• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

ภาพประกอบ 20 ตําแหน่งสุนัขจนตรอก

3. จําแนกตามค่าตัวชี้วัด

3.1 ตัวชี้วัดเชิงบวก (Positive Indicators) ที่ค่าตัวเลขมีแนวโน้มในทาง เพิ่มขึ้น แสดงถึงแนวโน้มในทางที่พึงประสงค์ เช่นอัตราเพิ่มขึ้นของผู้รับริการสารสนเทศสูงขึ้น

3.2 ตัวชี้วัดเชิงลบ (Negative Indicators) ที่มีค่าตัวเลขมีแนวโน้มลดลง แสดง ถึงแนวโน้มในทางที่พึงประสงค์ เช่นอัตราการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ

ค่าของตัวชี้วัดที่แสดงเป็นตัวเลข มี 6 ลักษณะ (สพฐ. 2548: 46) ดังนี้

1. ร้อยละ (Percentage) เช่นโรงเรียนหนึ่งมีนักเรียนชายคิดเป็นร้อยละ 60 ของ นักเรียนทั้งหมด

2.อัตราส่วน (Ratio) เช่นในโรงเรียนหนึ่งมีอัตราครูชายต่อครูหญิงเป็นอัตราส่วน 2:1 3.สัดส่วน (Proportion) เช่นในโรงเรียนหนึ่งมีนักเรียนที่สอบไม่ผ่านวิชาคณิตศาสตร์

เป็นสัดส่วน 1:9 สอบไม่ผ่าน 1 คน

4. อัตรา (Rate) คืออัตราส่วนระหว่างตัวเลขจํานวนหนึ่งกับอีกจํานวนหนึ่ง ภายในระยะเวลาหนึ่ง เช่นอัตราสอบไม่ผ่านวิชาฟิสิกส์ของนักเรียน ม. 4 ในโรงเรียนหนึ่งเท่ากับ 4.5 ต่อนักเรียนทั้งหมด 100 คน หมายถึงนักเรียน ม.4 ที่เข่าสอบวิชาฟิสิกส์ทุก 100 คน จะสอบ ไม่ผ่าน 4.5 คน

5. จํานวน (Number)เช่น จํานวนโรงเรียน 8 โรงเรียน จํานวนครู/จํานวน อาจารย์ ที่เข้ารับการอบรม มี 45 คน

6. ค่าเฉลี่ย (Average or Mean) เช่นผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2457 ของโรงเรียนหนึ่งคิดเป็น 2.75

การวัดผลการดําเนินงาน เกณฑ์ที่ใช้การวัดผลการดําเนินงาน พิจารณาได้จาก 1.ปริมาณของผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดจากการดําเนินงาน

2.คุณภาพของผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินงานซึ่งโดยทั่วไป มีมาตรฐานในการวัดคุณภาพที่ครอบคลุมถึงสิ่งดังต่อไปนี้

2.1ความถูกต้องแม่นยํา 2.2ความสมบูรณ์ทุกรูปแบบ 2.3ความสามารถในการเข้าถึง 2.4การคุ้มครองความเสี่ยง 2.5การปฏิบัติตามกฎหมาย

2.6การทําให้ผู้รับบริการ หรือลูกค้าพอใจ

3.ต้นทุนได้แก่ต้นทุนที่คาดหวัง ต้นทุนที่เป็นจริง ต้นทุนเฉลี่ย และต้นทุนส่วนเพิ่ม 4.เวลา ได้แกการนําส่งผลงาน หรือการให้บริการในเวลาที่ตกลงหรือกําหนดไว้

สิ่งที่ควรชี้วัด วัดผล หรือเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดความสําเร็จที่กําหนดไว้มีดังนี้

1. การวัดผลผลิต (Output) เป็นการวัดผลการดําเนินงานที่เกิดจริง โดย เปรียบเทียบกับผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น หรือมาตรฐานผลผลิตเช่น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่าน เกณฑ์ประเมินตามหลักสูตรร้อยละ 87 จากที่ตั้งเป้หมายไว้ร้อยละ 95

2.การวัดผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการวัดผลที่เกิดขึ้นจากการนําประโยชน์จากผล การผลิตไปใช้ว่าเกิดผลอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจมีทั้งผลกระทบ ผลข้างเคียง เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Output) ส่งผลให้นักเรียนสามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือประกอบอาชีพได้

วิเชียร เวลาดี (2547: 46) เสนอแนะถึงการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ไว้ดังนี้

1.การเต่งตั้งกรรมการติดตามและประเมินกลยุทธ์สถานศึกษา 2.กําหนดปฏิทินการประเมินกลยุทธ์สถานศึกษา

3.สร้างเครื่องมือในการประเมินกลยุทธ์ให้ครอบคลุมภารกิจ

4.ติดตามประเมินกลยุทธ์โดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นตามปฏิทินที่กําหนด

5.รายงานผลให้ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัด สาธารณชนทราบ

6.ปรับปรุงแก้ไขกลยุทธ์สถานศึกษาที่บกพร่องให้มีคุณภาพมากขึ้น

กล่าวโดยสรุปผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ พลเมืองอาเซียนที่พึงประสงค์โดยการสังเคราะห์หลักการแนวคิดทฤษฎี และการปฏิบัติที่ดี

เกี่ยวกับการบริหารกลยุทธ์ของนักวิชาการและนักการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศจํานวน 19 ท่าน แล้วเลือกใช้เฉพาะส่วนการสร้างกลยุทธ์ (ขั้นตอนที่ 1-3) โดยใช้วิธีการของเซอร์โตและปี

เตอร์ (Certo; & Peter. 1991) บูรณาการกับขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์ของสํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ (สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. 2552: ออนไลน์) จึงประกอบด้วย ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) หมายถึงการศึกษาปัจจัยที่มี

ผลกระทบต่อการดําเนินงานของสถนศึกษาทั้งในด้านบวกและลบเพื่อนําผลที่ได้จากการศึกษาไปกําหนด กลยุทธ์บริหารสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ทั้งนี้ข้อมูลสภาพแวดล้อมที่ใช้ในการประเมิน สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือสภาพแวดล้อมภายนอกได้แก่การ วิเคราะห์ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยด้นเทคโนโลยี ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้าน การเมืองและกฎหมาย และการวิเคราะห์และสภาพแวดล้อมภายในได้แก่โครงสร้างและนโยบายของ องค์การ บริการและคุณภาพของผลผลิต บุคลากร การเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ โดยเลือกใช้หลักการของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2549: 14-15) แล้วทํา SWOT Matrix Analysis

2. การกําหนดทิศทางองค์การ (Establishing Organizational Direction) ประกอบด้วยด้วยการดําเนินการดังต่อไปนี้

2.1วิสัยทัศน์(Vision)ของสถานศึกษาหมายถึงภาพความสําเร็จของนักเรียนหรือ สถานศึกษาในอนาคตที่อยากเห็น หรืออยากให้คนอื่นพูดถึง วิสัยทัศน์ที่ดีต้องมีระบบภาพชัดเจน สร้าง แรงจูงใจหรือกระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาเกิดแรงบันดาลใจ อยากปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุ

วิสัยทัศน์นั้น ตามหลักการของวรรณา สุภาพุฒิ (2553: 27)

2.2 พันธกิจ (Mission) หมายถึงข้อความที่แสดงถึงหน้าที่ของสถานศึกษาที่

สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป็นสิ่งที่มีความชัดเจนและ เป็นรูปธรรมมากขึ้นเป็นส่วนที่จะทําให้เกิดการ วางแผนว่า ควรจะเป็นไปในทิศทางใด เป็นสิ่งที่สมาชิกใน องค์การจะต้องรับรู้และเข้าใจ และเป็นสิ่ง ที่ฝ่ายบริหารสามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลสําเร็จใช้เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติเกิดความ ภักดีและความรู้สึกเป็นเจ้าของในองค์การ และเป็นตัวที่จะทําให้เป็นที่รับรู้ถึง ค่านิยมและอนาคตของ องค์การจากบุคคลภายนอกตามหลักการของวิโรจน์ สารรัตนะ (2548: 45)

3. การกําหนดประเด็นกลยุทธ์ (strategic Issue) หมายถึงประเด็นหลักในการ พัฒนา แสดงให้เห็นถึงทิศทางการดําเนินงานของหน่วยงาน ถือเป็นนโยบายขององค์กรที่ผู้บริหาร จะนําไปเป็นกรอบสําคัญในการกําหนดเป้าประสงค์และกลยุทธ์ ประเด็นยุทธ์จะได้จากการทํา วิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการทํา SWOT Matrix Analysis

4.การทําแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) หมายถึงแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงความ เชื่อมโยงของเป้าประสงค์ที่องค์กรปรารถนาใน 4 มิติคือมิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ มิติด้าน คุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และมิติด้านการพัฒนาองค์กร (สมควร ทรัพย์บํารุง. 2553: 3) ดังนี้

4.1.มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ หมายถึงการพิจารณาว่าผลลัพธ์ที่สําคัญจาก ประเด็นยุทธ์คืออะไร อะไรคือเครื่องบ่งชี้ว่าประเด็นยุทธ์ดังกล่าวประสบผลสําเร็จ

4.2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ หมายถึงการพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่

ผู้รับบริการของประเด็นยุทธ์ต้องการ และจะทราบได้อย่างไรว่าผู้รับบริการได้รับสิ่งที่ต้องการ 4.3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน หมายถึงการพิจารณาว่าต้องมี

กระบวนการ ทรัพยากรหรือกิจกรรมใดบ้างเพื่อนําไปสู่สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการหรือเกิดประสิทธิผล ตามประเด็นกลยุทธ์

4.4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร หมายถึงการพิจารณาว่าจะต้องมีการพัฒนาองค์กร ในด้านใดเพื่อเตรียมความพร้อมในการดําเนินการให้บรรลุผลตามประเด็นกลยุทธ์

5. การกําหนดเป้าประสงค์ (Goal) หมายถึงการกําหนดผลลัพธ์ หรือผลสําเร็จที่

หน่วยงานต้องการบรรลุ โดยทั่วไปเป็นข้อความกว้างๆ ที่แสดงถึงผลลัพธ์ของของประเด็นยุทธ์หลัก การกําหนดเป้าประสงค์ ต้องครอบคลุมกรอบประเมินผลใน 4 มิติ คือ มิติด้านประสิทธิผลตาม พันธกิจ มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และมิติด้านการ พัฒนาองค์กร

6. การกําหนดตัวชี้วัด (Indicator) หมายถึงการกําหนดตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ ซึ่ง จะใช้เป็นเครื่องมือการวัดว่าองค์กรบรรลุเป้าประสงค์ในแต่ละกลยุทธ์หรือไม่ โดยค่าของตัวชี้วัดอาจ แสดงเป็นตัวเลข เช่นร้อยละ อัตราส่วน ค่าเฉลี่ย หรือตัวชี้วัดของผลผลิต เช่นปริมาณ (จํานวน ผลิตภัณฑ์/สินค้าและบริการ) คุณภาพ (มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ หรือคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ใน มาตรฐานระดับใด) เวลา (เวลาที่ใช้ในการนําส่งผลผลิตภายในระยะเวลาที่ตกลง) ความคาดหวัง (ผล การดําเนินงานที่เป็นไปได้จากกระบวนการ ความสามารถและทรัพยากรที่มีอยู่ หรือสิ่งที่ต้องทําหรือ พัฒนาเพื่อให้บรรลุต่อเป้าหมายในระดับที่สูงกว่า)

7.การสร้างกลยุทธ์ (Strategy Formulation) หมายถึงการเลือกวิธีการทํางานอย่าง เหมาะสมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาทําให้เกิดผลสําเร็จตามตัวชี้วัดของ เป้าประสงค์ที่กําหนด

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลยุทธ์ มีดังต่อไปนี้

ปณิธาน วรรณวัลย์ (2547: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องการดําเนินการวางแผนกลยุทธ์

โรงเรียนมัธยมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี พบว่าผู้บริหาร หัวหน้าแผนงาน

ดําเนินการวางแผนกลยุทธ์โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งในภาพรวมและรายด้าน มีระดับการปฏิบัติอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าผู้บริหาร หัวหน้าแผนงานมีการวางแผนกลยุทธ์ด้านการวาง ทิศทางของโรงเรียน (วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย) มากที่สุด รองลงมาคือการติดตาม ประเมินผลด้านการกําหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน สถานภาพของโรงเรียน และการวิเคราะห์

สภาพแวดล้อมตามลําดับ

นอกจากนี้ผู้บริหาร หัวหน้าแผนงาน ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีการดําเนินการวางแผน กลยุทธ์โรงเรียนไม่ต่างกัน และผู้บริหาร หัวหน้าแผนงาน ที่ขนาดโรงเรียนต่างกัน มีการดําเนินการ วางแผนกลยุทธ์ไม่ต่างกัน

สุวดี อุปปินใจ (2553: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนากลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมของ ชุมชนสําหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่สูงภาคเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1.เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาขั้น พื้นฐานในพื้นที่สูงภาคเหนือ และ 2. เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีเก็บข้อมูลกระทําโดยศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค ของการ บริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการสังเกต และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้น พื้นฐานในภาคเหนือ 2 แห่ง ส่วนการพัฒนากลยุทธ์ดําเนินการโดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) และ TOWS Matrix ตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของกลุทธ์โดย ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่สูงภาคเหนือในปัจจุบันของโรงเรียนที่ 1 อยู่ในระดับที่ 1 คือการไม่มี

ส่วนร่วม ประกอบด้วยการจัดฉาก และการดูแลรักษา ส่วนโรงเรียนที่ 2 อยู่ในระดับ 2 คือการมีส่วน ร่วมแบบพอเป็นพิธี หรือมีส่วนร่วมบางส่วน (2) กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในพื้นที่สูงภาคเหนือ ประกอบ 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1. สร้างสมัชชาการศึกษาของชุมชน 2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเครือข่ายระดมทุนและทรัพยากรเพื่อพัฒนา การศึกษา 3. พัฒนาภาวะผู้นําในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 4.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

อารีรัสมิ์ วัฒนทองผิว (2553: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยในหัวข้อการพัฒนากลยุทธ์การ บริหารความขัดแย้งสําหรับสถานศึกษาของรัฐ วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1.ศึกษาวิเคราะห์สภาพ ความขัดแย้งและวิธีบริหารความขัดแย้งใยสถานศึกษาของรัฐ 2. พัฒนากลยุทธ์การบริหาร สถานศึกษาของรัฐ และ 3. ประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสําหรับ สถานศึกษาของรัฐ การดําเนินการวิจัยมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. กําหนดกรอบแนวคิดการวิจัย 2. ศึกษา ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาจํานวน 240 คน เกี่ยวกับสภาพความขัดแย้งในสถานศึกษา และวิธีบริหารความขัดแย้ง 3. ยกร่างกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสําหรับสถานศึกษาของรัฐด้วย วิธีวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) และ TOWS Matrix 4. พัฒนากลยุทธ์การบริหาร ความขัดแย้งสําหรับสถานศึกษาของรัฐโดยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)

Garis besar

Dokumen terkait