• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

กรอบแนวคิดการวิจัย

เวลา 3 ปีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4. มีทักษะในการเรียนรู้

1.3 ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีวัตถุประสงค์หลักคือการพัฒนาให้ผู้เรียน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสื่อสารได้ตามสถานการณ์จริง ดังที่นักวิชาการหลายท่านได้เสนอแนะ ไว้ดังนี้

บารทซ์ (Bartz. 1989: 81-82) กล่าวถึงการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารว่ามี

องค์ประกอบที่สําคัญดังต่อไปนี้

1. ความคล่องแคล่ว ความต่อเนื่อง ความราบรื่น และมีความเป็นธรรมชาติใน การพูด (Fluency)

2. ความเข้าใจ (Comprehensibility) คือความสามารถที่จะพูดให้ผู้อื่นเข้าใจใน สิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อสารออกมา

บราวน์ (Brown. 2000: 246 -247) กล่าวถึงความสามารถของภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารว่าประกอบด้วยความสามารถด้านต่างๆ ดังนี้

1. ค ว า ม ส า ม า ร ถ ด้า น ก ฎ เ ก ณ ฑ์ไ ว ย า ก ร ณ์ ภ า ษ า (Grammatical Competency) ซึ่งมิใช่เพียงความสามารถในการใช้ไวยากรณ์เท่านั้น แต่หมายรวมถึงความสามารถ ในการใช้องค์ประกอบทั้งหมดของตัวภาษา ได้แก่การออกเสียง การใช้คําศัพท์ และกฎการวางรูป ประโยคซึ่งทําให้ผู้พูดสามารถเข้าใจและใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามโครงสร้างโดยปราศจากการ ลังเล ทําให้พูดได้อย่างแคล่วคล่อง

2. ความสามารถด้านความสัมพันธ์ของข้อความ (Discourse Competency) หมายถึงผู้พูดสามารถจัดการกับบทบาทของการสนทนาโดยการผลัดเปลี่ยนบทบาทในการเปิดและ เปิดบทสนทนาและเชื่อมโยงการสนทนาให้ดําเนินต่อไปอย่างราบรื่นและเหมาะสม นอกจากนี้ผู้พูด ต้องรู้จักเชื่อมโยงภาษาพูดและภาษาเขียน โดยการใช้คําพูดแสดงความสัมพันธ์ของประโยคหรือ ข้อความเพื่อสื่อความหมายของเหตุการณ์ต่างๆ ได้

3. ความสามารถด้านภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistic Competency) หมายถึงผู้พูดสามารถใช้คําพูดได้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ โดยสามารถเลือกรูปแบบของภาษา ให้สัมพันธ์กับพฤติกรรมของบุคคลในสังคม นอกจากนี้ผู้พูดยังต้องสามารถพูดสนทนาเพื่อสร้าง สัมพันธ์ทางสังคม และพูดเพื่อจุดประสงค์เฉพาะที่แตกต่างที่แตกต่างไปตามสถานการณ์ด้วย.

4. ความสามารถด้านกลวิธีในการสื่อสาร (Strategic Competency) นอกจาก ความสามารถทั้งสามประการข้างต้นแล้ว ผู้พูดควรมีความสามารถด้านกลวิธีในการสื่อสาร หมายถึง ผู้พูดสามารถแก้ปัญหาในขณะสื่อสารด้วยกลวิธีต่างๆ ที่ทําให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายได้ แม้ว่าจะไม่มี

ความสามารถด้านไวยากรณ์ดีพอ แต่ผู้พูดก็ใช้กลวิธีในการจัดการกับความบกพร่องเหล่านั้นเพื่อ ช่วยในการสื่อสารกับผู้อื่นได้

ขณะที่แฮริส (Harris. 2001: 81-82) กล่าวถึงความสามารถในการพูดเพื่อการ สื่อสารว่าประกอบด้วยความสามารถดังต่อไปนี้

1. การออกเสียง (Pronunciation) หมายถึงผู้พูดต้องออกเสียงพยัญชนะ สระ การเน้นหนักในคํา ประโยคและควบกลํ้าต่างๆ ได้ถูกต้อง

2. ไวยากรณ์ (Grammar) ผู้พูดต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของ ภาษา

3. คําศัพท์ (Vocabulary) ผู้พูดใช้คําศัพท์อย่างหลากหลายและถูกต้อง 4. ความแคล่วคล่องของการใช้ภาษา (Fluency) หมายถึงผู้พูดใช้ภาษาเพื่อ การสื่อสารได้อย่างแคล่วคล่อง

5. ความสามารถในการเข้าใจ (Comprehensibility) คือความสามารถในการ เข้าใจข้อมูลและพูดโต้ตอบให้การสื่อสารดําเนินไปอย่างราบรื่น

แคร์รอล (Carroll. 1982: 135) ได้จัดระดับความสามารถของทักษะของการพูดไว้

9 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 ระดับผู้ใช้พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย (Non-User) หมายถึงผู้พูดไม่

เข้าใจหรือพูดภาษาไม่ได้เลย

ระดับที่ 2 ระดับผู้ใช้ภาษาได้เล็กน้อย (Intermitten User) หมายถึงระดับที่ผู้

พูดสามารถพูดได้เพียงสองสามคํา

ระดับที่ 3 ระดับผู้ใช้ภาษาได้ในวงจํากัด (Extremely Limited User) หมายถึง ระดับที่ผู้พูดพูดอย่างตะกุกตะกัก เกิดความผิดพลาดบ่อย ๆ เข้าใจบทสนทนาและรู้รายละเอียด บางส่วน จึงไม่สามารถสนทนาได้ต่อเนื่อง อย่างเป็นเรื่องเป็นราว จับรายละเอียดไม่ได้ จับได้แต่

ใจความสําคัญเท่านั้น

ระดับที่ 4 ระดับที่ผู้ใช้ภาษาภาษาเกือบพอเพียง (Marginal User) หมายถึง ระดับที่ผู้พูดสามารถโต้ตอบสนทนาได้ แต่ค่อนข้างเป็นคู่สนทนาที่เงียบ ไม่สามารถนําการสนทนา ด้วยความเร็วปกติ ขาดความคล่องแคล่วและความถูกต้อง การสนทนาดําเนินไปด้วยความ ยากลําบากและขาดความต่อเนื่อง แต่ยังเข้าใจในเรื่องที่สนทนา มีสําเนียงในการใช้ภาษาเดิมปนอยู่

มีความแตกต่างจากระดับที่ 3 คือคู่สนทนามีความเข้าใจผิดน้อยกว่าคู่สนทนาในระดับที่ 3

ระดับที่ 5 ระดับที่ผู้ใช้ภาษาได้ปานกลาง (Modest User) หมายถึงระดับที่ผู้

พูดสื่อความหมายของใจความหลักได้ แต่ยังใช้หลักไวยากรณ์ผิดพลาด ในบางครั้งยังถูกถามหรือ ต้องถามคู่สนทนาเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย แต่ยังบกพร่องในการสนทนาและความคล่องแคล่ว ในการใช้ภาษา ผู้พูดไม่สนใจและไม่มีลีลาในการสนทนา

ระดับที่ 6 ระดับผู้ใช้ภาษาได้ (Competent User) หมายถึงการที่ผู้พูดสามารถ คุยในหัวข้อที่สนใจ ติดตามเรื่องราวที่สนทนาได้ เปลี่ยนเรื่องที่พูดได้ อาจมีการหยุดหรือตะกุกตะกัก ในบางครั้งบางคราว รวมทั้งเริ่มต้นการสนทนาได้

ระดับที่ 7 ระดับที่ผู้ใช้ภาษาได้ดี (Good User) หมายถึงระดับที่ผู้พูดสามารถ เล่าเรื่องราวต่างๆ ได้ อย่างชัดเจน มีการเก็บรายละเอียด สามารถสนทนาได้เป็นเรื่องเป็นราว แต่ยัง ไม่คล่องนัก สามารถติดตามการสนทนาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ นํ้าเสียง มีการตะกุกตะกัก หรือพูดซํ้าข้อความ แต่สามารถโต้ตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระดับที่ 8 ระดับผู้ใช้ภาษาได้ดีมาก (Very Good User) หมายถึงระดับที่ผู้พูด สามารถอภิปรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนําการสนทนา และดําเนินการอภิปรายต่อไป แสดงอารมณ์ขัน และโต้ตอบด้วยนํ้าเสียงและกริยาท่าทางได้อย่างเหมาะสม

ระดับที่ 9 ระดับผู้เชี่ยวชาญการใช้ภาษา (Expert User) หมายถึงระดับที่ผู้พูด สามารถพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามรถนําการสนทนา ดําเนินเรื่องต่อกัน ขยายความได้และพูด ได้ใจความสําคัญ

ดังนั้นความสามารถในการสื่อสารหมายถึงระดับความสามารถในการพูดสื่อ ความหมายได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว เหมาะสมกับกาลเทศะ และสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่พูดเพื่อ ความต่อเนื่องให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อสารได้

กล่าวโดยสรุปการมีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หมายถึงการที่ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสื่อสารได้ตามสถานการณ์

จริงได้แก่ ความสามารถด้านกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ภาษา (Grammatical Competency) ความสามารถ ด้านความสัมพันธ์ของข้อความ (Discourse Competency) ความสามารถในการใช้ภาษาอย่าง ถูกต้องกาลเทศะ (Sociolinguistic Competency) และความสามารถด้านกลวิธีในการสื่อสาร (Strategic Competency) (Brown. 2000: 246 -247)

ตัวชี้วัด

1.ผู้เรียนมีความสามารถด้านกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ภาษา (Grammatical Competency)

2.ผู้เรียนมีความสามารถด้านความสัมพันธ์ของข้อความ (Discourse Competency) 3.ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้องกาลเทศะ (Sociolinguistic Competency)

4. ผู้เรียนมีความสามารถด้านกลวิธีในการสื่อสาร (Strategic Competency)

Garis besar

Dokumen terkait