• Tidak ada hasil yang ditemukan

สารบัญภาพ

5. เครื่องมือแบบวัดเจตคติ

เครื่องมือที่ใช้วัดเจตคติสามารถกระทำการวัดได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกและ ความเหมาะสม ตลอดจนจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการวัด ส่งผลให้การวัดนี้มีประสิทธิภาพเป็นที่

น่าเชื่อถือได้ เจตคติเป็นทัศนคติในเชิงบวกและเชิงลบ การที่จะมองว่าผู้เรียนมีเจตคติต่อการเรียนวิชา ประวัติศาสตร์มากน้อยแค่ไหน ผู้วิจัยจำเป็นต้องมีการสร้างเครื่องมือวัดเจตคติเพื่อดูว่าผู้เรียนมี

ความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ มีนักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่านได้กล่างถึง เครื่องมือวัดเจตคติ ดังนี้

ธีรวุฒิ เอกะกุล (2549) ได้กล่าวถึงเครื่องมือวัดเจตคติไว้ 5 ชนิด ดังนี้

1. การสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือที่ง่ายและตรงไปตรงมามากที่สุด ผู้สัมภาษณ์จะต้อง มีการเตรียมข้อรายการที่จะใช้ในการซักถามไว้อย่างดี เพื่อที่สามารถวัดเจตคติให้ตรงตามเป้าหมาย นอกจากนี้ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีการสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง ไม่ให้เคร่งเคียด

2. การสังเกต เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบแต่ละบุคคล ด้วยการเฝ้ามองและ จดบันทึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลอย่างมีแบบแผน โดยควรจะมีการสังเกตหลาย ๆ ครั้ง สำหรับ ตัวผู้สังเกตจะต้องทำตัวเป็นกลางไม่มีความลำเอียง

3. การรายงานตนเอง เป็นเครื่องมือที่ให้ผู้ถูกวัดได้แสดงความรู้สึกของตนเองตามสิ่ง เร้าที่ได้สัมผัส โดยให้แสดงความรู้สึกของตนเองอย่างตรงไปตรงมา

4. เทคนิคจิตนาการ เป็นวิธีที่ใช้สถานการณ์หลาย ๆ อย่างไปเร้าให้ผู้ถูกวัด เช่น เรื่องราวแปลก ๆ ที่จะช่วยให้ทราบเจตคติจากคำตอบของแต่ละบุคคล

5. การวัดทางสรีระภาพ เป็นวิธีการวัดโดยอาศัยเครื่องมือไฟฟ้า เพื่อที่จะวัดพลัง ไฟฟ้าในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น หากดีใจเข็มจะชี้อย่างหนึ่ง แต่ถ้าเสียใจเข็มก็จะชี้อีกอย่างหนึ่ง แต่เป็นเครื่องมือที่ยังไม่นิยมใช้กันมาก

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2539) ได้กล่าวถึงเครื่องมือวัดเจตคติไว้ 5 ชนิด ดังนี้

1. การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการพูดคุยกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ผู้สัมภาษณ์ที่ดีจะต้องฟัง มากกว่าพูดและไม่หูเบา ยึดตามแนววัตถุประสงค์ที่จะวัดและบันทึกไว้ได้อย่างถูกต้อง การวัดเจตคติ

โดยการสัมภาษณ์ต้องสร้างข้อคำถามในการสัมภาษณ์ให้เป็นมาตรฐานก่อน

2. การสังเกต เป็นวิธีการเฝ้ามองดูสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างมีจุดมุ่งหมาย เครื่องมือที่สำคัญ ของการสังเกตคือตาและหู การเฝ้าดูโดยการบันทึกในสมองจะทำให้ลืมเลือนง่าย ข้อรายการที่ใช้ใน

85 การสังเกตจึงควรเตรียมไว้ให้พร้อม การสังเกตที่ดีต้องมีการฝึกจึงจะทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

ผู้สังเกตควรเป็นผู้ที่มีการรับรู้และมีประสาทตาดี มิฉะนั้นแล้วจะทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน

3. การรายงานตนเอง เป็นเครื่องมือที่ต้องการให้ผู้ถูกสอบถามได้แสดงความรู้สึกของ ตนเองตามสิ่งเร้าที่เขาได้สัมผัส นั่นก็คือสิ่งเร้าที่เป็นข้อความ ข้อคำถาม หรือเป็นภาพเพื่อให้ผู้สอบได้

แสดงความรู้สึกออกมาอย่างตรงไปตรงมา

4. เทคนิคการจินตนาการ เป็นรูปแบบที่ต้องอาศัยสถานการณ์หลายอย่างไปเร้า ผู้สอบ สถานการณ์ที่มีการกำหนดให้จะไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ทำให้ผู้สอบต้องจินตนาการออกมา จากประสบการณ์เดิมของตนเอง ซึ่งแต่ละคนอาจจะแสดงออกมาไม่เหมือนกัน

5. การวัดทางสรีระภาพ เป็นการวัดที่จะต้องอาศัยเครื่องมือไฟฟ้า เครื่องมือประเภท อื่น ๆ ในการสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงจากสภาพของร่างกาย

บุญเรียง ขจรศีลป์ (2543) ได้กล่าวถึงเครื่องมือวัดเจตคติ ดังนี้

1. แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมในการรวบรวม ข้อมูลในการวิจัยเชิงสำรวจในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มประชากรที่จะรวบรวมข้อมูลน้นอยู่ใน ลักษณะที่กระจัดกระจายจากกันมาก ๆ ประกอบกับผู้วิจัยมีงบประมาณและเวลาในการวิจัยค่อนข้าง จำกัด ซึ่งแบบสอบถามสามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้

1.1 แบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open ended questionnaire) เป็ น แบบสอบถามที่ได้มีการกำหนดคำถามแต่ไม่มีคำตอบให้ผู้ตอบเลือกตอบ เปิดโอกาสให้ผู้ตอบตอบเอง ตามตามความต้องการ

1.2 แบบสอบถามแบบปลายปิด (Closed ended questionnaire) เป็น แบบสอบถามที่กำหนดคำตอบให้ผู้ตอบได้เลือกตอบ

2. แบบสังเกต (Observation form) เป็นแบบสังเกตที่ใช้สำหรับการรวบรวมข้อมูล โดยใช้เทคนิคของการสังเกต แบบสังเกตที่นิยมใช้ในการวบรวมข้อมูลในการวิจัยทางการศึกษา ได้แก่

2.1 แบบตรวจสอบรายการ (Check List) เป้นเครื่องมือที่ประกอบด้วยข้อความ ต่าง ๆ ซึ่งข้อความแต่ละข้อจะมีการระบุเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา การ บันทึกการสังเกตในแบบตรวจสอบรายการนั้น ส่วนใหญ่จะบันทึกว่ามีหรือไม่มี

2.2 แบบประเมินค่า (Rating Scale) เป็นแบบประเมินค่าของสิ่งที่ต้องการ สังเกต โดยการแปลงค่าในด้านคุณภาพให้อยู่ในรูปของตัวเลขหรือด้านปริมาณ โดยการจัดลำดับความ มาก-น้อย ตัวอย่างเช่น การบันทึกพฤติกรรมของครูผู้สอน

- การอธิบายขอบเขตของวิชา ชัดเจน 5,4,3,2,1 ไม่ชัดเจน - การอธิบายเนื้อหาวิชา ชัดเจน 5,4,3,2,1 ไม่ชัดเจน - ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ตรงเวลา 5,4,3,2,1 ไม่ชัดเจน

86 สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกตข้อมูล นอกจากการสังเกตข้อมูลยังมีเครื่องมือ บันทึกภาพและเสียง รวมถึงเครื่องมืออื่น ๆเช่น เครื่องมือวัดระยะ เครื่องชั่งน้ำหนัก นาฬิกาจับเวลา เป็นต้น

3. แบบสัมภาษณ์ (Interview form) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่ผู้

รวบรวมข้อมูลมีโอกาสพบปะสนทนากับผู้ให้ข้อมูล แบบสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

3.1 แบบสัมภาษณ์ที่มีแต่หัวข้อที่ต้องการสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์ชนิดนี้จะใช้ใน กรณีที่ผู้วิจัยรวบรวบข้อมูลต้องการรวบรวมข้อมูลในแนวลึก ต้องการรายละเอียดมาก แบบสัมภาษณ์

ชนิดนี้จะมีแต่หัวข้อใหญ่ ๆ ซึ่งแบบสัมภาษณ์จะต้องเป็นการสัมภาษณ์ในเรื่องอะไรบ้าง การตั้งคำถาม ในการสัมภาษณ์ การกำหนดรายละเอียดของข้อคำถาม ดังนั้นการตั้งคำถามของผู้สัมภาษณ์แต่ละคน อาจจะแตกต่างไปตามสถานการณ์หรือตามข้อมูลที่ได้รับ

3.2 แบบสัมภาษณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ชนิดนี้จะมี

รายละเอียดของข้อคำถามต่าง ๆ ที่ผู้สัมภาษณ์ต้องถามจากผู้ถูกสัมภาษณ์ ซึ่งผู้สัมภาษณ์ทุกคนจะ ถามคำถามเหมือนกัน ๆ ตามแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดไว้

รังสรรค์ โฉมยา (2553) ได้กล่าวถึงเครื่องมือวัดเจตคติ ดังนี้

1. การสังเกต เป็นการพิจารณาสรรพสิ่งใด ๆ ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ประการ ของผู้สังเกต เป็นการพิจารณาถึงพฤติกรรมของแต่บุคคลที่เราต้องการศึกษา เพื่อหาข้อสรุปหรือ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมนั้น ๆ

2. การสัมภาษณ์ เป็นเทคนิคการเก็บข้อมูลที่มีการพบปะพูดคุยกันอย่างมีเป้าหมาย ด้วยการถามตอบกันโดยตรง และถามซ้ำได้หากไม่เข้าใจหรือยังไม่มั่นใจคำตอบ

3. การใช้แบบวัดจิตวิทยา เป็นเทคนิคการตรวจสอบคุณลักษณะของแต่ละบุคคล หรือจากพฤติกรรมของแต่ละบุคคลอย่างเป็นระบบ โดยประกอบด้วยชุดของสิ่งเร้าหรือข้อคำถาม ชุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของสิ่งที่ต้องการวัดทั้งหมดที่ทฤษฎีหรือนิยามตัวแปรได้กำหนดไว้

4. การวัดทางอ้อม เป็นการใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลชนิดหนึ่งสำหรับศึกษาพฤติกรรม ภายในของแต่ละบุคคล บางครั้งอาจไม่สามารถตอบสนองต่อข้อคำถามหรือการวัดตามปกติได้

5. การวัดด้วยหลักสมดุล หรือการวัดที่ไม่วุ่นวาย หมายถึง การเก็บข้อมูลจากแหล่ง ต่าง ๆ ที่พอจะมีอยู่เพื่อต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์

6. การวัดทางสรีระ เป็นวิธีการวัดเจตคติของแต่ละบุคคล โดยอาศัยการสังเกตหรือ การใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการตรวจสอบปฏิกิริยาต่าง ๆ ของร่างกาย

บุญชม ศรีสะอาด (2553) ได้กล่าวถึงเครื่องมือแบบสอบถาม อาจมีหลายลักษณะเป็น แบบปลายเปิดหรือแบบปลายปิด ซึ่งแบบสอบถามฉบับหนึ่งอาจเป็นแบบปลายเปิดทั้งหมด หรือเป็น

87 แบบปลายปิดทั้งหมด หรืออาจเป็นแบบผสมก็ได้ ซึ่งเครื่องมือแบบสอบถามแบบปลายเปิดและแบบ ปลายปิด มีดังนี้

1. ข้ อ ค ำ ถ า ม แ บ บ ป ล า ย เปิ ด (Open – Ended Form or Unstructured Questionnaire) เป็นคำถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ให้เลือกตอบ แต่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ แบบสอบถามตอบ โดยใช้คำพูดของตนเอง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เด็กของท่านได้นำความรู้ความชำนาญจากทางโรงเรียนมาใช้ทำอะไรที่บ่าน ...

...

คำถามปลายเปิดชนิดนี้ จะเสียเวลาในการตอบมาก และสรุปผลการวิจัยได้ยาก ถ้าใช้ควบคู่กับแบบอื่น ๆ ผู้ตอบส่วนใหญ่มักไม่ตอบแบบปลายเปิด หรือตอบเพียงเล็กน้อย ในการ สร้างแบบสอบถามครั้งแรก ผู้วิจัยอาจสร้างแบบปลายเปิด แล้วนำไปทดลองใช้ เพื่อที่จะได้คำตอบใน ลักษณะต่าง ๆ

2. ข้อคำถามแบบปลายปิด (Closed Form or Structured Questionaire) เป็น แบบสอบถามที่มีคำตอบให้ผู้ตอบเขียนเครื่องหมาย √ ลงหน้าข้อความ หรือตรงช่องที่ตรงกับความ เป็นจริง หรือความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ ได้แก่

2.1 แบบให้เลือกคำตอบที่ตรงกับความเป็นจริง หรือความคิดเห็นของตนเอง เพียงคำตอบเดียว จาก 2 คำตอบ ดังตัวอย่าง

การคุมกำเนิดขัดต่อพุทธศาสนาหรือไม่ ( ) ขัด ( ) ไม่ขัด ท่านเห็นว่าเด็กชายควรเรียนงานบ้านหรือไม่ ( ) ควร ( ) ไม่ควร ปกติท่านสอนให้บุตรหลานของท่านทำงานบ้านหรือไม่ ( ) สอน ( ) ไม่สอน 2.2 แบบให้เลือกคำตอบที่ตรงกับความเป็นจริง หรือความคิดเห็นของตน เพียง คำตอบเดียว จากหลายคำตอบ ซึ่งมากกว่า 2 คำตอบ ดังตัวอย่าง

ท่านชอบรายการโทรทัศน์ประเภทใดมากที่สุด

( ) ดนตรี ( ) เกมโชว์ ( ) ข่าว ( ) ละครโทรทัศน์ ( ) ภาพยนตร์เรื่องยาว 2.3 แบบให้เลือกคำตอบที่ตรงกับความเป็นจริง หรือความคิดเห็นของตนได้หลาย คำตอบ ดังตัวอย่างเช่น

- ท่านเคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดจากที่ใดบ้าง (ตอบได้หลายคำตอบตาม ความเป็นจริง)

( ) บิดา - มารดา ( ) วิทยุ

( ) โทรทัศน์