• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรอบแนวคิดการวิจัย

เวลา 3 ปีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4. ความภูมิใจในความเป็นไทย

ผู้วิจัยประยุกต์ใช้คํานิยามและตัวชี้วัดของความภูมิใจในความเป็นไทยตามนิยามและ ตัวชี้วัดของ แนวทางการพัฒนา การวัดและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตร แกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (สพฐ. 2551: 31) ดังนี้

ความภูมิใจในความเป็นไทยหมายถึงคุณลักษณะเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยได้

อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ใช้สินค้าไทยและนําภูมิปัญญาไทยมาใช้ในชีวิตประจําวัน อ่อนน้อมถ่อมตนและแสดงความเคารพผู้ใหญ่ ร่วมกิจกรรมเกี่ยวข้องกับชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ มีส่วนร่วมในการเผยแพร่และอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ไทย และรู้จักท้องถิ่น รักและร่วมพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

ตัวชี้วัด

1.ผู้เรียนใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน 2.ผู้เรียนใช้สินค้าไทยและนําภูมิปัญญาไทยมาใช้ในชีวิตประจําวัน 3.ผู้เรียนมีความอ่อนน้อมถ่อมตนและแสดงความเคารพผู้ใหญ่

4.ผู้เรียนร่วมกิจกรรมเกี่ยวข้องกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

5.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่และอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี

และศิลปวัฒนธรรมไทย

6.ผู้เรียนรู้จักท้องถิ่น รักและร่วมพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 5.ความพอเพียง

ผู้วิจัยประยุกต์ใช้คํานิยามและตัวชี้วัดของความพอเพียงตามนิยามและตัวชี้วัดของ แนวทางการพัฒนา การวัดและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลาง สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (สพฐ. 2551: 32) ดังนี้

ความพอเพียงหมายถึงคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดําเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มี

เหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดีและสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตัวชี้วัด

1. ผู้เรียนดําเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล มีคุณธรรม

2. ผู้เรียนมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมี

ความสุข

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนที่พึงประสงค์มีดังต่อไปนี้

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2547: 13) ได้ศึกษาวิจัยถึงคุณลักษณะของคนไทยที่พึง ประสงค์ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

1. มิติทางด้านร่างกาย คือเป็นผู้มีสุขภาพร่างกาย สมบูรณ์แข็งแรงมีพัฒนาการ ทางด้านร่างกายและสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์ในแต่ละช่วงวัย

2. มิติด้านจิตใจ คือเป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจตนเอง เข้าใจความรู้สึกคนอื่น เข้าใจ สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวเป็นอย่างดี

3. มิติด้านความรู้คือเป็นผู้สามารถรู้ลึกในแก่นสาระของวิชา สามารถรู้รอบตัวในเชิงสห วิทยาการ และเป็นผู้สามารถรู้ได้ไกลโดยการคาดคะเนเกี่ยวกับอนาคตที่ที่จะมาถึงได้

4. มิติด้านความสามารถ เป็นผู้มีทักษะด้านความคิด ทักษะการสื่อสาร ทักษะทางด้าน สังคม ทักษะการอาชีพ ทักษะทางสุนทรียะ และทักษะการจัดการที่ดี

ศรีมาลา จตุพร (2548: 25) ได้ศึกษาเรื่องบรรยากาศของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ : ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศของโรงเรียนกับนักเรียนเก่ง ดี และมี

ความสุข ได้ข้อสรุปว่าลักษณะของนักเรียนที่มีความสุข มีลักษณะดังนี้ 1.รู้จักคุณค่าของตนเอง 2.

รู้จักคุณค่าของผู้อื่น 3. รู้จักพัฒนาตนเอง 4. มีสุขภาพจิตดี ร่าเริงแจ่มใส 5. มองโลกตามความเป็น จริง และ 6. มีความเชื่อมั่นในตนเอง

ษมาพร ศรีอิทยาจิต (2548: บทคัดย่อ) ได้ทําการวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์

เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดนครนายก จํานวน 411 คน เลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบแระเมินทักษะชีวิต แบบสอบถามสภาพแวดล้อมในโรงเรียน แบบสอบถามสัมพันธภาพภายในครอบครัว แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบสอบถามการปรับตัว แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่คํานวณด้วยสัมประสิทธิ์อัลฟ่า มีค่าเท่ากับ .918, .813, .804, .869, .838 และ .912 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์สันทาง โดยใช้โปรแกรม LISREL version 8.54 ผลการวิจัยพบว่าปัจจัย ที่มีอิทธิพลทางตรงต่อทักษะชีวิตมากที่สุดคือผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน รองลงมาตามลําดับคือสภาพแวดล้อมในโรงเรียน การปรับตัว แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

สัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม

เพ็ญนภา พุ่มหมี (2550: บทคัดย่อ) ได้ทําวิจัยเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบาง ประการกับค่านิยมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมี

จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อค่านิยมประชาธิปไตย และหาค่า นํ้าหนักความสําคัญ ของปัจจัยบางประการที่ส่งผลค่อค่านิยมประชาธิปไตยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี

ที่ 3 โรงเรียนกรุงเทพมหานคร กลุ่มนักเรียนเป็นนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนดังกล่าว จํานวน 452 คน เลือกโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการ รวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามวัดทักษะทางสังคม แบบสอบถามวัดการอบรมเลี้ยงดูแบบ ประชาธิปไตย แบบสอบถามวัดความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู แบบสอบถามวัดความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียนกับเพื่อน แบบสอบถามวัดบรรยากาศประชาธิปไตย และแบบสอบถามวัดอิทธิพลของสื่อ ผลการวิ

จับพบว่าตัวแปรปัจจัย ได้แก่การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ทักษะทางสังคม สังพันธภาพระหว่าง นักเรียนกับครู สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน บรรยากาศประชาธิปไตย และอิทธิพลของสื่อ มี

ความสัมพันธ์กับค่านิยมประชาธิปไตย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่านํ้าหนักความสําคัญของ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน บรรยากาศประชาธิปไตย และอิทธิพลของสื่อ ส่งผล ทางบวกต่อค่านิยมประชาธิปไตย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สุภาภรณ์ เกิดศรี (2550: บทคัดย่อ) ทําวิจัยเรื่องการนําเสนอแนวทางการเสริมสร้าง ประชาธิปไตยในสถานศึกษา สังกัดเขตพื้น?การศึกษาอุทัยธานี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูจํานวน 244 คน และนักเรียน 393 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ต่อจากนั้นเป็นการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญจํานวน 8 คน เพื่อนําเสนอแนวทางการ เสริมสร้างประชาธิปไตยในสถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่าปัญหาพฤติกรรมการแสดงออกวิถีประชาธิปไตย ของนักเรียนในสถานศึกษาสํานักงานเขตพื้นที่อุทัยธานีทั้ง 3 ด้านคือคารวธรรม สามัคคีธรรม และปัญญา ธรรมอยู่ในระดับมีปัญหาน้อย สําหรับแนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยในสถานศึกษา ด้านคารวธรรม บุคลากรในสถานศึกษา ผู้ปกครองต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน และสถานศึกษาต้อง เสริมสร้างพฤติกรรมประชาธิปไตยให้กับนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน ด้านสามัคคีธรรม ผู้บริหารต้อง

ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมที่สถานศึกษาจัดขึ้นรวมทั้งครอบครัวแลชุมชนต้องเปิด โอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบเพื่อสนับสนุนให้นักเรียนกล้าคิด กล้าทํา และกล้าแสดงออก ด้าน ปัญญาธรรม กระบวนการจัดการเรียนการสอนครูต้องฝึกให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้วย ตนเอง และสรุปผลจากการวิเคราะห์ว่ามีผลกระทบต่อบุคคลรอยตัว ศีลธรรมจริยธรรม มากน้อยเพียงใด

รุ่งรัตน์ สนธิขันธ์ (2551: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มสนามชัย สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มี

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูง มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ในระดับสูง ส่วนนักเรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์

ระดับปานกลาง และตํ่า มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์อยู่ในระดับปานกลาง คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมพึงประสงค์ขแงนักเรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และปฏิสัมพันธ์ของความสามารถในการคิดวิเคราะห์กับระดับชั้นมีผลต่อคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05

อนุตรา สวัสดิ์ศรี (2550: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการสอนโดยการใช้สถานการณ์จําลองใน การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานบริษัทสยามซันไรซ์จํากัดที่มีหน้าที่ติดต่อสื่อสาร กับลูกค้าชาวต่างชาติ จํานวน 16 คน รวมทั้งศึกษาทัศนคติของผู้เรียนต่อกิจกรรมดังกล่าว โดยใช้

เครื่องมือคือแผนการสอนโดยใช้กิจกรรมสถานการณ์จําลอง และแบบบันทึกการเรียนรู้หลังการฝึก สนทนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมสถานการณ์จําลอง แบบประเมินความสามารถ ด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมสถานการณ์จําลองก่อนเรียน–หลังเรียน และ เกณฑ์ประเมินความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมสถานการณ์

จําลอง และแบบวัดทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมสถานการณ์

จําลอง ผลการวิจัยสรุปได้ว่าผู้เรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารหลังการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .01 ซึ่งแสดงว่าการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้

กิจกรรมสถานการณ์จําลองส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ และ ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้สถานการณ์จําลองมีความมั่นใจและ เห็นว่าสถานการณ์จําลองเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ น่าสนใจ ให้ความเพลิดเพลิน และนําไปสู่การ พัฒนาทักษะทางการพูดภาษาอังกฤษ

เกนคาร์โล (Gaincarlo. 2000: 5963) ได้ศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จํานวน 393 คน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนสามารถทํานายความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ดีที่สุด มากกว่าลักษณะบทบาททางเพศ การศึกษาของบิดามารดา และอาชีพของบิดามารดา

เคย์ (Kay. 2001: Online) ได้ทําการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรเพื่อการพัฒนาทักษะ ชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเมือง ระดับเกรด 10 เกรด 11 และเกรด 12 พบว่าทักษะชีวิตที่มี

ความเหมาะสมคือทักษะความตระหนักรู้ในตนเอง ทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ทักษะการวางแผน และการจัดการ และทักษะความรับผิดชอบสังคม

Garis besar

Dokumen terkait