• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

ภาพประกอบ 20 ตําแหน่งสุนัขจนตรอก

2. องค์ประกอบของพันธกิจ

การเขียนข้อความพันธกิจของสถานศึกษาควรครอบคลุมสระสําคัญดังนี้

2.1 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนและกระบวนการัดการเรียนการสอน และการบริการการศึกษาของสถานศึกษา

2.2 ผู้รับประโยชน์และบริการโดยตรงจากการดําเนินงานของโรงเรียนคือผู้เรียน 2.3 วิธีการดําเนินงานของโรงเรียนที่มุ่งสู่ความสําเร็จ

2.4 ประโยชน์ที่ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนที่ได้รับจากโรงเรียน 2.3 การกําหนดวัตถุประสงค์ของโรงเรียน (School Objective)

2.3.1 ความหมายของวัตถุประสงค์

ธงชัย สันติวงษ์ (2547: 32) ให้ความหมายของวัตถุประสงค์ว่า หมายถึงการ กําหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการจะไปให้ถึง

ศิริชัย กาญจนวาสี (2550: 18) กล่าวว่าวัตถุประสงค์ (Objective) หมายถึง ความ มุ่งหมายระยะสั้นที่มีขอบเขตที่เฉพาะขึ้น

ประชุม รอดประเสริฐ (2545: 6) ให้ความหมายขิงวัตถุประสงค์ว่าเป็นความมุ่ง มาดปรารถนาในระยะยาวของบุคคลหรือของหน่วยงาน

กิ่งพร ทองใบ (2549: 23) กล่าวว่าวัตถุประสงค์ หมายถึง จุดหมายปลายทางที่

องค์การแสวงหาเพื่อการบรรลุผล สําเร็จของการดําเนินงาน

จินตนา บุญบงการ: และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ (2548: 35) อธิบายว่า วัตถุประสงค์ หมายถึง สิ่งที่องค์การต้องการจะบรรลุภายใต้กําหนดเวลาที่แน่นอน

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2548: 24) ได้ให้ความหมายของวัตถุประสงค์ว่าเป็น ผลลัพธ์ขั้นสุดทายของกิจกรรมที่มีการวางแผนไว้ โดยระบุถึงสิ่งที่ต้องการ มักกําหนดในรูปตัวเลข หรือเป้าหมายในระยะสั้นที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้

บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ (2550: 45) กล่าว่าวัตถุประสงค์ หมายถึงสิ่งที่องค์การ ต้องการ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2550: 23) ให้ความหมายของวัตถุประสงค์คือ จุดหมายปลายทาง ที่องค์การแสวงหาเพื่อการบรรลุผลสําเร็จของการดําเนินงาน การอยู่รอดและการ พัฒนาขององค์การ

อุทิศ ขาวเธียร (2549: 24) กล่าวว่าวัตถุประสงค์หลักของแผนยุทธศาสตร์เป็น การแปลงวิสัยทัศน์และ พันธกิจ เป็นเกณฑ์ที่ต้องบรรลุในช่วงระยะเวลาของแผนฯ วัตถุประสงค์หลัก ของแผนฯ เป็นผลกระทบที่มุ่งหวังได้จากการพัฒนา ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี (แผนงานโครงการ) ต่างๆ ของแผนฯโดยสามารถวัดตรวจสอบได้จากการประเมินผล และหากประเมินได้ว่า การพัฒนาบรรลุ

เกณฑ์ที่กําหนดตามวัตถุประสงค์หลักก็อาจสรุปได้ว่า การพัฒนาเป็นไปในทิศทางที่วิสัยทัศน์และ ภายใต้เงื่อนไขที่พันธกิจได้กําหนดไว้

โดยสรุปแล้วเป้าประสงค์หมายถึงจุดมุ่งหมายปลายทางที่องค์การต้องการบรรลุผล เพื่อความสําเร็จของการดําเนินงานตามหลักการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2550: 23)

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2549: 23-240) กล่าวถึงความสําคัญ ของเป้าประสงค์ แนวทางการเขียนวัตถุประสงค์ รวมทังขั้นตอนการปฏิบัติงานและวิธีการดําเนินการตาม กําหนดวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา

2.3.2 ความสําคัญของเป้าประสงค์ของสถานศึกษา

1. แสดงเหตุผลของเป้าประสงค์ที่สามารถบรรลุผลได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง 2. ชี้นําลักษณะของแผนปฏิบัติงานและวิธีดําเนินกิจกรรม

3. เชื่อมโยงเป้าประสงค์ระดับสูงสุดถึงระดับล่างสุด

4. ประสานการตัดสินใจของหัวหน้าหน่วยงานย่อยๆ ของโรงเรียนให้สอดคล้องกัน และไม่ขัดแย้งกัน

5. เพื่อการปรับตัวต่อข้อจํากัดอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม

6.เป็นพื้นฐานสําหรับการประเมินผลทั้งด้านความสําเร็จของสถานศึกษา และการ ประเมินผลกระบวนการดําเนินการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับแผนการดําเนินงาน

2.3.3 แนวทางการเขียนเป้าประสงค์ของสถานศึกษา สถานศึกษาสามารถเขียนเป้าประสงค์ได้หลายวิธีดังนี้

1. ระบุระดับของสถานภาพและบทบาทเมื่อเทียบกับสถานศึกษาอื่นที่จัด การศึกษาระดับเดียวกัน

2. ระบุประสิทธิภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้หรือบริการทางการศึกษา 3. ระบุประสิทธิผลจาการนําวิธีการดําเนินงานใหม่มาใช้ในการจัดบริการทาง การศึกษา

4. ระบุปริมาณหรือขอบข่ายการให้บริการทางการศึกษาที่ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมาย

5. ระบุประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่สามารถวัดได้

6. ระบุถึงสํานึกชองความรับผิดชอบต่อสังคมที่สถานศึกษาตระหนักและยึดถือ ในระหว่างการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม

4.3 การสร้างกลยุทธ์

4.3.1 ความหมายของกลยุทธ์

นักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของกลยุทธ์ไว้ดังนี้

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และคณะ (2546: 16) กล่าวว่ากลยุทธ์ มาจากคําว่า

“Strategos” ในภาษากรีก ที่เกิดจากคําว่า “Stratos” ซึ่งหมายถึง “ Army” หรือกองทัพ ผสมกับคําว่า

“Agein” ซึ่งหมายถึง “ Lead” หรือ “นําหน้า” จึงทําให้นักวิชาการทางบริหารตีความว่า “Leading to total organization” หรือ “การนําทางให้องค์การโดยรวม” ซึ่งมีนัยยะทั้งเชิงจุดมุ่งหมายและวิธีการว่า ต้องการทํา”อะไร” ให้สําเร็จ และทํา”อย่างไร”

สมยศ นาวีการ (2547: 27) กล่าวว่ากลยุทธ์คือแผนระยะยาวที่องค์กรกําหนด ขึ้นมาเพื่อบรรลุพันธกิจและเป้าหมายขององค์กร กลยุทธ์จะต้องใช้ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันให้

ได้มากที่สุด และลดข้อเสียเปรียบทางการแข่งขันให้น้อยที่สุด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2549: 30-31) อธิบายว่ากลยุทธ์

หมายถึงวิธีการที่ใช้ในการปฏิบัติตามพันธกิจของสถานศึกษาที่เป็นไปได้ที่ส่งผลให้เกิดความสําเร็จ หรือบรรลุวิสัยทัศน์ของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549: 2) ให้ความหมายของ กลยุทธ์ว่าเป็นแผนที่คิด ขึ้นอย่างรอบคอบ มีลักษณะเป็นขั้นตอน มีความยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เอาชนะคู่แข่งขัน หรือเพื่อหลบหลีกอุปสรรค จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

เซอร์โตและปีเตอร์ (Certo; & Peter. 1991) ให้นิยามว่ากลยุทธ์หมายถึงการ กําหนดภารกิจตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว และการลงมือปฏิบัติตาม แผนที่ดําเนินการไว้เพื่อให้องค์กรสามารถดําเนินการได้ตามภารกิจและบรรลุถึงวัตถุประสงค์และ เป้าหมายที่กําหนด

พอล แซมวล ( Pual. 1983: 15) มีความเห็นว่ากลยุทธ์หมายถึงแผนงานรวมที่

เชื่อมโยงข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ขอองค์การเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อช่วยให้

องค์การอยู่รอดได้ภายใต้ความผันผวนของสภาพแวดล้อมต่างๆ กลยุทธ์ถูกกําหนดขึ้นและนํามาใช้

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ขอบเขตความสามารถที่มีอยู่ขององค์การนั้นๆ กลยุทธ์เป็น เครื่องมือทําให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์การ โดยสามารถนําจุดเด่นของแต่ละส่วนเข้ามาประสานเข้า ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ

พิทส์และเลล (Pitts; & Lel. 2000) เสนอแนะว่ากลยุทธ์หมายถึงแผนปฏิบัติการ หลักที่องค์กรนํามาใช้ทั้งระยะกลางถึงระยะยาว มีความสอดคล้องกับ พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย

(Goals) และวิสัยทัศน์ (Vision) สรุปได้ว่า กลยุทธ์หมายถึงวิธีการที่ใช้ในการปฏิบัติตามพันธกิจของสถานศึกษาที่

เป็นไปได้ที่ส่งผลให้เกิดความสําเร็จหรือบรรลุวิสัยทัศน์ของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ตาม หลักการของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2549: 30)

4.3.2 การสร้างกลยุทธ์

รังสรรค์ มณีเล็ก (2544: 57-65) กล่าถึงการสร้างกลยุทธ์สถานศึกษาว่าแบ่งออกได้

เป็นสองระดับคือ

1. กลยุทธ์หลักหรือกลยุทธ์รวม เป็นกลยุทธ์ของสถานศึกษาในภาพรวมที่

สอดคล้องและตอบสนองความต้องการตามผลการวิเคราะห์สถานภาพของสถานศึกษา หาก เปรียบเทียบกับทางธุรกิจ จะเทียบเท่ากับกลยุทธ์ระดับองค์กร

2 กลยุทธ์รอง หรือกลยุทธ์แผนงาน เป็นกลยุทธ์ของสถานศึกษาตามลักษณะงาน ภายในสถานศึกษา หากเปรียบเทียบกับทางธุรกิจ ถือเป็นกลยุทธ์ระดับธุรกิจและกลยุทธ์ระดับ หน้าที่ ปัจจุบันสถานศึกษาในแต่ละสังกัดถูกกําหนดให้มีหน้าที่แตกต่างหันไปตามธรรมชาติของ ความรับผิดชอบ

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2549: 64) อธิบายว่ากลยุทธ์

สถานศึกษาเป็นการเลือกวิธีการทํางานอย่างมีทิศทางที่เหมาะสมสอดคล้องสภาพแวดล้อมของ สถานศึกษา เพื่อให้สามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกําหนดกลยุทธ์ทําได้หลายวิธี

เช่นการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย โดยแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 4 ประเภทคือ

1. กลยุทธ์สร้างความเติบโต เป็นกลยุทธ์ที่เอื้อและแข็ง โดยขยายกิจการ หรอการดําเนินงานเพิ่มเติม

2. กลยุทธ์ความถนัด เป็นกลยุทธ์ที่เอื้อแต่อ่อน โดยเลือกดําเนินงาน เฉพาะที่มีความรู้ ความชํานาญ

3. กลยุทธ์รักษาเสถียรภาพ เป็นกลยุทธ์ที่ไม่เอื้อไม่แข็ง โดยเลือก ดําเนินงานที่กําลังดําเนินอยู่ไม่ขยายไปดําเนินงานอื่น

4. กลยุทธ์ตัดทอน เป็นกลยุทธ์ที่ไม่เอื้อและอ่อน โดยการทบทวนภารกิจ ในส่วนที่ทําประโยชน์ได้ อาจต้องถ่ายโอนให้คนอื่นดําเนินการแทน

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี.

2552: ออนไลน์) เสนอแนะถึงกระบวนการสร้างกลยุทธ์ดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัจจัยทางกลยุทธ์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT) 2. การกําหนดทิศทางองค์กร วิสัยทัศน์ พันธกิจ

3. การวิเคราะห์ประเด็นสําคัญ ประเด็นกลยุทธ์

ที่ช่วยให้บรรลุวิสัยทัศน์

4. กําหนดเป้าประสงค์ เป้าประสงค์

ของแต่ประเด็นกลยุทธ์

5. กําหนดตัวชี้วัด ตัวชี้วัด

6. กําหนดกลยุทธ์/วิธีทําให้บรรลุ กลยุทธ์

เป้าประสงค์

ทั้งนี้ ประเด็นกลยุทธ์ (Strategic Issue) หมายถึงสิ่งสําคัญที่ต้องพัฒนาเพื่อให้บรรลุ

วิสัยทัศน์

เป้าประสงค์หมายถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นภายใต้ประเด็นกลยุทธ์ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับ วิสัยทัศน์และประเด็นกลยุทธ์ และต้องครอบคลุมทั้ง 4 มิติคือมิติประสิทธิผลตามพันธกิจ มิติ

คุณภาพการให้บริการ มิติประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และมิติการพัฒนาองค์กร

ตัวชี้วัดหมายถึงตัวแทนของสิ่งที่เป็นนามธรรมที่แสดงผลเป็นค่าประเมิน หรือเป็น ตัวแทนบ่งบอกความสําเร็จของงานที่ครอบคลุมผลผลิตและผลลัพธ์

สมควร ทรัพย์บํารุง (2553ข: 3) เสนอแนะองค์ประกอบของการจัดทํากลยุทธ์ไว้ดังนี้

1.การวิเคราะห์ปัจจัยทางกลยุทธ์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค 2.การกําหนดทิศทางหน่วยงาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

3.การวิเคราะห์ประเด็นสําคัญ ประเด็นกลยุทธ์

ที่จะบรรลุวิสัยทัศน์

Garis besar

Dokumen terkait