• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

เวลา 3 ปีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

2. การมีคุณธรรมและจริยธรรม

ตัวชี้วัด

1. มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกําลังกายสมํ่าเสมอ 2. มีนํ้าหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพร่างกายตามเกณฑ์

3. ไม่เสพสิ่งเสพติดให้โทษ และหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และ ปัญหาทางเพศ

4. มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและให้เกียรติผู้อื่น 5. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น

กูด ( Good. 1973: 641 ) ให้ความหมายของคุณธรรมไว้ 2 ประการ คือ 1. คุณธรรม หมายถึงความดีงามของลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมที่ได้

กระทําจนเคยชิน

2. คุณธรรม หมายถึงคุณภาพที่บุคคลได้กระทําตามความคิดและ มาตรฐานของสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความประพฤติและศีลธรรม

กล่าวโดยสรุปคุณธรรม หมายถึง ความดีงามของลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรม ที่ได้กระทําจนเคยชิน มีความสอดคล้องกับมาตรฐานของสังคม ทําให้สังคมมีความสุข ตามหลักการ ของกูด(Good. 1973: 641)

2.1.2 ความหมายของจริยธรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน2542: 214) ให้ความหมายของ จริยธรรมว่าว่าเป็นธรรมที่เป็นข้อประพฤติ

ปฏิบัติ ศีลธรรม หรือ กฎศีลธรรม

กระมล ทองธรรมชาติ(2535: 3) กล่าวว่า จริยธรรมคือการกระทําทั้งกาย วาจา และใจที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ผู้อื่น และสังคม

เพียเจต์ (Piaget. 1960: 1) ให้ความเห็นว่า จริยธรรมเป็นประสบการณ์ของ มนุษย์

และหน้าที่ที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดเตรียมทางสังคมในเรื่องความสนใจ และ อนามัยบุคคล ความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปแบบของการกระทําและสิทธิ

กูด (Good. 1973: 57) กล่าวว่า จริยธรรม หมายถึง การประพฤติดี

ประพฤติชอบ ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น ตลอดจนสังคมประเทศชาติ เพื่อก่อให้เกิดความสุข ความ เจริญรุ่งเรือง และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

โคลเบอร์ก (Kohlberg. 1976: 4-5) นักจิตวิทยาสังคมที่ศึกษาเกี่ยวกับ พัฒนาการทางจริยธรรมกล่าวถึงจริยธรรมว่า มีพื้นฐานของความยุติธรรม ถือเอาการกระจายสิทธิ

และหน้าที่อย่างเท่าเทียมกันโดยมิได้หมายถึงกฎเกณฑ์ที่บังคับทั่วไป แต่เป็นกฎเกณฑ์ซึ่งมีความ เป็นสากลที่คนส่วนใหญ่รับไว้ในทุกสถานการณ์ ไม่มีการขัดแย้งกัน เป็นอุดมคติ ดังนั้น พันธะทาง จริยธรรมจึงเป็นการเคารพต่อสิทธิ ข้อเรียกร้องของบุคคลอย่างเสมอภาคกัน

กล่าวโดยสรุปจริยธรรมหมายถึง แนวทางประพฤติ ปฏิบัติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ในการอยู่

ร่วมกันของบุคคลในสังคม ซึ่งเป็นลักษณะการแสดงออกทางร่างกาย 2.2 องค์ประกอบของจริยธรรม

ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2524: 2-3) ได้แบ่งลักษณะองค์ประกอบทางจริยธรรม ของมนุษย์ออกเป็น 4 ประการ คือ

1. ความรู้เชิงจริยธรรม หมายถึงการมีความรู้ว่าในสังคมของตนนั้น ถือว่าการ กระทําชนิดใดดีควรทํา และการกระทําชนิดใดควรงดเว้น ลักษณะพฤติกรรมประเภทใดเหมาะสม หรือไม่ เหมาะสมมากน้อยเพียงใด ความรู้เชิงจริยธรรม หรือความรู้เกี่ยวกับค่านิยมทางนี้ขึ้นอยู่กับ อายุ ระดับการศึกษา และพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลด้วย ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทาง สังคม และศาสนา ส่วนใหญ่เด็กจะเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่เกิด โดยในช่วงอายุ 2-10 ปี จะได้รับการปลูกฝัง ค่านิยมเหล่านี้เป็นพิเศษ

2. ทัศนคติเชิงจริยธรรม หมายถึงความรู้สึกของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะหรือ พฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่างๆ ว่าตนชอบหรือไม่ชอบลักษณะนั้น ๆ เพียงใด ทัศนคติเชิงจริยธรรม ของบุคคลส่วนมากจะสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมนั้น แต่บุคคลบางคนในสถานการณ์ปกติอาจมี

ทัศนคติต่างไปจากค่านิยมของสังคมก็ได้ ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลมีความกว้างขวางกว่า ความรู้เชิงจริยธรรมของบุคคลเพราะทัศนคตินั้นรวมทั้งความรู้และความรู้สึกในเรื่องนั้นๆ เข้า ด้วยกัน ฉะนั้น ทัศนคติเชิงจริยธรรมจึงสามารถใช้ทํานายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมได้แม่นยํากว่าการ ใช้ความรู้เชิงจริยธรรมเพียงอย่างเดียวทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลนั้นในเวลาหนึ่งยังอาจ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้

3.เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึง การที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทํา หรือเลือกที่จะไม่กระทําพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุผลที่กล่าวถึงนี้จะแสดงให้เห็นเหตุจูงใจ หรือแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการกระทําต่างๆ ของบุคคล การศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมจะทําให้

ทราบว่าบุคคลผู้มีจริยธรรมในระดับที่แตกต่างกันอาจมีการกระทําที่คล้ายคลึงกันได้ นักทฤษฎี

พัฒนาการทางจริยธรรม คือ เพียเจต์ (Piaget) และ โคลเบอร์ก (Kohlberg) ได้ใช้การอ้างเหตุผลเชิง จริยธรรมของบุคคลเป็นเครื่องแสดงถึงพัฒนาการด้านจริยธรรมของบุคคลนั้น นอกจากนี้การใช้

เหตุผลเชิงจริยธรรมยังมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการอื่นๆของบุคคลด้วย คือพัฒนาการด้าน สติปัญญา อารมณ์ และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมประเภทต่างๆ ของบุคคลด้วย

4. พฤติกรรมเชิงจริยธรรม หมายถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยม ชมชอบ หรืองดเว้นการแสดงที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือค่านิยมในสังคมนั้น พฤติกรรมเชิงจริยธรรมซึ่ง เป็นการกระทําที่สังคมเห็นชอบและสนับสนุนมีหลายประเภท เช่น การเสียสละเพื่อส่วนรวม การ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้น นอกจากนี้พฤติกรรมเชิงจริยธรรมอีกพวกหนึ่ง คือ พฤติกรรมใน สถานที่เย้ายวนใจ หรือในสภาพที่ยั่วยุให้บุคคลกระทําผิดกฎเกณฑ์ เพื่อประโยชน์ส่วนตนบาง ประการ พฤติกรรมเชิงจริยธรรมในสถานการณ์ยั่วยุ เช่น การโกงสิ่งของ เงินทอง หรือคะแนน และ การกล่าวเท็จ เป็นต้น

กรมวิชาการ (2540: 3) ตามโครงการวิจัยทางการศึกษาจริยธรรมไทย ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของจริยธรรมไว้ 3 ประการ คือ

1.องค์ประกอบด้านความรู้ (Moral Reasoning) ได้แก่ ความเข้าใจเหตุผลของ ความถูกต้องดีงามโดยระบบการคิด

2.องค์ประกอบด้านความรู้สึก (Moral Attitude an Belief) ได้แก่ ความ พึงพอใจความศรัทธาเลื่อมใส เกิดความนิยมยินดีที่จะรับจริยธรรมขึ้นมาเป็นแนวปฏิบัติ

3.องค์ประกอบด้านพฤติกรรมการแสดงออก(Moral Conduct) ได้แก่

พฤติกรรมการกระทําที่บุคคลตัดสินใจกระทําถูกหรือกระทําผิดในสถานการณ์แวดล้อมต่างๆกัน บราวเน (Browne. 1978: 122) แบ่งจริยธรรมออกเป็น 3 ด้าน คือ

Garis besar

Dokumen terkait