• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

เวลา 3 ปีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

3. ความเป็นประชาธิปไตย

3.1 ความหมายของประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยมาจากคําว่า “ประชา” สนธิกับ”อธิปไตย” มีความหมายตรงกับ คําภาษาอังกฤษ”Democracy”ซึ่งหมายถึงการปกครองของประชาชน (คณิต จิตเจริญทวีโชค 2548: 8) ทั้งนี้มีนักวิชาการและนักการศึกษาให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ดังนี้

จิรภา สุนทรสิต (2534: 41) เสนอความหมายของประชาธิปไตยใน 2 ลักษณะ คือ 1. ความหมายในฐานะระบอบการปกครองประเทศ ซึ่งหมายถึงระบบการเมืองที่ถือว่าอํานาจ เป็นของประชาชนหรือมาจากประชาชน รัฐบาลเป็นเพียงผู้ได้รับมอบอํานาจให้ทําหน้าที่ปกครอง แทนประชาชนเท่านั้น และประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อํานาจแทนตนได้โดยการเลือกตั้งที่มี

กําหนดวาระ ถือว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนเพื่อประชาชน 2. ความหมายใน ฐานะวิถีการดําเนินชีวิต หมายถึงการอยู่ร่วมกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพทั้งทางการและวาจา ไม่ก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น เคารพกฎเกณฑ์ทางสังคม ร่วมกันรับผิดชอบและทําประโยชน์เพื่อความ ผาสุกของส่วนรวม ตลอดจนการใช้สติปัญญาและความเฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหา

พระเทพเวที (2535) อธิบายว่าประชาธิปไตยหมายถึงการที่ประชาชน ปกครองด้วยสติปัญญาที่ดี มีความรู้ความเข้าใจ สามารถคิดได้ด้วยตนเอง พิจารณาเหตุผล รู้จัก แยกแยะ วินิจฉัยได้ว่าอะไรถูก อะไรผิด และควบคุมให้เว้นจากสิ่งที่ผิดและทํานิ่งถูกต้องชอบธรรม

สมบัติ ธนลาภสกุลกิจ (2535: 10) อธิบายความหมายของประชาธิปไตยว่า เป็นวิถีชีวิต ซึ่งหมายถึงการเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของกันและกัน แก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วย เหตุผล สันติวิธี มีใจกว้าง พิจารณาปัญหาต่างๆ ด้วยวิจารณญาณ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มี

วินัยในตนเอง และยอมรับความเสมอภาคของทุกคน

สุขุม นวลสกุล (2540: 3) ให้ความหมายของประชาธิปไตยว่าหมายถึงการ ปกครองที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่

อมร รักษาสัตย์ (2545: 6) กล่าวถึงประชาธิปไตยว่ามีความหมายถึงการ ปกครองแบบหนึ่งซึ่งสิทธิในการตัดสินใจทางการเมืองเป็นของพลเมืองตามระเบียบวิธีการที่เสียง ข้างมากเป็นผู้ชนะ อาจเรียกว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง หรือประชาธิปไตยทางตรง

ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ (2546: 4) อธิบายว่าประชาธิปไตยมีความหมายใน 3 ลักษณะ คือ1.ประชาธิปไตยในฐานะอุดมการณ์ทางการเมือง 2.ประชาธิปไตยในฐานะรูปแบบ

รัฐบาลหรือระบอบการปกครอง และ 3.ประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมทางการเมือง กล่าวโดยสรุปประชาธิปไตยมีความหมายใน 3 ลักษณะ คือ1.ประชาธิปไตยใน ฐานะอุดมการณ์ทางการเมือง 2.ประชาธิปไตยในฐานะรูปแบบรัฐบาลหรือระบอบการปกครอง และ 3.ประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมทางการเมือง ตามหลักการของธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ (2546: 4)

3.2 หลักการของระบอบประชาธิปไตย

กรมสามัญศึกษา (2540: 3-4) ได้กําหนดหลักการประชาธิปไตยว่ามุ่งหวังใน การส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจหลักการประชาธิปไตยแล้วนําไปประยุกต์ใช้การทํางาน ใน 5 ประการ คือ1. หลักเสรีภาพ หมายถึงสิทธิตามธรรมชาติที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ทั้งการคิด การพูด และการ กระทํา ภายใต้ขอบเขตความเรียบร้อยของสังคมอย่างเท่าเทียมกัน 2. หลักความเสมอภาค ถือว่า มนุษย์มีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย โดยไม่คํานึงถึงความแตกต่างทางเพศ ศาสนา ชนชั้น หรือ ถิ่นพํานัก หรืออุดมการณ์ทางการเมือง แต่อาจถูกจํากัดด้วยเงื่อนไขอาทิยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็น นักบวช ถูกจองจํา เป็นต้น 3. หลักการ โดยยึดเสียงข้างมากเป็นหลักซึ่งเป็นหลักการที่สําคัญของ ระบอบประชาธิปไตย แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้เสียงข้างมากไปเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ หรือละเมิดสิทธิของ คนส่วนน้อย 4. หลักของเหตุผล หมายถึงความเชื่อมั่นในเหตุผลและให้ความสําคัญแก่กระบวนการ หรือวิธีการค้นหาคําตอบที่ถูกต้องหรือเหมาะสมซึ่งเป็นหลักเชิงวิทยาศาสตร์ และ 5. หลักภราดร ภาพ หมายถึงการปฏิบัติต่อกันด้วยความเห็นอกเห็นใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เอารัดเอาเปรียบ และรู้สึก ต่อกันฉันท์พี่น้อง ไม่แบ่งเชื้อชาติ เพศ ลัทธิความเชื่อ หรือเพศ ผิวพรรณ

สุจิตรา จงอยู่สุข (2544: 61-62) กล่าวถึงหลักการส่งเสริมประชาธิปไตยใน โรงเรียนดังนี้

1.สร้างค่านิยมในเรื่องอุดมการณ์ของประชาธิปไตยก่อนโดยการฝึกความ รับผิดชอบต่อส่วนรวม เคารพในสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัย และส่งเสริมการทํางาน ร่วมกันคุณลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องเร่งปลูกฝังในตัวผู้เรียนเพราะเป็นรากฐานของประชาธิปไตย

2.จัดการสอนโดยใช้หลักการให้ผู้เรียนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นใน การเรียนมากขึ้น พร้อมฝึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ตลอดจนให้ปกครองตนเอง

3. จัดกิจกรรมโรงเรียนใน 2 รูปแบบคือ 1.การจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนตามหลักสูตรซึ่งเป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่สนับสนุนเรื่องประชาธิปไตย เช่นการ ช่วยเหลือกัน การอภิปราย การทํางานร่วมกัน และ2.การจัดกิจกรรมนักเรียนซึ่งช่วยสนับสนุนและ ช่วยปลูกฝังเรื่องประชาธิปไตย ได้แก่การจัดตั้งสภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ชมรมและกลุ่ม สนใจ และชุมนุมทางวิชาการ 3.การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้สอนกับผู้สอน และระหว่าง ผู้สอนและผู้เรียน และ 4. การสร้างความสัมพันธ์ระว่างโรงเรียนกับสังคมภายนอก

กระทรวงศึกษาธิการ (2547: 4-6) ได้เสนอหลักการสําคัญของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยไว้ดังนี้ 1. หลักความเสมอภาค หมายถึงความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์

และความเท่าเทียมกันในฐานะสมาชิกของสังคมเช่นเดียวกัน 2. หลักสิทธิเสรีภาพและหน้าที่

หมายถึงอํานาจหรือประโยชน์ของบุคคลซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่บุคคลที่เป็นประชากร ของรัฐ โดยสิทธิเสรีภาพและหน้าที่เป็นของคู่กัน 3. หลักนิติธรรม หมายถึงการยึดถือกฎหมายเป็น เกณฑ์ กติกาของประเทศหรือการใช้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การรักษาประโยชน์

ส่วนรวมเพื่อความถูกต้อง สงบเรียบร้อยและยุติธรรม ซึ่งสิทธิเสรีภาพใดๆ จะไม่เป็นจริง หากไม่มี

กฎหมายเป็นหลักประกันคุ้มครอง หรือป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น 4. หลักการยอมรับ เสียงข้างมากหมายถึงการที่ทุกสังคมมีคนอยู่รวมกันมาก ๆ ย่อมเกิดความขัดแย้ง ซึ่งความขัดแย้ง อาจระงับได้ด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ในระบอบประชาธิปไตยยังนําวิธีเสียงข้างมากมาใช้ในการยุติ

ปัญหา แต่ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อย และ 5. หลักอํานาจอธิปไตยของปวงชน หมายถึง การปกครองต้องได้รับการยินยอมจากประชาชน รัฐคือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับการเลือกจากประชาชน มาทําหน้าที่เป็นผู้ปกครองประเทศ รัฐที่ดีต้องเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน และต้องรับผิดชอบ ต่อประชาชน และ 6. หลักการใช้เหตุผล หมายถึงการอาศัยความเชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถ และมี

สติปัญญาในการดูแลปกครองตนเอง สามารถใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหา และกําหนดแนวทางใน การดําเนินชีวิตให้กับตนเองและสังคมได้ ไม่ใช้กําลังหรือความรุนแรงในการตัดสินปัญหา

หลักการสําคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่กล่าวมานั้น ต้องมีจุด ร่วมสําหรับการปฏิบัติของหมู่ชนหรือประชานที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สําคัญ คือ ประการแรกอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน คือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และ เพื่อประชาชน ประการที่สองหลักเสรีภาพ คือประชาชนมีเสรีภาพในการประกอบการใด ๆ ใน ขอบเขตของกฎหมาย ไม่ถูกครอบงําโดยผู้อื่น เคารพและไม่ลิดรอนในสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของ ผู้อื่น ประการที่สาม หลักความเสมอภาค คือทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันทางกฎหมาย เศรษฐกิจและ สังคม ประการที่สี่ หลักภราดรภาพ คือทุกคนมีความเป็นพี้อง รักใคร่กลมเกลียว สามัคคีกัน ประการที่ห้า หลักเหตุผล คือการตัดสินความขัดแย้งจะต้องใช้เหตุผลเสมอ และประการที่หก หลัก นิติธรรม คือการปกครองโดยกฎหมาย ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมาย

3.3 พฤติกรรมวิถีชีวิตประชาธิปไตย

พฤติกรรมวิถีชีวิตประชาธิปไตยเป็นเรื่องสําคัญเพราะเป็นการนําหลักการ ต่างๆ ของประชาธิปไตยมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม หรือเป็นการนําทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ

3.3.1 ความหมายของพฤติกรรมวิถีชีวิตประชาธิปไตย

พฤติกรรมวิถีชีวิตประชาธิปไตย หมายถึงการกระทําหรือการ แสดงออกของบุคคลทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยการนําหลักการทาง ประชาธิปไตยมาใช้ในชีวิตประจําวันจนเป็นนิสัยหรือวิถีชีวิตชีวิต (A Way of Life) ซึ่งเป็นที่

สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน สามารถแข่งพฤติกรมดังกล่าวออกเป็น 3 ด้านคือ คารวธรรม หมายถึง การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน สามัคคีธรรม หมายถึงการร่วมมือกันในการเรียนการทํางาน และ

ปัญญาธรรม หมายถึงการใช้เหตุผลในการทํางานและการตัดสินปัญหาต่างๆ (กระทรวงศึกษาธิการ.

2547: 9)

สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540: 25-27) ได้

เสนอพฤติกรรมที่เป็นผลจากวิเคราะห์จากความหมายของวิถีชีวิตประชาธิปไตย ไว้ดังนี้

1. คารวธรรม มีพฤติกรรมที่แสดงออกดังนี้คือเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์

ได้แก่

1.1 การแสดงความเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกโอกาส การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันการปฏิบัติต่อสัญลักษณ์ที่แสดงถึง สถาบัน เช่น ธงชาติ พระบรมฉายาลักษณ์ เพลงสรรเสริญพระบารมี ฯลฯ ด้วยความเคารพ เมื่อได้ยิน หรือเห็นบุคคลใดแสดงกิริยา วาจา หรือการกระทําอันไม่สมควรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องกล่าว ตักเตือนและมิให้ปฏิบัติเช่นนั้นอีก เคารพในหลักปฏิบัติของศาสนาที่ตนนับถือ และไม่ลบหลู่ศาสนาอื่น 1.2 เคารพซึ่งกันและกันทางกาย ได้แก่ การแสดงความเคารพซึ่งกัน และกัน เช่นการทักทาย การให้เกียรติผู้อื่น การแสดงความเคารพต่อบุคคลที่อาวุโสกว่า การให้การ ต้อนรับแก่บุคคล และการแสดงความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

1.3 เคารพกันทางวาจา ได้แก่ การรู้จักพูดจาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ ใช้คําพูด 1.4 เหมาะสมตามฐานะของบุคคล พูดจาสุภาพไม่ก้าวร้าวส่อเสียด ไม่พูดในสิ่งที่จะทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่นําความลับของบุคคลอื่นไปเปิดเผย และไม่พูดนินทาหรือ โกหกหลอกลวง

1.5 เคารพในสิทธิของผู้อื่น ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทั้ง ทางกายหรือวาจา รู้จักเคารพในสิทธิของคนที่มาก่อนหลัง เคารพในความเป็นเจ้าของสิ่งของ เครื่องใช้และต้องรู้จักขออนุญาตเมื่อล่วงลํ้าเข้าไปในที่อยู่อาศัยของบุคคลอื่น

1.6 เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น ได้แก่ การยอมรับฟังความ คิดเห็นของบุคคลอื่นเมื่อมีผู้พูดเสนอความคิดเห็นควรฟังด้วยความตั้งใจ และใคร่ครวญด้วย วิจารณญาณ หากเห็นว่าเป็นการเสนอแนวคิดที่ดีมีประโยชน์มากกว่าความคิดเห็นของตนก็ควร ยอมรับและปฏิบัติตาม

1.7 เคารพในกฎ ระเบียบของสังคม ได้แก่ การยึดมั่นในระเบียบของ สังคม เช่นวัฒนธรรมประเพณี กฎเกณฑ์ทางสังคม และกฎหมายของประเทศ

1.8 มีเสรีภาพและใช้เสรีภาพตามขอบเขตของกฎหมาย และ ขนบธรรมเนียมประเพณี

2. สามัคคีธรรม มีพฤติกรรมที่แสดงออกดังนี้ คือ

2.1 การรู้จักประสานประโยชน์ โดยถือ ประโยชน์ของส่วนรวมหรือ ชาติเป็นที่ตั้งได้แก่ การทํางานร่วมกันอย่างสันติวิธี รู้จักประนีประนอม โดยคํานึงถึงประโยชน์ที่จะ เกิดขึ้นแก่ส่วนรวมเป็นใหญ่ มีการเสียสละความสุขส่วนตนหรือหมู่คณะเพื่อประโยชน์สุขของ ส่วนรวมหรือของชาติ

Garis besar

Dokumen terkait