• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

เวลา 3 ปีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

3.1 เชี่ยวชาญในภาษามาเลย์และภาษาอังกฤษ

3.1.2.2 หลักสูตรการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กําหนดนโยบายด้านหลักสูตรโดยพิจารณาให้สอดคล้อง กับลําดับความสําคัญของชาติ และมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนา อย่างไรก็ตามกฎหมาย หลายฉบับต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการด้านกฎหมายโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการ สอนของโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลกําหนดนโยบายให้ลดจํานวนหลักสูตรลง กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2552 สําหรับการศึกษาระดับ ประถมศึกษา และปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาสําหรับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยลดเนื้อหาการ เรียนรู้ให้เหลือ 5 วิชา คือ ภาษาฟิลิปปินส์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และ Mayabayan มุ่งเน้นสู่การศึกษา ตลอดชีวิต และการพัฒนาพลเมืองฟิลิปปินส์ในมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์คือมีความรักชาติ เคารพใน สิทธิมนุษยชน มีความยืดหยุ่น มีระเบียบวินัย คุณธรรมจริยธรรม มีความคิดสร้างสรรค์ และมีสุขภาพ อนามัยที่ดี โดยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกนํามาใช้ในปี พ.ศ. 2545-2546 (Department of Education of Philippines. 2008a) โดยกําหนดวิสัยทัศน์ว่าจะส่งเสริมการเจริญเติบโตของเยาวชน ฟิลิปปินส์แบบองค์รวม สนับสนุนการสร้างสมรรถนะหลักและพัฒนาค่านิยมที่เหมาะสม หลักสูตรมีความ ยืดหยุ่นเพื่อสอดคล้องกับความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนที่หลากหลายและมีความเชื่อมโยงกับ สภาพแวดล้อมในปัจจุบันและความเป็นจริงทางสังคมและวัฒนธรรม (Inciong. 2008)

นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เลขที่ 76 ลงวันที่

4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 กําหนดว่าภายหลังจากนําหลักสูตรฉบับใหม่ไปทดลองใช้กับโรงเรียนนําร่องเป็นเวลา 4 ปี ให้นําหลักสูตรการศึกษาระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2553 ที่เน้นด้านการเรียนการสอนเพื่อความเข้าใจ และการฝึก ปฏิบัติด้วยการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยให้นําหลักสูตรดังกล่าวไปใช้กับโรงเรียนทั่วไปตั้งแต่ปี

พ.ศ. 2553/2554 (ปีแรกของมัธยมศึกษา) จนถึง พ.ศ. 2556/2557 (ปีที่ 4 ของมัธยมศึกษา)

ต่อจากนั้นกระทรวงศึกษาธิการฟิลิปปินส์ได้วางแผนจะใช้โปรแกรมการศึกษาขั้น พื้นฐาน ประกอบด้วยการเรียนระดับอนุบาล 1 ปี ต่อด้วยการเรียนระดับประถมศึกษา 6 ปี การเรียนใน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นอีก 4 ปี (เกรด 7-10) และการศึกษาในระดับมัธยมการศึกษาตอนปลายอีก 2 ปี

(เกรด 11 และเกรด 12) การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนได้รับทักษะ

และสมรรถนะทางวิชาการ หลักสูตรที่จัดขื้นจะส่งเสริมให้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดนตรีและศิลปะ เกษตรกรรมและการประมง ธุรกิจและวิสาหกิจ และสาขาวิชาที่ใช้ในการศึกษาต่อ ในปีพ.ศ.

2555/2556 หลักสูตรใหม่จะกําหนดให้นักเรียนต้องสอบเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ตอนต้น การปรับปรุงหลักสูตรจะถูกออกแบบให้สอดคล้องสมรรถนะและทักษะของผู้สําเร็จการศึกษาใน หลักสูตร K+12 กระทรวงศึกษาธิการฟิลิปปินส์ได้แต่งตั้งคณะทํางานขึ้นมาเพื่อทบทวนหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานในปัจจุบันและแผนปฏิบัติงาน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของสมรรถนะที่แตกต่าง ความสนใจของ ผู้เรียน ทุนมนุษย์และผลิตภาพของประเทศ (IBE. 2011b: Online)

1.การศึกษาระดับประถมศึกษา

การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เวลาเรียน 6 ปี การเรียน 4 ปีแรกเรียก Primary Grades และที่เหลืออีก 2 ปี เรียก Intermediate Grades ทั้งนี้พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารจัดการที่ดีของการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 เป้าหมายของ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (ครอบคลุมการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) คือการจัดเตรียม เด็กในวัยเรียนและเยาวชนในด้านทักษะ ความรู้และค่านิยมเพื่อความใส่ใจ การพึ่งพาตนเอง เป็นทรัพยากร มนุษย์และรักชาติ และพัฒนาสมรรถนะขั้นพื้นฐานในด้านการเรียนรู้ ตัวเลข ความคิดอย่างวิเคราะห์วิจารณ์

ทักษะการเรียนรู้ และรับผิดชอบต่อสังคม

2.การศึกษาระดับมัธยมศึกษา

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาใช้เวลาเรียน 4 ปี และเป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสําหรับการศึกษาระดับนี้แบ่งออกเป็นสายสามัญ สายเทคนิคและ อาชีวศึกษา โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปีพ.ศ. 2525 วัตถุประสงค์ของการศึกษาระดับนี้คือ การศึกษาต่อเนื่องจากการศึกษาระดับประถมศึกษา การเตรียมผู้เรียนสําหรับการเรียนต่อระดับวิทยาลัย รวมทั้งเตรียมผู้เรียนสําหรับโลกการทํางาน ปกติมัธยมศึกษาจะใช้เวลา 3 ปี สําหรับการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น (เกรด 7-9) และ เวลาอีก 1 ปี สําหรับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (เกรด 10) หลักสูตรการสอน สําหรับการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พ.ศ. 2545 มีความแตกต่างจากหลักสูตรฉบับก่อนดังนี้ 1. ปรับโครงสร้างขอบเขตการเรียนรู้ในวิชาที่สอน โดยให้เรียนเพียง 5 วิชาคือ ภาษาฟิลิปปินส์ อังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ Makabayan 2.

การบูรณาการสมรรถนะและค่านิยมข้ามสาขาวิชา 3. การเน้นในกระบวนการเรียนรู้และการสอนด้วยวิธี

หลากหลาย 4. เพิ่มเวลาเรียนเพื่อให้เชี่ยวชาญในวิชาที่เรียน นอกจากนี้ยังกําหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ในรูปของสมรรถนะและความรู้ ทักษะและทัศนคติ ที่ผู้เรียนจะได้รับเมื่อสิ้นสุดการศึกษา โดยได้บูรณาการ ICT เข้ากับการเรียนการสอนด้วย

นอกจากนี้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เลขที่ 76 ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 กําหนดว่าภายหลังจากนําหลักสูตรฉบับนี้ไปทดลองใช้กับโรงเรียนนําร่องเป็นเวลา 4 ปี ให้นํา หลักสูตรการศึกษาระดับมัธยมศึกษาพ.ศ. 2553 ที่เน้นด้านการเรียนการสอนเพื่อความเข้าใจ และการลงมือ ทําด้วยการออกแบบการเรียนการสอนโดยให้นําหลักสูตรดังกล่าวไปใช้กับโรงเรียนทั่วไปตั้งแต่ปีพ.ศ.

2553/2554 (ปีแรกของมัธยมศึกษา) จนถึง พ.ศ. 2556/2557 (ปีที่ 4 ของมัธยมศึกษา)

สืบเนื่องจากประกาศกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

กลั่นกรองหลักสูตรการศึกษาระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2552 ตามกรอบความเข้าใจโดยการออกแบบการเรียน การสอนซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. ผล/ผลลัพธ์ 2. การประเมินผล และ 3. การจัดทําแผนการเรียนรู้/การ สอน ทั้งนี้ 2 ขั้นตอนแรกปรากฏอยู่ในคู่มือหลักสูตร ส่วนขั้นตอนที่ 3 ปรากฏอยู่ในคู่มือครู ทั้งนี้หลักสูตร ระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2552 มีลักษณะดังต่อไปนี้

1.เน้นความเข้าใจ

2.ตั้งความคาดหวังสูง (บนพื้นฐานมาตรฐานการศึกษา) ว่า นักเรียนความรู้เรื่องอะไร ควรทํา เข้าใจและถ่ายทอดสู่ชีวิตจริงอย่างไร เพื่อใช้เป็นหลักฐานของการเรียนรู้

3.เข้มข้นและน่าสนใจ เพื่อเป็นแนวทางของผู้เรียนรายบุคคล ในการพัฒนาสติปัญญาที่หลากหลาย ด้วยการจัดหลักสูตรเน้นความชํานาญเฉพาะทาง โปรแกรมพิเศษ ด้านศิลปะ หรือด้านกีฬา ด้านสื่อมวลชน และด้านภาษาต่างประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์

โปรแกรมวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา โปรแกรมเทคนิคและอาชีวศึกษา ซึ่งนกเรียนสามารถต่อ ยอดสูงสุดในหลักสูตรแกนกลาง

หลักสูตรการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาฟิลิปปินส์ Araling Panlipunan (สังคมศึกษา ประกอบด้วยประวัติศาสตร์และรัฐบาลของฟิลิปปินส์ อาเซียนศึกษา ประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจโลก) Edukasyon sa Pagpapahalaga (การศึกษาเรื่องค่านิยม) การศึกษาเกี่ยวกับเส้นทางสู่อาชีพด้าน เทคโนโลยีและการดํารงชีวิต (CP-TLE) ดนตรีและศิลปะ พลศึกษาและสุขภาพ (MAPEH)

นอกจากนี้การฝึกอบรมเพื่อความก้าวหน้าของพลเมือง (CAT) จะสอน เพิ่มเติมในปีที่ 4 (35 ชั่วโมง) Araling Panlipunan , Edukasyon sa Pagpapahalaga, CP-TLE, MAPEH และ CAT จะถูกรวมไว้ใน Makabayan

ภาษาอังกฤษถูกนํามาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ , CP-TLE, MAPEH และ CAT ขณะเดียวกันภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้และ การพัฒนาสมรรถนะระดับโลกของผู้เรียน ขณะเดียวกันวิชา Araling Panlipunan, Edukasyon sa Pagpapahalaga ยังคงสอนด้วยภาษาฟิลิปปินส์ อีกทั้งเพื่อคงไว้ซึ่งค่านิยมในการสื่อสารเกี่ยวกับค่านิยม อัตลักษณ์ และความเป็นชาติฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ยังมีการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนในโรงเรียนที่มีความ พร้อม ซึ่งการสอนด้วย สื่อการสอนอย่างหลากหลายได้รับการสนับสนุน ขณะเดียวกันการเรียนการสอน ได้ขยายไปสู่ชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นห้องทดลองสําหรับการเรียนรู้ที่เป็นจริง

ส่วนเวลาที่ใช้สอนในการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (IBE. 2011b: Online) มี

ดังต่อไปนี้ ภาษาอังกฤษ (300 นาที/สัปดาห์) วิทยาศาสตร์ (360 นาที/สัปดาห์) คณิตศาสตร์ (300 นาที/

สัปดาห์) ภาษาฟิลิปปินส์ (240 นาที/สัปดาห์) Araling Panlipunan (240 นาที/สัปดาห์) Edukasyon sa Pagpapahalaga (120 นาที/สัปดาห์ สําหรับปี 1 และ ปี2, 120 นาที/สัปดาห์ สําหรับปี 3 และปี 4) CP-TLE (240 นาที/สัปดาห์) MAPEH (240 นาที/สัปดาห์) และ CAT ( 35 ชั่วโมง ในปีที่ 4)

สรุปคุณลักษณะที่พึงประสงค์คือมีความรักชาติ เคารพในสิทธิมนุษยชน มี

ความยืดหยุ่น มีระเบียบวินัย คุณธรรมจริยธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และมีสุขภาพอนามัยที่ดี

Garis besar

Dokumen terkait