณ์

1.2 การคิดโดยการอาศัยคำสั่ง เช่น ผู้คิดอาจจะได้รับคำสั่งให้บอกคำหรือข้อมูล ที่อยู่ในพวกเดียวกับคำหรือข้อมูลที่ได้ยินมา

1.3 การคิดที่มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันตนเองหรือเพื่อให้เกิดความพึงพอใจใน ตนเอง โดยเกิดจากการคิดฝันขณะที่ยังตื่นอยู่

1.4 การคิดฝันเนื่องจากความคิดของตนหรือการคิดฝันที่เกิดจากการรับรู้หรือ จากการตอบสนองสิ่งเร้า

1.5 การคิดหาเหตุผลเพื่อเข้าข้างตนเอง ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือจากจิตใจ อารมณ์ของผู้คิด ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะที่แท้จริงของการคิด

2. การคิดอย่างมีทิศทางหรือมีจุดหมาย เป็นการคิดที่ใช้ความรู้พื้นฐานเพื่อกลั่นกรอง ความคิดที่เพ้อฝัน หรือการคิดที่เลื่อนลอยไร้ความหมาย เพื่อให้เป็นการคิดที่มีทิศทางไปสู่จุดมุ่งหมาย และมีบทสรุปจากการคิดที่เสร็จแล้ว ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

2.1 การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นการคิดในลักษณะที่คิดได้

หลายทิศทาง (Divergent thinking) ไม่คิดซ้ำกันหรือเป็นการคิดลักษณะที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันได้

กล่าวคือ เมื่อระลึกถึงสิ่งใดก็จะเป็นสะพานเชื่อมต่อให้ระลึกถึงสิ่งอื่น ๆ ต่อไปได้

2.2 การคิดวิเคราะห์วิจารณ์ (Critical thinking) เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล (Reasoning thinking) การคิดที่ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา โดยการพิจารณาถึงเรื่องราวจาก สถานการณ์ที่จะได้จากข้อมูลต่าง ๆ ว่ามีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด

Bloom, B.S (1976) ได้กล่าวถึง ประเภทของการคิดวิเคราะห์ตามลำดับ 6 ขั้น ดังนี้

1. ความรู้ ความจำ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถในการระลึกความหมาย เชิงรูปธรรมและสัญลักษณ์

70 2. ความเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง ความสามารถทางปัญญาในการอ่าน จับใจความสำคัญของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ แปลหรือสรุป ขยายให้ผู้อื่นได้เข้าใจ

3. การนำไปใช้ (Application) หมายถึง ความสามารถในการนำเอาทฤษฎีต่าง ๆ ไป ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้

4. การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึงความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวหรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากข้อมูลต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อยว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) หมายถึง ความสามารถในการรวบรวมองค์ประกอบ ต่าง ๆ หรือผสมผสานองค์ประกอบเหล่านั้นให้เป็นสิ่งใหม่

6. การประเมินค่า (Evaluation) หมายถึง การวินิจฉัยตัดสินคุณค่าสิ่งของหรือ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากข้อมูลโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือเกณฑ์มาตรฐาน

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ (2556) ได้กล่าวถึง แนวความคิดของบลูม (Bloom) ในการ จัดประเภทการคิดวิเคราะห์ 3 ด้าน ดังนี้

1. การคิดวิเคราะห์ความสำคัญหรือเนื้อหาของสิ่งต่าง ๆ (Analysis of Element)

เป็นความสามารถในการแยกแยะได้ว่า สิ่งใดจำเป็น สิ่งใดสำคัญ สิ่งใดมีบทบาทมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย

1.1 วิเคราะห์ชนิด หมายถึง การวินิจฉัยว่าสิ่งนั้น เหตุการณ์นั้น ๆ จัดเป็นชนิดใด ลักษณะใด เพราะเหตุใด ตัวอย่างเช่น ต้นผักชีเป็นพืชชนิดใด ปะการังน้ำเป็นพืชหรือเป็นสัตว์

1.2 วิเคราะห์สิ่งสำคัญ หมายถึง การวินิจฉัยว่าสิ่งใดสำคัญ สิ่งใดไม่สำคัญ เป็นการค้นหาสาระสำคัญ ข้อความหลัก ข้อสรุป จุดเด่น จุดด้อย ของสิ่งต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น สาระสำคัญของเรื่องนี้คืออะไร ควรจะตั้งชื่อเรื่องนี้ว่าอะไร การปฏิบัติเช่นนั้นเพื่ออะไร สิ่งใดสำคัญ ที่สุด

1.3. วิเคราะห์เลศนัย หมายถึง การมุ่งค้นหาสิ่งที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ หรือ เบื้องหลังจากสิ่งที่เห็น ซึ่งมิได้บอกตรง ๆ แต่มีร่องรอยของความจริงที่ซ่อนเร้น ตัวอย่างเช่น สมทรง เป็นป้าของฉัน (จึงหมายความว่า สมทรงเป็นผู้หญิง) หรือข้อความนี้หมายถึงใครหรือสถานการณ์ใด เช่น เรื่องนี้ให้ข้อคิดอะไร ผู้เขียนมีความเชื่ออย่างไร มีจุดประสงค์อะไร

2. การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Analysis of Relationship) เป็นการค้นหา ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ว่ามีอะไรสัมพันธ์กัน สัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างไร สัมพันธ์กันมากน้อยเพียงไร สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน ซึ่งประกอบด้วย

2.1 วิเคราะห์ชนิดของความสัมพันธ์ หมายถึง การมุ่งให้คิดว่าเป็นความสัมพันธ์

แบบใด เช่น มีสิ่งใดสอดคล้องกัน หรือไม่สอดคล้องกัน มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และมีสิ่งใดไม่

เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น ลิง นก เป็ด เสือ สัตว์ชนิดใดที่ไม่เข้าพวก

71 2.2 วิเคราะห์ขนาดของความสัมพันธ์ หมายถึง การสิ่งใดที่เกี่ยวข้องมากที่สุด สิ่งใดที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด สิ่งใดสัมพันธ์กับสถานการณ์หรือเรื่องราวมากที่สุด และการเรียงลำดับมาก ไปหาลำดับน้อยของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น เรียงลำดับความรุนแรง จำนวน ขนาด ระยะทาง เป็นต้น

2.3 วิเคราะห์ขั้นตอนความสัมพันธ์ หมายถึง การเรียงลำดับขั้นตอนของ เหตุการณ์ ตามลำดับก่อนหรือหลัง วงจรของสิ่งของต่าง ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาตามลำดับขั้นตอน ตัวอย่างเช่น วิเคราะห์วงจรของฝน ผีเสื้อ เมื่อเกิดสิ่งเหล่านี้แล้วผลลัพธ์อะไรตามมาบ้าง สุดท้ายจะ เป็นอย่างไร

2.4 วิเคราะห์จุดประสงค์และวิธีการ หมายถึง การวิเคราะห์เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย การกระทำ เมื่อทำอย่างนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ตัวอย่างเช่น ออกกำลังกายทุกวันไปทำไม (ทำให้ร่างกายแข็งแรง) หรือ การทำบุญตักบาตรมีจุดประสงค์เพื่ออะไร (เพื่อช่วยให้จิตใจบริสุทธิ์) เป็นต้น

2.5 วิเคราะห์สาเหตุและผล หมายถึง การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของเรื่อง การหาเหตุและผลที่จะตามมา สิ่งที่เป็นเหตุผลแก่กันหรือขัดแย้งกัน ตัวอย่างเช่น หากนักเรียนไม่อ่าน หนังสือสอบผลจะเป็นอย่างไร (นักเรียนจะทำคะแนนได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือนักเรียนจะทำข้อสอบไม่ได้

ซึ่งเป็นผลที่ตามมา)

2.6 วิเคราะห์แบบความสัมพันธ์ในรูปอุปมาอุปไมย หมายถึง การวิเคราะห์

ความสัมพันธ์ รูปแบบของข้อสอบจะเป็นลักษณะการหาสิ่งที่คู่กันมาคู่หนึ่ง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับ คู่อื่น ๆ ที่มีลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบเดียวกัน ตัวอย่างเช่น

- ซ้อนคู่ส้อม ตะปูจะคู่กับอะไร

3. การคิดวิเคราะห์ เชิงหลักการ (Analysis of Organizational Principles) หมายถึง การค้นหาโครงสร้างระบบ เรื่องราว สิ่งของและการทำงานต่าง ๆ ว่าสิ่งเหล่านั้นดำรงอยู่ได้

ในสภาพเช่นนั้น เนื่องจากอะไร มีอะไรเป็นแกนหลัก มีหลักการอย่างไร มีเทคนิคอะไร หรือยึดถือคติ

ใด มีสิ่งใดเป็นตัวเชื่อมโยง การคิดวิเคราะห์หลักการเป็นการวิเคราะห์ที่ถือว่ามีความสำคัญที่สุด การที่

จะวิเคราะห์เชิงหลักการได้ดีจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์องค์ประกอบและวิเคราะห์

ความสัมพันธ์ได้ดีเสียก่อน เพราะผลจากความสามารถในการวิเคราะห์องค์ประกอบและวิเคราะห์

ความสัมพันธ์จะทำให้สามารถสรุปเป็นหลักการได้ ซึ่งประกอบด้วย

3.1 วิเคราะห์โครงสร้าง หมายถึง การค้นหาโครงสร้างของสิ่งต่าง ๆ เช่น การทำ วิจัยมีกระบวนการทำงานอย่างไร สิ่งนี้บ่งบอกความคิดหรือเจตนาอะไร โครงสร้างของสังคมไทยเป็น อย่างไร เป็นต้น

3.2 วิเคราะห์หลักการ หมายถึง การแยกแยะเพื่อค้นหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ