• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

เวลา 3 ปีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4. มีทักษะในการเรียนรู้

3.2.1 กลุ่มความรู้ (Knowledge)

สําหรับความรู้มีนักวิชาการและพจนานุกรมหลายฉบับได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน. 2542: 231) ได้ให้ความหมายของความรู้ว่าการรู้หรือเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

พจนานุกรมเวบสเตอร์ (Webster. 1977: 531) ให้คําจํากัดความของความรู้ว่า เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ และโครงสร้างที่เกิดจากการศึกษาหรือการค้นคว้า หรือ เป็นความรู้เกี่ยวกับสถานที่ สิ่งของ หรือบุคคลที่ได้จากการสังเกต ประสบการณ์ หรือจากรายงาน การรับรู้ข้อเท็จจริงเหล่านี้ต้องชัดเจน และต้องอาศัยเวลา

ขจรศักดิ์ ศิริมัย (2554: 3) อธิบายว่าความรู้หมายถึงสิ่งที่บุคคลรู้และเข้าใจใน หลักการแนวคิดเฉพาะด้าน เช่นมีความรู้ด้านบัญชี มีความรู้ด้านการตลาด ด้านการเมือง เป็นต้น

แมคคลีแลนด์ (McClelland. 1973: 17) กล่าวว่าความรู้ คือความรู้เฉพาะใน เรื่องที่ต้องรู้ เป็นความรู้ที่เป็นสาระสําคัญ เช่นความรู้ด้านเครื่องยนต์ เป็นต้น

บลูม (Bloom. 1981: 271) ให้ความหมายว่า ความรู้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการระลึกถึงสิ่ง เฉพาะเรื่อง เรื่องทั่วไป หรือระลึกถึงวิธีการ กระบวนการ หรือสถานการณ์ต่างๆ โดยเน้นความจํา

โนนากา (Nonaka. 1991: 21) เสนอแนะว่า ความรู้คือการรับรู้เบื้องต้นที่บุคคล ได้รับผ่านประสบการณ์ โดยเรียนรู้จากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แล้วจัดระบบโครงสร้างความรู้ที่

ผสมผสานระหว่างความจํากับสภาพจิตวิทยา ดังนั้นความรู้จึงเป็นความจําที่ผ่านการคัดเลือกที่

สอดคล้องกับสภาพจิตใจของบุคคลนั้น

โบมและสแปโร (Boam; & Sparrow. 1992: 30) กล่าวว่าความรู้หมายถึงการ แสดงออกของสมรรถภาพของสมองด้านความจํา หรือความระลึกได้ในข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ ข้อมูล ต่างๆ ที่ได้รับ และรวบรวมสะสมไว้จากการบอกกล่าว หรือประมวลประสบการณ์ต่าง ๆ แบ่ง ออกเป็นความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา ความรู้เกี่ยวกับวิธี และการดําเนินการเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และ ความรู้เกี่ยวกับการรวมรวมแนวคิดและโครงสร้าง

กล่าวโดยสรุปความรู้หมายถึงการแสดงออกของสมรรถภาพของสมองด้านความจํา หรือความระลึกได้ในข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับ และรวบรวมสะสมไว้จากการบอก กล่าว หรือประมวลประสบการณ์ต่าง ๆ แบ่งอกเป็นความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา ความรู้เกี่ยวกับวิธีและ การดําเนินการเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมแนวคิดและโครงสร้าง

ส่วนคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนที่พึงประสงค์ ที่เป็นความรู้ได้แก่ ความตระหนักรู้เกี่ยวกับ อาเซียนและเพื่อนบ้าน และ การมีความรู้ทางวิชาการที่ได้มาตรฐานสากล มีรายละเอียดดังนี้

1.ความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนและเพื่อนบ้าน ความหมายของความตระหนักรู้ (Awareness)

นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของความตระหนักรู้ (Awareness) ไว้

อย่างหลากหลายดังนี้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตสถาน. 2542: 320) ได้ให้ความหมาย ของคําว่าตระหนักไว้ว่า หมายถึง รู้ประจักษ์ชัด รู้ชัดแจ้ง

มยุรี บุญเยี่ยม (2545: 60) อธิบายว่า ความตระหนักรู้หมายถึง การที่บุคคลแสดง ถึงการรับรู้ การคิดได้ ผูกพัน และการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบเมื่อเผชิญกับปัญหา เหตุการณ์

หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง

ศศิธร บัวทอง (2549: 10) ให้ความหมายว่า ความตระหนักรู้หมายถึง การมีความ สํานึกในบางสิ่งบางอย่างหรือเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการรับรู้และพิจารณาใคร่ครวญเหตุการณ์

ประสบการณ์ วัตถุหรือเหตุการณ์ที่ดําเนินไปบางอย่าง การใช้ความคิดจดจ่อ ผูกพัน เตือนตนเองได้

ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด

จารุชา สมศรี (2550: 14) ให้ความหมายของตระหนักรู้ว่าหมายถึง การที่บุคคล ฉุกคิดได้ หรือเกิดขึ้นในความรู้สึกว่ามีสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์หนึ่ง หรือสภาพการณ์หนึ่ง ซึ่งการรู้สึกว่ามี

หรือการฉุกคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในภาวะของจิตใจ แต่ไม่ได้หมายความว่า บุคคลนั้นจะจําได้ หรือระลึกได้ถึงลักษณะบางอย่างของสิ่งนั้น

กูด (Good. 1973: 54) กล่าวถึงความหมายของตระหนักรู้ (Awareness) ว่า หมายถึงความรู้สึกที่แสดงถึงการรับรู้ของบุคคล หรือการที่บุคคลแสดงความรู้สึกรับผิดชอบต่อ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

คิมเบอร์ก (Kimbrough. 1988: 212) กล่าวถึงความตระหนักรู้ว่ามีความหมาย คล้ายกับความสํานึก ในแง่ของภาวะทางจิตใจที่เกี่ยวกับความรู้สึก ความคิดและความปรารถนา ต่างๆ ซึ่งความตระหนักเป็นสภาวะที่บุคคลได้รับรู้ หรือได้ประสบการณ์ต่างๆ แล้วมีการประเมินค่า และรู้ถึงความสําคัญในการที่ตนเองมีสิ่งนั้นๆ นั่นคือประสบการณ์และสภาวะแวดล้อม หรือสิ่งเร้า ภายนอกเป็นปัจจัยที่สําคัญที่ทําให้บุคคลเกิดความตระหนักขึ้น

ชาพิโร (Shapiro. 1997: 32) กล่าวถึงความตระหนักรู้ว่า เป็นการกระทําที่เกิด จากความสํานึกในเรื่องหรือเหตุการณ์นั้นๆ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า ความตระหนักรู้ หมายถึง ความรู้สึกที่แสดงถึง พฤติกรรม การรับรู้ ผูกพัน การแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบของบุคคลที่เกิดจากการเรียนรู้หรือ ได้รับประสบการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น ความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนและเพื่อนบ้าน หมายถึงการที่แสดง พฤติกรรมการรับรู้ ผูกพันและ การแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศ สมาชิกอาเซียนซึ่งเกิดจาการเรียนรู้ หรือการได้รับประสบการณ์จากสถานศึกษาและการศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง

ทั้งนี้การตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นประเด็นที่อาเซียน ให้ความสําคัญมากที่สุดเนื่องจากจะนําไปสู่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสําเร็จของการสร้างประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 (วิทวัส ศรีวิหค. 2554: 37) โดยได้

มีการกําหนดเรื่องดังกล่าวไว้ในเอกสารสําคัญของอาเซียน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้ทรงคุณวุฒิ

หลายท่านดังนี้

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ในบทที่ 1 ข้อย่อยที่ 10 ที่กล่าวยํ้าถึงบทบาท ของงการศึกษาใน การเพิ่มความตระหนักในความเป็นอาเซียนและอัตลักษณ์อาเซียนรวมทั้งส่งเสริม ความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมในอาเซียน (สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

2553: 7)

แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio- Cultural Community) ได้กําหนดไว้ในการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกันในเรื่องอาเซียนว่าให้

จัดทําหลักสูตรอาเซียนศึกษาร่วมกันในระหว่างประเทศสมาชิก ส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษและ แลกเปลี่ยนทางด้านภาษาอาเซียนระหว่างสมาชิก แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และสอนค่านิยมร่วม และมรดกทางวัฒนธรรมแก่เยาวชนอาเซียนผ่านหลักสูตรโรงเรียน (สํานักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ. 2552ข: 37)

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 15 เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.

2552 ผู้นําอาเซียนได้กําหนดทิศทางในการดําเนินความร่วมมือด้านการศึกษาของอาเซียน ตามข้อเสนอของรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนซึ่งรวมถึงการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน โดยที่

ประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554 ณ ประเทศบรูไน ดารุซาลาม ที่ประชุมได้เห็นชอบให้จัดสอนวิชาอาเซียนศึกษาแก่เยาวชนอาเซียนโดยร่วมกันจัดทําหลักสูตรอาเซียนศึกษา เพื่อสอนในโรงเรียนประเทศสมาชิกอาเซียน จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนและ อัตลักษณ์อาเซียน การรื้อฟื้นค่ายเยาวชนอาเซียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (สํานักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2554ข: 29)

ยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ด้านการศึกษาอาเซียน (ASEAN 5-Year Plan on Education 2011-2015) ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน โดย กล่าวว่าอาเซียนมีเป้าหมายในการเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ด้วยการสร้างความตระหนักใน คุณค่าการเป็นพลเมืองอาเซียนในสังคมทุกระดับทั้งในสาขาการศึกษา ยุทธศาสตร์ในการดําเนินการ ดังกล่าวประกอบด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการจัดทําโครงการอาเซียนศึกษาในภูมิภาค หลักสูตร ของโรงเรียนในอาเซียนในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้รวมการเรียนการสอนเกี่ยวกับ อาเซียนไว้ด้วยรวมทั้งจัดทําโครงการฝึกอบรมครูและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในภูมิภาค รวมทั้ง การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และวัฒนธรรมระหว่างสมาชิกอาเซียน (สํานักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ. 2554ข: 36-37)

นโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่เป้าหมายในการจัดตั้งประชาคม อาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ ในนโยบายที่ 1 กําหนดให้เผยแพร่ความรู้

ข้อมูลข่าวสารและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนและ เตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาและประชาชน เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558

นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านยังให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักรู้

เกี่ยวกับอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสุรินทร์ พิศสุวรรณ (Pitsuwan. 2007: 2) กล่าว ว่าเยาวชนไทยจําเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ประชาคมอาเซียน และสามเสาหลักได้แก่

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน ขณะที่วิทวัส ศรีวิหค (2554: 37) ให้ข้อคิดเห็นว่าเยาวชนไทยต้องความตระหนัก

Garis besar

Dokumen terkait