• Tidak ada hasil yang ditemukan

สารบัญภาพ

1. คำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม

2. สถานภาพทั่วไป ในส่วนนี้เป็นรายละเอียดส่วนตัวของผู้ตอบ 3. ข้อคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะวัด ถามเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการวัด ดังนั้นรูปแบบของแบบสอบถาม จึงแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. แบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open-ended) เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะให้

ผู้ตอบสามารถแสดงออกความคิดเห็นได้อย่างอิสระด้วยคำพูดของตนเองคล้ายกับข้อสอบแบบอัตนัย 2. แบบสอบถามแบบปลายปิด (Closed-ended Form) เป็นแบบสอบถามที่มี

ลักษณะมีตัวเลือก (คำตอบ) ซึ่งตัวเลือกนี้สร้างขึ้นโดยคาดว่าผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเลือกคำตอบ ได้ตามความต้องการ และมีอย่างเพียงพอเหมาะสม แบบสอบถามลักษณะนี้สร้างยาก ใช้เวลาในการ สร้างมากกว่าแบบสอบถามแบบปลายเปิด แบบสอบถามแบบปลายปิด แบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้

2.1 แบบเติมคำสั้น ๆ ในช่องว่าง (Short Answer) เป็นแบบสอบถามที่ต้องการ ให้ผู้ตอบเติมข้อความลงในช่องว่างที่เว้นไว้ให้ จะต้องมีการกำหนดขอบเขตคำถามให้ชัดเจนจำเพราะ เจาะลงไป หากมีการสร้างคำถามที่ไม่ชัดเจนอาจทำให้ผู้ตอบตีความหมายของคำถามไปคนละเรื่อง และตอบไม่ไปในทิศทางเดียวกัน

2.2 แบบจัดอันดับความสำคัญ (Rank Order) เป็นแบบสอบถามที่ต้องการให้

ผู้ตอบตอบข้อที่เห็นว่ามีความสำคัญ โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยตามความรู้สึกของ ผู้ตอบ

2.3 แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นแบบตรวจรายการ (Checklist) มีการสร้างรายการของข้อความ (List of Statement) ที่เกี่ยวหรือสัมพันธ์กับคุณลักษณะของ พฤติกรรม (Behavior Traits) หรือการปฏิบัติ (Performance) ซึ่งแต่ละรายการจะถูกประเมินหรือ ชี้ว่ามีหรือไม่มี (All or None) โดยการตรวจสอบรายการนิยมจะนำไปใช้ในการประเมินความสนใจ ของผู้เรียน เจตคติ ทักษะ และคุณลักษณะ

2.4 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรา ส่วนประมาณค่าเป็นเครื่องมือในการประเมินผลที่ครูผู้สอนใช้ในการประเมินผู้เรียน และผู้เรียนใช้ใน การประเมินหรือพิจารณาตนเองหรือสิ่งอื่น ๆ ใช้ทั้งการประเมินการปฏิบัติกิจกรรม ทักษะต่าง ๆ และ พฤติกรรมด้านจิตพิสัย เช่น เจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความสนใจ ซึ่งมาตราส่วนประมาณค่าจะมี

ความแตกต่างจากแบบตรวจสอบรายการตรงที่แบบตรวจสอบรายการต้องการทราบว่ามีหรือไม่มีใน เรื่องนั้น แต่มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ต้องการทราบรายละเอียดยิ่งกว่านั้น ซึ่งลักษณะ ของแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

91 2.4.1 ผู้ตอบหรือผู้ประเมินจะต้องพิจารณาตอบตามความคิดเห็น เหตุผล และสภาพความเป็นจริง

2.4.2 ส่วนที่พิจารณาประเมิน หรือมาตราส่วน (Scale) เป็นค่าต่อเนื่อง (Continuous)

2.4.3 ระดับที่ให้พิจารณาประเมินอาจเป็นชนิดที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ หรือในข้อเดียวกันหรือมีเฉพาะด้านบวก หรือมีเฉพาะด้านลบโดยที่อีกด้านหนึ่งเป็นศูนย์หรือระดับ น้อยมาก

2.4.4 อาจให้มีลักษณ ะเชิงนิมาน (Positive) หรือลักษณ ะเชิงนิเสธ (Negative)

2.4.5 สามารถแปลงผลการพิจารณา หรือประเมิน ซึ่งอยู่ในรูปของข้อความ ให้เป็นคะแนนได้

คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม (2564) ได้กล่าวถึงเครื่องมือวัดเจตคติ หมายถึง แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่

สร้างขึ้นเพื่อวัดความคิดเห็นต่าง ๆ หรือวัดความจริงที่ไม่ทราบ อันจะทำให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งใน อดีต ปัจจุบัน และการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของคำถามเป็นชุด ๆ เพื่อวัด สิ่งที่ต้องการวัด โดยมีคำถามเป็นตัวกระตุ้นเร่งเร้า ให้บุคคลตอบออกมานับว่าเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้

วัดทางด้านจิตพิสัย (Affective domain) ซึ่งโครงสร้างแบบสอบถามมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้

1. คำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม

2. สถานภาพทั่วไปในส่วนนี้เป็นรายละเอียดส่วนตัวของผู้ตอบ

3. ข้อคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะวัด จะถามเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะวัด นอกจากนี้ลักษณะรูปแบของแบบสอบถาม ยังแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. แบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open–ended form) แบบสอบถามแบบนี้ไม่ได้

กำหนดคำตอบไว้ ผู้ตอบสามารถเขียนตอบหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระด้วยคำพูดของตนเอง คล้ายกับข้อสอบแบบอัตนัย

2. แบบสอบถามแบบปลายปิด (Closed–ended form) แบบสอบถามแบบนี้

ประกอบด้วยข้อคำถามและตัวเลือกมีคำตอบ ซึ่งตัวเลือกนี้สร้างขึ้นโดยคาดว่าผู้ตอบแบบสอบถาม สามารถเลือกตอบได้ตามความต้องการ และมีอย่างเพียงพอเหมาะสม แบบสอบถามแบบนี้สร้างยาก ใช้เวลาในการสร้างมากกว่าแบบสอบถามแบบปลายเปิด แต่ผู้ตอบตอบง่าย สะดวก รวดเร็ว นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์ สรุปผลได้ง่ายอีกด้วย ซึ่งแบบสอบถามแบบปลายปิดแบ่ง ออกเป็น 4 แบบ ดังนี้

92 2.1 แบบเติมคำสั้น ๆ ในช่องว่าง (Short answer) เป็นแบบสอบถามที่ให้ ผู้ตอบ เติมข้อความลงในช่องว่างที่เว้นไว้ให้ ควรกำหนดขอบเขตคำถามให้ชัดเจนจำเพาะเจาะจงลงไป เช่น รายได้ของท่าน เท่ากับ... บาท/เดือน

2.2 แบบจัดอันดับความสำคัญ (Ranking) เป็นแบบสอบถามที่ต้องการให้

ผู้ตอบตอบข้อที่เห็นว่าสำคัญ โดยเรียงลำดับตามความสำคัญจากมากไปหาน้อย ตัวอย่างเช่น - นักเรียนชอบเรียนวิชาอะไรมากที่สุด 3 อันดับแรก โดยให้ใส่หมายเลขหน้าวิชาที่ชอบ

...วิชาภาษาไทย ...วิชาวิทยาศาสตร์

...วิชาภาษาอังกฤษ ...วิชาการงานพื้นฐานอาชีพ ……...วิชาคณิตศาสตร์ ...วิชาสังคมศึกษา

2.3 แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นเครื่องมือที่รวบรวมรายการของ ข้อความ (List of statement) ที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะของพฤติกรรม (Behavior traits) หรือการ ปฏิบัติ (Performance) แต่ละรายการจะถูกประเมินหรือชี้ว่ามีหรือไม่มี (all or none) การ ตรวจสอบรายการนิยมนำไปใช้ในการประเมินความสนใจของผู้เรียน เจตคติ กิจกรรม ทักษะ และ คุณลักษณะส่วนตัว นอกจากนี้แบบตรวจสอบรายการสามารถใช้ประเมินผลรวม (Products) เช่น ประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน ประเมินบุคลิกภาพ ประเมินการปรับตัว ตัวอย่างเช่น

เพศ  ชาย  หญิง

นิสิตชั้นปี  ที่ 1  ที่ 2  ที่ 3

3. แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) เป็นแบบทดสอบชนิดมาตราส่วน ประมาณค่าเป็นเครื่องมือในการประเมินผลที่ครูผู้สอนใช้ในการประเมินผู้เรียน และผู้เรียนใช้ในการ ประเมินหรือพิจารณาตนเองหรือสิ่งอื่น ๆ ใช้ได้ทั้งการประเมินการปฏิบัติ กิจกรรม ทักษะต่าง ๆ และ พฤติกรรมด้านจิตพิสัย เช่น เจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความสนใจ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แตกต่างจากแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) คือ แบบตรวจสอบรายการต้อง การทราบ ว่ามีหรือไม่มีในเรื่องนั้น แต่มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ต้องการทราบละเอียดยิ่งกว่านั้น โดยต้องการทราบว่ามีเพียงใด โดยอาจมีมาตราส่วนประมาณค่าตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป

ตัวอย่างมาตราส่วนประมาณค่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (นักเรียนประเมินตนเอง) 3.1 ข้าพเจ้าอยากแข่งขันตอบปัญหาเพื่อเอาชนะให้ได้

 มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  ไม่มี

3.2 เวลาทำงานแต่ละชิ้น ข้าพเจ้ามุ่งทำให้ได้ดีไม่มีที่ติ

 มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  ไม่มี

หรืออาจจะสร้างในรูปแบบของตารางก็ได้ เมื่อระดับความคิดเห็นเป็นแบบเดียวกันทุกข้อ

93 4. ลักษณะของมาตราส่วนประมาณค่ามีลักษณะสำคัญ ดังนี้

4.1 ผู้ตอบหรือผู้ประเมินจะต้องพิจารณาตอบตามความคิดเห็น เหตุผลสภาพ ความเป็นจริงเพียงคำตอบเดียวจากระดับความเข้มข้นที่กำหนดให้พิจารณาตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป

4.2 ส่วนที่พิจารณาประเมิน หรือมาตราส่วน (Scale) เป็นค่าต่อเนื่อง (Continuous)

4.3 ระดับที่ให้พิจารณาประเมินอาจเป็นชนิดที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบในข้อ เดียวกันหรือมีเฉพาะด้านบวก หรือมีเฉพาะด้านลบโดยที่อีกด้านหนึ่งเป็นศูนย์หรือระดับน้อยมาก

4.4 อาจสร้างให้ข้อความมีลักษณะเชิงนิมาน (Positive) หรือลักษณะเชิงนิเสธ (Negative)

4.5 สามารถแปลงผลกาพิจารณา หรือประเมิน ซึ่งอยู่ในรูปของข้อความให้เป็น คะแนน

5. การสร้างมาตราส่วนประมาณค่า มีขั้นตอนดังนี้

5.1 กำหนดลักษณะของสิ่งที่จะวัดหรือตรวจสอบ

5.2 กำหนดและอธิบายสิ่งที่จะวัด (เช่น พฤติกรรม เจตคติ ที่ชัดเจนที่บ่งชี้

คุณลักษณะ ของสิ่งที่จะวัด)

5.3 เขียนข้อความที่จะวัดแต่ละข้อ

5.4 ตรวจสอบข้อความและรูปแบบเพื่อหาความเที่ยงตรง 5.6 นำไปทดลองใช้ วิเคราะห์หาคุณภาพและปรับปรุง 5.7 จัดพิมพ์เพื่อนำไปเก็บรวมรวมข้อมูลต่อไป

สรุปได้ว่าเครื่องวัดเจตคติ คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการประเมินการปฏิบัติ กิจกรรม ทักษะ

ด้านต่าง ๆ และพฤติกรรมด้านจิตพิสัย เช่น เจตคติ แรงจูงใจใฝ่ และความสนใจของผู้เรียน ซึ่งเครื่องวัดเจตคติที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในการประเมินผู้เรียนจะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating

Scale) โดยใช้รูปแบบการสร้างเครื่องมือแบบสอบถามตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert) ของบุญชม ศรีสะอาด (2553) เพื่อนำมาใช้ในการประเมินทดสอบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่วัดความรู้สึกของผู้เรียนทั้งเชิงบวกและเชิงลบ แล้วให้ผู้เรียน เลือกตอบจากตัวเลือก 5 ตัวเลือก โดยกำหนดเป็นคะแนน ดังนี้