• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

เวลา 3 ปีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

3. ความกตัญญูกตเวที

3.1 ความหมายของความกตัญญูกตเวที

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน.

2542: 139) ให้ความหมายของกตัญญูว่าหมายถึงการรู้อุปการะที่ท่านทําให้ ผู้รู้คุณท่านสมเด็จพระมหาวีร วงศ์ (2539: 449) อธิบายว่าคนกตัญญูเป็นคนซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อผู้มีคุณ เมื่อได้รับอุปการะจากผู้ใดแล้ว เป็นไม่ลืมหน้าที่ของตนที่ต้องรู้คุณ และสนองคุณนั้นด้วยนํ้าใจ ซื่อสัตย์ และชักนําคนอื่นให้นิยมยินดีทําคุณ ความดีเช่นนั้น

พระธรรมปิฎก (2548: 2) อธิบายว่ากตัญญูกตเวที หมายถึงการรู้

อุปการะที่ท่านทําแล้วและตอบแทน แยกออกเป็นกตัญญู หมายถึงรู้คุณท่าน และกตเวที หมายถึง ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน

ดวงเด่น นุเรมรัมย์ (2549: ออนไลน์) กล่าวว่ากตัญญูหมายถึง ความรู้สึกสํานึกในอุปการคุณ หรือบุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมีต่อตนเอง กตเวทีหมายถึงการแสดงอก เพื่อการตอบแทนบุญคุณ กตัญญูกตเวทีหมายถึงการรู้บุญคุณและตอบแทนบุญคุณต่อคนอื่นหรือสิ่ง อื่นที่มีบุญคุณ

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 22) อธิบายว่า ความกตัญญูกตเวทีหมายถึงการที่ผู้เรียนปฏิบัติตนในการเอาใจใส่ดูและช่วยเหลือภารกิจการงาน ปฏิบัติตนตามที่สั่งสอนที่ถูกต้องและเหมาะสม ตอบแทนคุณของผู้มีพระคุณทั้งที่เป็นบุคคลและ สถาบัน

บราวเน (Browne. 1978: 102) กล่าวว่าความกตัญญูถือเป็น เครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้ครอบครัวและสังคมมีความสุขเพราะพ่อแม่ผู้ปกครองรู้จักหน้าที่ของ ตนเองด้วยการดูแลบุตรธิดาของตนอย่างดี ต่อจากนั้นบุตรธิดาจะรู้บุญคุณและดูและพ่อแม่ของตน เป็นการตอบแทน ทําให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข

วินเซนท์ (Vincent. 1985: 52) กล่าวว่าความกตัญญูคือการรับรู้ถึง บุญคุณของผู้ให้ความช่วยเหลือในทุกด้านและทุกเวลา ทั้งในฐานะพ่อแม่กับลูก ครูกับนักเรียน หรือ นายจ้างกับลูกจ้าง ทําให้สังคมมีความสงบสุข

กล่าวโดยสรุปความกตัญญูกตเวทีหมายถึงการรู้อุปการะที่ท่านทําให้แล้ว และตอบแทน แบ่งเป็นกตัญญู หมายถึงรู้คุณท่าน และกตเวที หมายถึงตอบแทนหรือสนองคุณท่าน ตามหลักการของพระธรรมปิฎก (2548: 2)

3.2 ลักษณะของบุคคลที่มีความกตัญญูกตเวที

กรมวิชาการ (2546: 15) ได้กําหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์และ พฤติกรรมของผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีว่ามีดังต่อไปนี้

1.ตระหนักในพระคุณครูและอาจารย์

2. มีสัมมาคารวะต่อครู-อาจารย์อย่างสมํ่าเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ธิดา เลิศพรประสบโชค (2546: 4) กล่าวถึงผู้มีความกตัญญูกตเวที

จะมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1.เคารพและเชื่อฟังคําสั่งสอนของพ่อแม่ ครู หรือผู้ปกครอง 2. ดูแลและช่วยเหลืองานบ้าน หรืองานโรงเรียนด้วยความเต็มใจ 3. แสดงมุทิตาจิตต่อผู้มีพระคุณเนื่องในโอกาสวันสําคัญต่างๆ ไตรรงค์ เจนการและคณะ (2548: 5) ให้ความเห็นว่าผู้มีความกตัญญู

กตเวทีมีคุณลักษณะดังนี้

1.อาสาช่วยงานพ่อแม่และผู้ปกครอง 2.อาสาช่วยเหลืองานครู อาจารย์

3.แสดงความนับถือยกย่องผู้มีพระคุณ 4.รักษาเกียรติและนําชื่อเสียงมาสู่ครอบครัว 5.ปฏิบัติตนให้ผู้มีพระคุณมีความสุขใจ อิ่มใจ

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 22) กล่าวถึง ประเด็นการพัฒนาแลการตรวจสอบผู้เรียนที่มีความกตัญญูดังนี้

1.การเคารพและเชื่อฟังผู้มีพระคุณ

2.การเอาใจใส่ดูแลช่วยเหลือผู้มีพระคุณและสถาบันอย่างเต็มใจ กล่าวโดยสรุปบุคคลที่มีความกตัญญูกตเวทีหมายถึงคนที่มีพฤติกรรม ดังต่อไปนี้ อาสาช่วยงานพ่อแม่และผู้ปกครอง อาสาช่วยเหลืองานครูและอาจารย์ แสดงความนับถือ ยกย่องผู้มีพระคุณ รักษาเกียรติและนําชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล และปฏิบัติตนให้ผู้มีพระคุณมี

ความสุขและอิ่มใจ ตามหลักการของไตรรงค์ เจนการ และคณะ (2548: 49) ตัวชี้วัด

1.ผู้เรียนอาสาพ่อแม่และผู้ปกครองทํางาน 2. ผู้เรียนอาสาช่วยเหลืองานครูและอาจารย์

3. ผู้เรียนนับถือ ยกย่องผู้มีพระคุณ

4. ผู้เรียนรักษาเกียรติและนําชื่อเสียงสู่โรงเรียนและวงศ์ตระกูล 4.ความเมตตากรุณา

4.1ความหมายชองความเมตตากรุณานักวิชาการ และนักการศึกษาหลาย ท่านให้ความหมายของความเมตตากรุณาไว้ดังนี้

วิจิตร ศรีสะอ้าน (2549: 27) กล่าวถึงความเมตตากรุณาว่าหมายถึง ความ ปรารถนาจะผู้อื่นมีความสุข ปราศจากความทุกข์ด้วยประการทั้งปวง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่นให้ลําบากเดือดร้อน

ธิดา เลิศพรประสบโชค (2546: 4) กล่าวว่าความเมตตากรุณาหมายถึง คุณลักษณะที่แสดงถึงความรู้สึกสงสาร เห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน รู้จักการแบ่งปัน และยินดีช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ

วิทยากร เชียงกูล (2552: 7) กล่าวว่าความเมตตากรุณาหมายถึงการรู้สึก ว่าเป็นมิตรกับเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก รู้สึกว่าคนเรามีอะไรเหมือนกันมากกว่าจะมองส่วนที่ต่างกัน

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 23) อธิบายว่า ความเมตตากรุณาหมายถึงการที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักให้และรับอย่างมี

เหตุผล และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม

วินเซนท์ (Vincent. 1985: 61) อธิบายว่าเมตตากรุณาหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้สุข ความสงสารให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

กล่าวโดยสรุปความเมตตากรุณาหมายถึงคุณลักษณะที่แสดงถึง ความรู้สึกสงสาร เห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน รู้จักการแบ่งปัน และยินดี

ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ตามหลักการของธิดา เลิศประสพโชค (2546: 4) 4.2 ลักษณะของบุคคลที่มีความเมตตากรุณา

ไตรรงค์ เจนการและคณะ (2548: 8) กล่าวถึงบุคคลที่มีความเมตตา กรุณาว่ามีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

1.แสดงความมีนํ้าใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่นด้วยความเต็มใจ 2.แสดงอาการทางกาย วาจาต่อผู้อื่นอย่างนุ่มนวล 3.ไม่เอาเปรียบผู้อื่น

4.ร่วมบริจาคทรัพย์สินเพื่อส่วนร่วม

5.เสียสละเวลาปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ธิดา เลิศประสพโชค (2546: 52) ได้ศึกษาถึงผู้มีความเมตตากรุณา พบว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้

1.บริจาคอาหารหรือสิ่งของแก่ผู้ประสบภัยต่างๆ 2.แบ่งปันอาหารและอุปกรณ์การเรียนแก่เพื่อน 3.รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน

4.ช่วยเหลือและห่วงเพื่อนหรือน้องที่เจ็บป่วย 5.ไม่รังแกสัตว์ที่อยู่บริเวณโรงเรียน

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 23) อธิบายถึง ประเด็นในการพัฒนา และตรวจสอบเกี่ยวกับความเมตตากรุณา ว่ามีดังนี้

1.ช่วยเหลือผู้อื่น

2.การรู้จักการให้และการรับอย่างมีเหตุผล 3.การเข้าร่วมกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม

วิกกินส์ (Wiggins. 1971: 22) กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้มีความเมตตา กรุณาว่ามีลักษณะดังนี้

1.เอื้ออาทรและช่วยเหลือเพื่อน่วมงาน

2.เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มความสามารถ

3.ให้คําแนะนําและช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อให้พ้นทุกข์และมีความสุข กล่าวโดยสรุปผู้มีความเมตตากรุณาจะเป็นบุคคลที่ชอบให้ความช่วยเหลือ ผู้อื่น รู้จักการรับและการให้อย่างมีเหตุผล และเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตาม หลักการของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 23)

ตัวชี้วัด

1.ผู้เรียนให้ความช่วยเหลือผู้อื่น 2.ผู้เรียนรู้จักรับและให้อย่างมีเหตุผล

3. ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 5.ความประหยัด

5.1 ความหมายของความประหยัด

นักวิชากร นักการศึกษาและพจนานุกรมได้ให้ความหมายของความประหยัดไว้ดังนี้

พจนานุกรมฉบับราบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน.

2542: 510) ได้ให้ความหายของความประหยัดว่าหมายถึงการใช้จ่ายแต่พอควรแก่ฐานะ ส่วนอด ออมหมายถึงประหยัด ถนอม

กรมวิชาการ (2546: 29) ให้ความหมายของความประหยัดว่า หมายถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ พฤติกรรมที่

แสดงออกได้แก่การวางแผนการเบิกจ่าย จัดทําบัญชีรายรับ-รายจ่ายเงิน วัสดุอุปกรณ์ในการใช้งาน ดัดแปลงของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เป็นต้น

พิไลลักษณ์ ทองรอด (2547: 37) กล่าวว่าความประหยัดหมายถึง พฤติกรรมด้านการประหยัดเงิน หมายถึงการรู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าให้

เหมาะสมกับรายรับ มีการออม ยับยั้งความต้องการของตนเองส่งผลให้ใช้เงินอยู่ในขอบเขตที่

เหมาะสม การประหยัดเวลา หมายถึงการรู้จักวางแผนด้านเวลาของตน และใช้เวลาให้เกิดประโยชน์

คุ้มค่าได้แก่การศึกษาเล่าเรียน ทําแบบฝึกหัด หาความรู้เพิ่มเติม ใช้เวลาในการนอน การทํางาน อดิเรก ช่วยเหลืองานบ้าน ชุมชนและสังคม การประหยัดสิ่งของเครื่องใช้โยชน์คุ้มค่าที่สุด

อนุศักดิ์ จินดา (2548: 24) กล่าวว่าความประหยัดหมายถึงการใช้สิ่ง ทั้งหลายอย่างพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ยอมให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการ รู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบ และขอบเขตพอเหมาะพอควร

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 24) ให้

ความหมายของความประหยัดว่าหมายถึงผู้เรียนมีพฤติกรรมการใช้เวลา เงิน และทรัพย์สินทั้งส่วน ตนและส่วนรวมตามความจําเป็นอย่างสมเหตุสมผล เกิดประโยชน์คุ้มค่า

กล่าวโดยสรุปความประหยัดหมายถึงผู้เรียนมีพฤติกรรมการใช้เวลา ใช้เงิน และทรัพย์สินทั้งของส่วนตัวและส่วนรวมอย่างสมเหตุสมผล และเกิดประโยชน์คุ้มค่า ตามหลักการ ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 24)

5.2ลักษณะของบุคคลที่มีความประหยัด

กรมวิชาการ (2546: 30) กล่าวถึงลักษณะของบุคคลที่มีความประหยัดไว้ดังนี้

1.ใช้วัสดุถูกต้องและเหมาะสมกับงาน 2. ปิดนํ้า ปิดไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อเลิกใช้

3.ใช้จ่ายเงินและสิ่งของส่วนรวมให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โสภา ศิริอุเทน (2548: 49) กล่าวถึงลักษณะของผู้มีความประหยัดไว้ดังนี้

1.คิดก่อนใช้จ่าย และจะซื้อเท่าที่จําเป็นเท่านั้น 2.ไม่แต่งตัวตามแฟชั่นใหม่ ๆ

3.ไม่ซื้อสินค้าที่มียี่ห้อเป็นที่นิยมและทันสมัย 4.เก็บออมเงินไว้บางส่วน

5.ไม่รับประทานอาหารตามร้านฟาสต์ฟูด 6.ไม่ซื้อหรือตัดชุดนักเรียนใหม่ทุกเทอม

ไตรรงค์ เจนการ และคณะ (2548: 9) ได้อธิบายถึงลักษณะของผู้มี

ความประหยัดไว้ดังนี้

1.ใช้ทรัพย์สินของตนเองอย่างประหยัด 2. ใช้ทรัพย์สินของส่วนรวมอย่างคุ้มค่า 3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4. ใช้นํ้าและไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า 5ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 24) กําหนด พฤติกรรมที่เป็นประเด็นในการพัฒนาและตรวจสอบสําหรับความประหยัดคือการใช้เวลา เงิน และ ทรัพย์สินทั้งส่วนตนและส่วนรวมให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า

อุไร ซิรัมย์ (2550: 7) กล่าวว่าผู้มีความประหยัดคือผู้รู้จักใช้

ทรัพย์สิน ทรัพยากร และสิ่งของเครื่องใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า รวมทั้งรู้จักดําเนินชีวิตให้เหมาะสม กับฐานะของตนเอง ไม่ฟุ่มเฟือย

กล่าวโดยสรุปผู้ที่มีความประหยัดหมายถึงการใช้เวลา เงิน และทรัพย์สิน ทั้งส่วนตนและส่วนรวมให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า ตามหลักการของสํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 24)

Garis besar

Dokumen terkait