• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

1.1 ผลการเรียนที่สะสมมา

3.1.1 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม

3.1.1.1 หลักการและวัตถุประสงค์ทางการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการบรูไน ดารุสซาลาม มีพันธกิจหลักในการผลิตเยาวชนรุ่น ใหม่ที่สามารถจรรโลงอุดมการณ์และแรงบันดาลใจของประเทศในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการ แข่งขันสูง สําหรับเป้าหมายสูงสุดคือส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์คือรักการเรียนรู้

ตลอดชีวิตที่มีความมั่นใจและมีความคิดสร้างสรรค์ เยาวชนในอนาคตต้องมีพลวัตร มีความรู้ และ ทักษะที่จําเป็นต่อการแข่งขัน และเป็นชาวบรูไน ดารุสซาลามและชาวโลกที่ประสบความสําเร็จ เห็น คุณค่าของสาธารณูปโภค และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของชาติ (Ministry of Education. Of Brunei Darussalam. 2008)

ระบบการศึกษาใหม่ของบรูไน ดารุสซาลาม เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2552 โดยมี

วัตถุประสงค์เพื่อเตรียมผู้เรียนสําหรับศตวรรษที่ 21 โดยมียุทธศาสตร์สําคัญคือการเตรียมทักษะและ ความรู้ที่จําเป็นเพื่อสร้างผู้เรียนให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ

ขณะเดียวกันยังคงไว้ซึ่งความจงรักภักดีและความผูกพันต่อประเทศชาติในฐานะพลเมืองที่มีความ รับผิดชอบต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม และคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนและของโลก (International Bureau of Education.-IBE. 2011a: Online) โดยมีจุดเน้นดังนี้

1.เติมเต็มความหวังและความท้าทายในการพัฒนาประเทศและประชากร ในช่วงศตวรรษที่ 21 นักเรียนในฐานะผู้นําแห่งอนาคตจะต้องมีความรู้และทักษะ รวมถึงค่านิยมและ ทัศนคติที่ถูกต้องเพื่อก้าวทันความต้องการของสังคมในอนาคตที่เปลี่ยนไป อีกทั้งตอบสนองความ ต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย

2.ตระหนักรู้ถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจของกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ

การศึกษาที่มีคุณภาพที่มุ่งสู่ความเป็นชาติที่พัฒนา สันติสุข และเจริญรุ่งเรือง และการจัดการศึกษา ในองค์รวมเพื่อบรรลุถึงศักยภาพสูงสุดของปวงชน

3.ส่งเสริมการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดหาอุปกรณ์ที่

จําเป็น คณาจารย์และนักฝึกอบรมแก่โรงเรียนและสถาบันการศึกษา นอกจากนี้วัตถุประสงค์หลัก ประการหนึ่งของแผนพัฒนาระยะยาว พ.ศ. 2578 ของบรูไน ดารุสซาลาม ที่เริ่มใช้เมื่อพ.ศ.2551 ว่าการ สร้างประชากรที่มีการศึกษา ทักษะและประสบความสําเร็จ ต้องระบบการศึกษาชั้นหนึ่งที่สร้างโอกาส สําหรับพลเมืองทุกคนที่สอดรับกับเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรดเร็ว ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ด้านกีฬาและศิลปะ ทั้งหมดนี้ต้องการกลยุทธ์ทางการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อม เยาวชนสําหรับการจ้างงาน และความสําเร็จในโลกที่มีการแข่งขันและตั้งอยู่บนการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันความตระหนักรู้ถึงความจําเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง ประเทศบรูไน ดารุสซาลามได้

ยกระดับคุณค่าที่เป็นพื้นฐานของความมั่นคงทางการเมือง ความเจริญรุ่งเรืองทางสังคม ด้วยการ สร้างการยอมรับในศรัทธาต่อศาสนาอิสลาม ความอดทนใจเย็น ความรักและความสมานฉันท์ทาง สังคม

3.1.1.2.หลักสูตรการศึกษา

ในปี พ.ศ. 2548 คณะกรรมการทบทวนระบบการศึกษาแห่งชาติได้กําหนด หลักการทบทวนและปรับปรุงระบบการศึกษาใหม่ ทั้งนี้คณะกรรมการได้เสนอให้อนุมัติระบบ การศึกษาใหม่ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2550-2554 ที่

เรียกว่า Sistem Pendidikan Negara Abad Ke 21 (SPN 21) หรือ ระบบการศึกษาแห่งชาติสําหรับ ศตวรรษที่ 21 (Ministry of Education of Brunei Darussalam. 2006: 10)

ระบบการศึกษาแห่งชาติสําหรับศตวรรษที่ 21 (SPN 21) ถูกนํามาใช้ในปี

พ.ศ. 2552 และคาดหวังว่าจะถูกนํามาใช้ในระบบการศึกษาทุกระดับอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2555 เพราะมีลักษณะเด่นคือการสร้างชาติและทุนมนุษย์ รวมทั้งเสนอแนวทางการบรรลุการจัดการศึกษาที่มี

คุณภาพด้วยการจัดหลักสูตรการศึกษาที่สมดุล มีความสอดคล้อง และแตกต่าง ที่เทียบเคียงกับการ ประกันคุณภาพการศึกษา และระบบการประเมินผลตามมาตรฐานนานาชาติ ความมุ่งหมายของ โครงสร้างระบบการศึกษาแห่งชาติฯ คือการทําให้ระบบการศึกษาเหมาะสมกับผู้เรียน และส่งเสริม ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาสําเร็จการศึกษาในระยะเวลาน้อยลง ( 4 ปี)

หลักสูตรของระบบการศึกษาแห่งชาติในศตวรรษที่ 21 ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนทั้งหมด ตัวแบบของหลักสูตรมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ผู้เรียนอย่างรอบด้าน การส่งเสริมจุดแข็งและความสามารถ และการจัดการศึกษาที่สมดุลที่เอื้อให้

นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังเสริมสร้างการเชื่อมโยง และความต่อเนื่องระหว่างหลักสูตรการศึกษาจากระดับปฐมวัยไปยังระดับมัธยมศึกษาได้อย่าง เหมาะสม (IBE. 2011a: Online)

หลักสูตรของระบบการศึกษาแห่งชาติในศตวรรษที่ 21 แสดงถึงภาพรวมของ การออกแบบหลักสูตรบนพื้นฐานของวิสัยทัศน์และพันธกิจของกระทรวงศึกษาธิการที่กล่าวว่าการ เรียนรู้เป็นความต่อเนื่อง และวัตถุประสงค์ที่จําเป็นของการเรียนการสอนคือการบ่มเพาะความรอบรู้

ของผู้เรียน ยกระดับการพัฒนาและทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการเตรียมนักเรียนในด้าน ทักษะการตลาดที่จําเป็น ขอบเขตการเรียนรู้หลักจะเป็นฐานเพื่อต่อยอดความรู้ ทักษะและค่านิยมใน ขั้นสูง โดยสาระการเรียนรู้ที่จัดสอนได้แก่ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยาและ สังคมศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม เทคโนโลยี ความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม และระบบกษัตริย์ของ มาเลย์อิสลาม และพลศึกษาและสุขภาพ รวมถึง ICT การงานอาชีพ ที่แทรกในทุกวิชาในหลักสูตร หลักสูตรเสริม (co-curriculum) และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชน (IBE. 2011a: Online)

การเรียนรู้หลักในทุกวิชามุ่งเน้นการบ่มเพาะนักเรียนเพื่อให้เป็นมี

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนมีความสมดุลทั้งในด้านความรู้ มีทักษะ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ ความคิดสร้างสรรค์ รู้จัก การทํางานเป็นทีม มีสุขอนามัยดีทั้งกายและใจ รวมถึงความรู้ทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจสังคม และ เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

กระทรวงศึกษาธิการบรูไน ดารุสซาลาม ได้ให้ความสําคัญต่อหลักสูตรเพราะเป็น การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านการวางแผนที่บูรณาการคุณค่าและวัตถุประสงค์ในลักษณะ กว้างๆ โดยนักเรียนทั้งหมดต้องมีความรู้และความเข้าใจที่เหมาะสม และทักษะที่จําเป็นและค่านิยมใน การมีส่วนร่วมและเติบโตในโลกที่เปลี่ยนแปลงในสหัสวรรษใหม่ ความรู้และความเข้าใจจะครอบคลุม เนื้อหาความรู้ที่สร้างความมั่นใจว่าผู้เรียนจะมีพื้นฐานความรู้ข้ามสาขาวิชาที่ดี ทักษะที่จําเป็นได้แก่

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เชื่อมโยงกับความรู้ที่เกี่ยวข้องและการปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมที่

ถูกต้องจะกลายเป็นหลักการของการศึกษาตลอดชีวิตและการจ้างงานในโลกที่ก้าวหน้าและท้าทาย ทั้งนี้

ทักษะที่ต้องการปลูกฝังแก่ผู้เรียนประกอบด้วย การสื่อสาร ( 4 ทักษะ) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการคิดวิเคราะห์วิจารณ์และความคิดสร้างสรรค์การตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ทักษะการ จัดการตัวเอง และทักษะการแข่งขัน ทักษะการเรียนรู้และการทํางาน ทักษะความร่วมมือสังคม พล ศึกษา และ สุนทรียภาพ นอกจากนี้ยังมีปรัชญาและจริยธรรม ในกรอบดังกล่าวคือความรู้สึก ภูมิใจในตนเอง ความเคารพ ความรู้สึกร่วม และความชื่นชม ความไว้วางใจและความเป็นอิสระ ความอดทนและการเคารพซึ่งกันและกัน ความใส่ใจ ความมีคุณธรรม ความรักชาติ ความเลื่อมใสใน ศาสนา ความสามารถในการแข่งขัน และความผูกพัน (MOE of Brunei Darussalam. 2008) ผลลัพธ์ของการเรียนรู้คือสิ่งที่ผู้เรียนจะรู้และสามารถกระทําได้ซึ่งเกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นที่ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้เรียน ขณะเดียวกันก็ถูกใช้เป็นแนวทางของสาระ วิชา การสอนและการประเมินผลที่ระบุว่าสิ่งใดควรเรียนรู้ ไม่ต้องเรียนรู้ หรือเรียนรู้ใหม่ ผลลัพธ์ของ การเรียนรู้จะถูกถ่ายโอนไปยังผู้เรียนว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์อะไรบ้าง ความก้าวหน้าของผู้เรียนจะ สามารถสังเกต วัด เพื่อยืนยันทักษะ ความรู้ ความเข้าใจที่จําเป็นควบคู่กับทัศนคติและค่านิยมที่

ถูกต้อง บทเรียนที่ใช้สอนต้องมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ต้องบรรลุ และต้องเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ของการ เรียนรู้เนื้อหาสาระวิชาที่เอื้อต่อความสําเร็จจะถูกตัดสินใจเมื่อวัตถุประสงค์ถูกกําหนดขึ้นอย่างชัดเจน

หลักสูตรของระบบการศึกษาแห่งชาติฯให้ความสําคัญกับความแตกต่างของ ความสามารถและรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งส่งเสริมให้สถานศึกษาสร้างสภาพแวดล้อมการ เรียนรู้ที่มีประสิทธิผล หลักสูตรที่แตกต่างจะถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความสามารถและสมรรถนะของผู้เรียน พร้อมสาระการเรียนรู้ประกอบด้วยสาระเรียนรู้แกนกลาง (จําเป็นต้องทํา) สาระเรียนรู้ระดับกลาง (ควรทํา) และสาระเรียนรู้เพิ่มเติม (ควรทํา) ครูจะได้รับสนับสนุนให้ใช้ ICT อย่างเต็มศักยภาพ และการจัดที่นั่ง อย่างหลากหลาย วัสดุการสอนที่เป็นรูปธรรม แผนภาพและแผนภูมิ หนังสือพิมพ์ และอุปกรณ์การ เรียนการสอนเพื่อช่วยให้ชั้นเรียนน่าสนใจ กิจกรรมการปฏิบัติควรครอบคลุมถึงการใช้เกมส์ การสวม

Garis besar

Dokumen terkait