• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

ภาพประกอบ 7 องค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์

ที่มา: สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2549). การบริหารเชิงกลยุทธ์ : คัมภีร์สู่ความเป็นเลิศ ในการบริหารการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. หน้า 50.

การวิเคราะห์

สภาพแวดล้อมภายนอก

การวิเคราะห์

สภาพแวดล้อมภายใน

ทางเลือกเชิงกลยุทธ์

(Strategic Choice)

การนํากลยุทธ์ไปดําเนินการ (Strategic Implementation) การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์

(Strategic Analysis)

การประเมินทางเลือก โครงสร้างองค์กร

การกําหนดทางเลือกที่แน่นอน การพัฒนาคนและระบบ

การสร้างทางเลือก การวางแผนทรัพยากร

การวิเคราะห์ค่านิยม

ทศพร ศิริสัมพันธ์ (2549: ออนไลน์) กล่าวว่า กระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์

(Strategic management process) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือการกําหนดกลยุทธ์ การนํากลยุทธ์

ไปปฏิบัติและการควบคุมประเมินผล ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การกําหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) เป็นการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันโดยใช้

เทคนิค SWOT Analysis เพื่อกําหนดองค์ประกอบต่อไปนี้

1.1 วิสัยทัศน์ (Vision)

1.2 ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) 1.3 เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด (Goal: KPI and Target) 1.4 กลยุทธ์ย่อย (Strategies)

2.การนํากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategy implementation) ซึ่งกิจกรรมจะ ประกอบด้วย

2.1 การจัดทําแผนปฏิบัติการ (Action plan)

2.2 การประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการ (Risk assessment and management

2.3 การจัดทําข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for change) ในด้าน 2.3.1 ด้านโครงสร้าง (Structure)

2.3.2 ด้านกระบวนงานและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Process and information Technology)

2.3.3 ด้านบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กร (People and culture) 2.3.4 ด้านกําหนดระเบียบหรือแนวปฏิบัติ (Rule and regulation)

3. การควบคุมและประเมินผล (Strategic control) เป็นการกํากับ ติดตาม และ ประเมินผลการดําเนินงานตามกลยุทธ์ที่กําหนดขึ้น เพื่อการตัดสินใจทีจะดําเนินการต่อไปหรือล้มเลิก การดําเนินการตามกลยุทธ์

สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน (2552: 5-6) กล่าวถึงขั้นตอนในการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Stages of strategic management) ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ 3 ขั้นตอนคือการสร้างกลยุทธ์ การนํากลยุทธ์

ไปปฏิบัติ และการประเมินกลยุทธ์ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างกลยุทธ์ หมายถึงการพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) ค้นพบโอกาสและอุปสรรคจากภายนอก พิจารณาจุดแข็งจุดอ่อนจากภายใน ตั้ง วัตถุประสงค์ระยะยาว กําหนดกลยุทธ์ทางเลือกและเป็นการเลือกกลยุทธ์เฉพาะที่จะปฏิบัติ โดยต้อง ตัดสินใจว่ากลยุทธ์ใดจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด กลยุทธ์ต่างๆ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ใน ระยะยาว จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงต้องมีมุมมองที่ดีที่สุดที่จะเข้าใจปัญหาที่เกี่ยวข้องในการ ตัดสินใจเลือกกลยุทธ์เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการของแผนกลยุทธ์ หมายถึงการกระตุ้นให้ผู้จัดการและ พนักงานนํากลยุทธ์ที่พัฒนาไว้ไปปฏิบัติ นับเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติต้องการ วินัย คํามั่นสัญญาและการเสียสละส่วนบุคคล และการประสบผลสําเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้บริหารที่จะจูงในบุคลากร กลยุทธ์ที่สร้างไว้หากมิได้มีการนําไปปฏิบัติจะไม้เกิดประโยชน์อะไรเลย ดังนั้นทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงมีความสําคัญต่อความสําเร็จของการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินกลยุทธ์เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการบริหารเชิงกลยุทธ์

ผู้บริหารต้องทราบว่าเมื่อใดที่กลยุทธ์เฉพาะไม่สามารถทํางานได้ดี การประเมินกลยุทธ์เป็นวิธีที่ดี

ที่สุดในการได้สารสนเทศ กลยุทธ์ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงในอนาคต เนื่องจากปัจจัย ภายในกับภายนอกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กิจกรรมการประเมินกลยุทธ์มีพื้นฐานสามประการคือ

3.1 การทบทวนปัจจัยภายในและภายนอกซึ่งเป็นพื้นฐานของของกลยุทธ์ปัจจุบัน 3.2 การวัดผลงาน

3.3 การใช้มาตรการแก้ไขให้ถูกต้อง

จอมพงศ์ มงคลวานิช (2554: 67-68) กล่าวถึงการบริหารเชิงกลยุทธ์ว่ามุ่งเน้นความสําเร็จของ องค์การโดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมเป็นสําคัญ และหาแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวมา เป็นจุดเด่นที่สําคัญในการแข่งขัน การบริหารเชิงกลยุทธ์ระกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ได้แก่

1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ (Internal and external environment analysis) เป็นขั้นตอนที่มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่ง การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม เพราะผู้บริหารสามารถนําผลการวิเคราะห์ไปกําหนดพันธกิจและเป้าหมายเชิงกล ยุทธ์ ตลอดจนสร้างกลยุทธ์ระดับต่างๆ ขององค์การ

2. การกําหนดพันธกิจและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Mission and strategic goal identification) เป็นการกําหนดกรอบการดําเนินงานและเป้าหมายที่องค์การประสงค์จะไปถึง โดย กระทําบนพื้นฐานของเหตุและผลของความเป็นจริง ภายใต้สภาแวดล้อมขององค์การ หากองค์การ ใดตั้งพันธกิจและเป้าหมายโดยขาดการพิจารณาสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ย่อมนําไปสู่ความคิด เป้าหมายและแนวทางดําเนินการที่เลื่อนลอย และนําไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด

3. การสร้างกลยุทธ์ (Strategy formulation) การสร้างกลยุทธ์เป็นการนําพาองค์การ ไปสู่เป้าหมายที่กําหนดซึ่งผู้บริหารจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสําคัญกับกลยุทธ์ทีเลือกใช้เนื่องจาก การเลือกกลยุทธ์ผิดหรือไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การอาจนํามาซึ่ง ปัญหาและความล้มเหลวในที่สุด การบริหารเชิงกลยุทธ์มีกลยุทธ์หลายระดับที่องค์การจําเป็นต้อง เลือกใช้ และในแต่ละระดับยังมีกลยุทธ์ย่อยอีกหลายรูปแบบที่เลือกใช้ได้ ผู้บริหารที่มีส่วนกําหนด ทิศทางองค์การทุกระดับต้องศึกษากลยุทธ์ระดับต่างๆ เพื่อจะได้เลือกให้เหมาะสมต่อไป

4. การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy implementation) เมื่อองค์การกําหนดกลยุทธ์

ด้วยการกําหนดทิศทางขององค์การที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทุกระดับคือกลยุทธ์ระดับองค์การ กลยุทธ์ระดับธุรกิจ และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ ตามพันธกิจและเป้าหมายขององค์การแล้ว

ผู้บริหารต้องนํากลยุทธ์นั้นไปปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนงานที่เกิดขึ้น องค์การที่ไม่สามารถนํากลยุทธ์

ไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมย่อมเกิดปัญหาทางด้านการบริหารจัดการไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่

ต้องการ

ทั้งนี้ การนําเป้าหมายไปปฏิบัติผู้บริหารต้องคํานึงถึงปัจจัยหลัก 4 ประการคือ การ ประสานสอดคล้องภายในองค์การ การเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นําของผู้บริหาร และการจูงใจ

5. การประสานสอดคล้องภายในองค์การ (Organizational Alignment) ปัจจัยต่างๆ ที่

ผู้บริหารต้องพิจารณาให้เกิดการประสานสอดคล้องกันประกอบด้วยปัจจัย 7 ประการคือกลยุทธ์

(Strategy) โครงสร้าง (Structure) ระบบต่างๆ ขององค์การ (Systems) การจัดคนเข้าทํางาน (Staffing) สไตล์การทํางาน (Style) และคุณค่าร่วมกันของสมาชิกในองค์การ (Shared value) ปัจจัย ทั้งหมดต้องดําเนินการสอดคล้องกับกลยุทธ์และสอดคล้องซึ่งกันและกัน

6. การเปลี่ยนแปลง (Change) การเปลี่ยนแปลงปัจจัย 7 ประการข้างต้นให้เป็นไป ตามกลยุทธ์และความประสงค์ ซึ่งปัจจัยบางประการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ขณะที่ปัจจัยบาง ประการเปลี่ยนแปลงได้ยากต้องใช้เวลายาวนาน ปัจจัยที่มีความละเอียดอ่อนสูงเปลี่ยนแปลงได้ยาก ที่สุด ส่วนปัจจัยที่มีความชัดเจนสูงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายที่สุด

7. ภาวะผู้นําของผู้บริหาร (Leadership) การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ ภาวะผู้นํามีบทบาท สําคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนปัจจัย 7 ประการ มีการประสานสอดคล้องกัน ผู้นําต้องทราบว่าตนเองมี

อํานาจอะไร และควรใช้อํานาจอะไรในการเปลี่ยนแปลงตามที่กําหนด ผู้นํายังต้องกําหนดบทบาท และแสดงพฤติกรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

8. การจูงใจ (Motivation) หมายถึงการทําให้บุคลากรยินดีปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็ม ความรู้ความสามารถด้วยความเต็มใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ในการยุทธศาสตร์ไปปฏิบัตินี้

การจูงในมีความสําคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากกรณีที่องค์การมีกลยุทธ์ใหม่ และจะนํากลยุทธ์ใหม่ไป ปฏิบัติ ย่อมทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจทําให้เกิดความไม่พอใจ แก่บุคลากรในองค์การ ผู้บริหารจึงจําเป็นต้องจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตากลยุทธ์ที่วางไว้

9. การควบคุมและประเมินผล (Controlling and evaluation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของ กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ กล่าวคือเมื่อองค์การได้นํากลยุทธ์ไปปฏิบัติแล้ว จําเป็นต้องกําหนด วิธีการควบคุม ติดตามผลการปฏิบัติงาน ตรวจสอบ ตลอดจนประเมินผลเพื่อตรวจสอบว่ากลยุทธ์ที่

นําไปใช้ บรรลุผลสําเร็จได้มากน้อยเพียงใด ประสบปัญหา ตลอดจนประเมินผลเพื่อตรวจสอบว่ากล ยุทธ์ที่ได้นําไปใช้นั้น บรรลุผลสําเร็จได้มากน้อยเพียงใด ประสบปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้าง จําเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือไม่ จําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีนํากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติหรือไม่

ตลอดจนมีข้อเสนอแนะอื่นใดที่ควรบันทึกไว้เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป

เดสส์และมิลเลอร์ (Dess; & Miller. 1993: 11) กล่าวถึงกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ว่า เป็นการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์เพื่อกําหนดกลยุทธ์ที่ดี ต่อจากนั้นเป็นการปฏิบัติตามกลยุทธ์ โดยได้

แบ่งกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ไว้ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Analysis)เป็นพื้นฐานของการกระบวนการ บริหารเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1.1 เป้าหมาย(Goals) และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Goals) เป็นการ กําหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจและวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นจุดหมายในการใช้ความพยายามขององค์การ เพื่อให้เป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นการนําไปสู่กลยุทธ์

1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่

ประสบความสําเร็จขึ้นอยู่กับจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness) ภายในโรงเรียนให้

เหมาะสมกับโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) จากสภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วยการวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรค สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วยจุดแข็งและ จุดอ่อน ซึ่งมีการวิเคราะห์ดังนี้

1.2.1 โอกาสและอุปสรรคภายนอก (External opportunities and threats) สิ่ง สําคัญในการบริหารเชิงกลยุทธ์คือโอกาสและอุปสรรคจากภายนอกเช่น ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านประชากรศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านการเมืองและ รัฐบาล แนวโน้มทางการแข่งขันและเหตุการณ์ โอกาสและอุปสรรคที่อยู่เบื้องหลังองค์การที่ไม่

สามารถควบคุมได้

1.2.2 จุดแข็งและจุดอ่อนภายใน (Internal strengths and weaknesses) เป็น กิจกรรมที่สามารถควบคุมได้ภายในองค์การซึ่งทําให้มีลักษณะดีและไม่ดี องค์การสามารถใช้จุดแข็ง ในการกําหนดกลยุทธ์ และขณะเดียวกันปรับปรุงจุดอ่อนและจุดแข็งต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันคือ ถ้าดีกว่าถือว่าเป็นจุดแข็ง ถ้าด้อยกว่าถือว่าเป็นจุดอ่อน

2. การกําหนดกลยุทธ์ (Strategy formulation) กลยุทธ์ (Strategy) เป็นวิธีการเพื่อให้

บรรลุวัตถุประสงค์ระยะยาว การวิเคราะห์กลยุทธ์ที่สมเหตุสมผลแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ดังนี้

2.1 กลยุทธ์ระดับองค์การ (Cooperate level strategy) เป็นกระบวนการกําหนด ลักษณะ และจุดมุ่งหมายขององค์การ ได้แก่การลงทุน การดําเนินการ การพัฒนาปรับปรุงองค์การ

2.2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่แสวงหาวิธีการ แข่งขันคือข้อได้เปรียบ ความเป็นผู้นําด้านต้นทุน การปรับตัวที่รวดเร็ว และการมุ่งที่ลูกค้ากลุ่มเล็ก 2.3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Function level strategy) เป็นการสร้างข้อได้เปรียบ สําหรับการแข่งขันซึ่งเป็นสาเหตุให้องค์การประสบความสําเร็จขึ้นอยู่กับคุณค่า (Value chain) โดย คํานึงถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการส่งมอบคุณค่าแก่ผู้รับบริการ

3. การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategic Implementation) และการควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic control) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ที่กําหนดให้เป็นกลยุทธ์ที่เป็นจริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

3.1 การบูรณาการ (Integration) หมายถึงการที่บุคลากรในองค์การทํางานร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพ

Garis besar

Dokumen terkait