• Tidak ada hasil yang ditemukan

สารบัญภาพ

1. งานวิจัยในประเทศ

1.1 งานวิจัยที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติ

อภิญญา ยะนะโชติ (2559) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวน การ คิดวิเคราะห์ เจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาโดยการใช้สื่อประสมและเกมประกอบการสอน ชั้นประถมศึกษา

99 ปีที่ 5 โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 66 คน ได้มาจากการสุ่ม แบบกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสมเป็นสื่อ มีคะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความรู้สึกเชิงจำนวน การคิดวิเคราะห์และเจตคติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้เกมประกอบการสอน เป็นสื่อ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความรู้สึกเชิงจำนวน การคิดวิเคราะห์และเจตคติ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้

สื่อประสมเป็นสื่อและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้เกมประกอบการสอนเป็นสื่อ แตกต่างกัน กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ตฤณวัฒน์ พลเยี่ยม (2560) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดแก้ปัญหาและเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการ จัดการเรียนรู้แบบซิปปาและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจาก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 100 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.70/81.35 และ 90.57/82.90 ตามลำดับ ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบซิป ปาและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เท่ากับ 0.68 และ 0.69 ตามลำดับ นอกจากนี้นักเรียน ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและนักเรียนที่โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปามีความสามารถใน การแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่เรียนที่

เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูวกว่านักเรียนที่

เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (p < .05) แต่นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาสังคมไม่แตกต่างกัน

นุกูล ส่งสมบูรณ์ (2562) ได้ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย รูปแบบ CIPPA ร่วมกับระบบการจัดการเรียนรู้ Edmodo โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 28 คน ได้มาจากการการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วย รูปแบบ CIPPA ร่วมกับระบบการจัดการเรียนรู้ Edmodo หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทาการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA ร่วมกับระบบการจัดการเรียนรู้ Edmodo หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

100 1.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา

ปัทมา เล็กยินดี (2559) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการ แปลความ และทักษะการตีความ เรื่อง สิ่งแวดล้อมในภูมิภาค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยรูปแบบซิปปา โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ได้มา โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งแวดล้อมใน ภูมิภาค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยรูปแบบซิปปาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการแปลความ เรื่อง สิ่งแวดล้อมในภูมิภาค ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยรูปแบบซิปปาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการตีความ เรื่อง สิ่งแวดล้อมในภูมิภาค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วย รูปแบบซิปปาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้รูปแบบซิปปาโดยภาพร่วมอยู่ในระดับมาก

ส่วนความคิดเห็นของนักเรียน

รัตน์ติกาล เพนเทศ (2559) ได้ศึกษาผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาที่มีต่อการเรียนรู้และเจตคติของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนจำนวน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อมัลติมีเดียร่วมกับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาวิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี ซึ่งมีค่าเท่ากับ 82.90/80.22 2) ผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียน ด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมือง เพชรบุรี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่ามีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) เจตคติของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการเรียวิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด

มินตรา กันคำ (2559) ได้ศึกษาการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปาร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 39 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแบบ ซิปปา นักเรียนเกิดความเข้าใจและจดจำในสิ่งที่เรียนได้เป็นอย่างดี 2) ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 14.59 คิดเป็นร้อยละ 72.95 3) ความสามารถในการ คิดวิเคราะห์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้

ตามรูปแบบการสอนซิปปาร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ .01

101 วันเพ็ญ กลิ่นอ่อน (2559) ได้ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้

คำถาม โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 27 คน ได้มาจากการสุม แบบกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบซิป ปาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามในระดับมาก โดยเฉพาะในด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และประโยชน์ที่ได้รับ

นงลักษณ์ งามวาจา (2560) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปู่เจ้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ ซิปปา (CIPPA Model) โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน วัดปู่เจ้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้เทคนิคการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) มีคะแนนผ่านเกณฑ์ที่

ระดับดีขึ้นไปร้อยละ 86.67 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ใช้เทคนิคการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) สูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 63.13

กานตพงศ์ จันทร์ทอง (2562) ได้ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สาระประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ร่วมกับการโค้ช โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 38 คน ได้มาจาก การสุ่มแบบกลุ่ม (Cuter Random Sampling) ผลการวิจัยพบว่าผู้เรียนมีคะแนนความสามารถใน การคิดวิเคราะห์สูงกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป ส่วนมากจะมีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียน ร้อยละ 97.36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผู้เรียนมีความสามารถในการ คิดวิเคราะห์สูงขึ้นจากการใช้รูปแบบซิปปาและมีครูผู้สอนเป็นโค้ช

ปุณณดา จิระจงวัฒนา (2562) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดย ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 82.61/84.78 ชุดกิจกรรมทั้งหมดมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ตามที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

อาบีดะฮ์ คงสิเหร่ (2562) ได้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปา ร่วมกับเกมที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา