• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

ภาพประกอบ 16 กระบวนการบริหารจัดการกลยุทธ์

6. ทศพร ศิริสัมพันธ์

7. สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน 8. จอมพงศ์ มงคลวานิช

9. เซอร์โตและปีเตอร์ (Certo ; & Peter) 10. เดสส์และมิลเลอร์ (Dess ; & Miller)

11. ฮิตต์ ไอร์แลนด์ และฮอสคิสสัน (Hitt, Ireland; & Hoskisson) 12. พิทส์ และเรล (Pitts; & Lel)

13. แบลค และ พอร์เตอร์ (Black; & Porter) 14. สไครบ์เนอร์ (Scribner)

15. ทอมสันและสตริคแลนด์ (Thompson; & Strickland) 16. เดวิด(David)

17 เพิร์ช โรบินสัน และริชาร์ด (Pearce; Robinson; & Richard) 18. วีลเลนและฮังเกอร์ (Wheelen; & Hunger )

19. แฮริสัน และเซนต์จอห์น (Harrison; & St. John)

ผลการสังเคราะห์ตาราง 2 เกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการ บริหารกลยุทธ์ซึ่งประกอบด้วย1.การสร้างกลยุทธ์ และ2.การนํากลยุทธ์ไปใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่

ต้องการ ผู้วิจัยพิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการบริหารกลยุทธ์ที่มีผู้เชี่ยวชาญมีความเห็น สอดคล้องกันตั้งแต่ 9 คน ขึ้นไป โดยเลือกแนวคิดของเซอร์โตและปีเตอร์ (Certo;&Peter. 1991) เป็นหลัก ดังนี้

1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ (SWOT Analysis) เพื่อประเมิน สภาพแวดล้อมภายในองค์การ ได้แก่ จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness) และ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) การจัดทํา SWOT Matrix Analysis

2. การกําหนดทิศทางองค์การ (Establishing Organizational Direction)ด้วยการ กําหนด วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission)

3. การกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation) และการตรวจสอบกลยุทธ์ (Strategy Evaluation)

4. การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)

5. การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control) โดยการติดตามผลการปฏิบัติ/ทดลองใช้

และทําการประเมินผลกระบวนการ และผลสําเร็จการใช้กลยุทธ์

4.4 การสร้างกลยุทธ์สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้วิจัยได้ศึกษากระบวนการสร้างกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการสังเคราะห์

หลักการแนวคิดทฤษฎี และการปฏิบัติที่ดี ในการบริหารกลยุทธ์ (การสร้างกลยุทธ์ขั้นตอน 1-3 และ การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ ขั้นตอน 4-5) ของนักกลยุทธ์และนักการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ จํานวน 19 คน แล้วนําผลในส่วนการสร้างกลยุทธ์มาประยุกต์ใช้เนื่องจากสถานศึกษาถือเป็น องค์การประเภทหนึ่ง โดยเลือกแนวคิดของเซอร์โตและปีเตอร์ (Certo; & Peter. 1991) เป็นหลัก ดังต่อไปนี้

1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ (SWOT Analysis) การทํา SWOT Matrix Analysis

2. การกําหนดทิศทางองค์การ (Establishing Organizational Direction)ด้วยการ กําหนด วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission)

3. การกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation) จาก แผนที่กลยุทธ์ และการตรวจสอบ กลยุทธ์ (Strategy Evaluation) ด้วยการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์

4. การนํายุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) 5.. การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control)

ทั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาเฉพาะการสร้างกลยุทธ์สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 1-3 เท่านั้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (SWOT Analysis)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) เป็นการประเมินวิเคราะห์

สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อประเมิน จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ทั้งนี้การวิเคราะห์ SWOT จะถูกใช้เป็นรากฐานของการ กําหนดกลยุทธ์เพื่อบรรลุภารกิจและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาโดยข้อมูลที่รวบรวมได้จากการ วิเคราะห์อาจจะเสนอแนะว่าสถานศึกษาควรจะเปลี่ยนแปลงภารกิจ วัตถุประสงค์ นโยบาย หรือกล ยุทธ์ขององค์การ (สมยศ นาวีการ. 2547: 27)

ทั้งนี้มีนักวิชาการและนักการศึกษาได้เสนอแนะเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ดังนี้

รังสรรค์ มณีเล็ก (2544: 34-35) เสนอแนะว่าการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม สถานศึกษา ควรพิจารณาจากองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1.การศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษา

การหาจุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษา พิจารณาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อาทิ จากระบบข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษา จากชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการ สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและนักเรียน

ประเด็นที่จะนํามาศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อน โดยศึกษาปัจจัย (Input) และ กระบวนการดําเนินงาน (Process) โดยพิจารณาดังต่อไปนี้

1.1 บุคลากร (Man) โดยพิจารณาว่าสถานศึกษามีครู และบุคลากรในชุมชนมา ช่วยจัดกิจกรรมในสถานศึกษาอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเพียงใด

1.2 เงิน (Money) โดยพิจารณาว่าสถานศึกษามีเงินเพียงพอที่จะนําไปใช้ในการ บริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร

1.3 วัสดุอุปกรณ์ (Materials) โดยพิจารณาว่ามีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอและมี

คุณภาพเพียงพอต่อการนําไปใช้งานของสถานศึกษาหรือไม่อย่างไร

1.4 การบริหารจัดการ (Management) โดยพิจารณาว่าการจัดโครงสร้าง การ บริหารสถานศึกษามีความเหมาะสม หรือควรปรับปรุงอย่างไร

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) มีประเด็นที่จะนํามา พิจารณาดังนี้

1. โครงสร้าง (Structure) ได้แก่ลําดับขั้นตอนของการบังคับบัญชา การสื่อสาร ภายในองค์กร และการมอบหมายงาน

2. วัฒนธรรม (Culture) ได้แกความเชื่อ ความคาดหวัง และค่านิยมของบุคคลใน หน่วยงาน

3. การบริการ (Service) ได้แก่การให้บริการ การอํานวยความสะดวกของ หน่วยงาน

4. ทรัพยากร (resource) ได้แก่ปริมาณและคุณภาพของบุคลากร งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์

5. ผลผลิต (Output) ได้แก่ปริมาณและคุณภาพของนักเรียนที่จบการศึกษาจาก สถานศึกษา

Garis besar

Dokumen terkait