• Tidak ada hasil yang ditemukan

ผลการนำาเสนอร่างยุทธศาสตร์และ ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความ

Learners in Small Size Schools Based on Sufficiency Economy Philosophy

4. ผลการนำาเสนอร่างยุทธศาสตร์และ ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความ

เป็นประโยชน์ของยุทธศาสตร์สถานศึกษาขนาด เล็กเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ ผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดย การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 33 คน พบว่า 6

ยุทธศาสตร์หลัก (ด้านระบบการบริหารจัดการ ด้านระบบการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนา บุคลากร ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการมี

ส่วนร่วม และ ด้านระบบเครือข่าย) โดยรวม มี

ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ อยู่ใน ระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับ มาก และ13 ยุทธศาสตร์ย่อยโดยรวม มีความ เหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์

อยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล

1. ผลการศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มี 5 ด้าน 68 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม มี 13 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านความพอประมาณ มี 12 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความมีเหตุผล มี 13 ตัวบ่งชี้

4) ด้านความมีภูมิคุ้มกันที่ดี มี 15 ตัวบ่งชี้ และ 5) ด้านความรอบรู้ มี 15 ตัวบ่งชี้ สอดคล้องกับ งาน วิจัยของสหัทยา พลปัถพี (2548: 98-104) ได้นำา เสนอแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของคนตามเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งเป็น 3 ประการ คือ 1) พอประมาณ ได้แก่

พอประมาณกับศักยภาพของตน พอประมาณกับ สภาพ แวดล้อมและไม่โลภเกินไปจนเบียดเบียน ผู้อื่น 2) มีเหตุผล ได้แก่ ไม่ประมาท รู้ถึงสาเหตุ

พิจารณาค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและคำานึงถึงผลก ระทบที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำา 3) มีภูมิคุ้มกันใน ตัวที่ดี ได้แก่ พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ พึ่งตนเอง ได้ทางสังคม คำานึงถึงผลระยะยาวมากกว่าระยะ สั้น รู้เท่าทันและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคุณลักษณะทั้ง 3 ประการจะเกิดขึ้นได้จาก การพัฒนาความรู้และคุณธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไข หลักของการพัฒนาคน และสอดคล้องกับสุวิมล ว่องวาณิชและคณะ (2550: 1-12) ได้วิจัยและ

พัฒนา เรื่อง โครงการเร่งสร้างคุณลักษณะที่ดีของ เด็กและเยาวชนไทย พบว่า การจัดกิจกรรมของครู

ในโรงเรียน ประกอบด้วย คุณลักษณ์ที่โรงเรียนมุ่ง พัฒนาคือ ด้านคุณธรรม ด้านสังคม ด้านการเรียน รู้ และด้านองค์รวม การที่ผลปรากฏเช่นนี้ อาจ เนื่องจากในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาจาก แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยคำานึง ถึงแนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนจาก มาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนในพระราชบัญญัติ

การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรฐานการ เรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ ที่สำาคัญคือ เป้าหมายการขับเคลื่อนปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเพื่อปลูกฝังให้

เด็กและเยาวชนรู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง เห็น คุณค่าของทรัพยากรต่างๆ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำานึกรักษ์

สิ่งแวดล้อมและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และสอดคล้อง กับ กระทรวงมหาดไทย (2549: 3) ได้กล่าวถึง หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงว่า การพัฒนา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่

บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำานึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้

ความรอบคอบและคุณธรรม

2. ผลการศึกษายุทธศาสตร์ของสถาน ศึกษาขนาดเล็กต้นแบบเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มี 6 ยุทธศาสตร์

หลัก และ 15 ยุทธศาสตร์ย่อย ซึ่งสอดคล้องกับ สมศักดิ์ พิเศษสุทธิกุล (2550: 168-174) ได้

ศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขนาดเล็ก ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหาร วิชาการ ให้สถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียงกันช่วยกัน โดยจัดในรูปเครือข่าย ร่วมกันจัดทำาหลักสูตรเป็น ช่วงชั้นและหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อความเหมาะสม 2) การบริหารงบประมาณ จัดงบประมาณนอก เหนือรายหัวแบบยืดหยุ่นตามความจำาเป็นอย่าง อิสระ สามารถตรวจสอบได้ 3) การบริหารบุคคล วางแผนอัตรากำาลังโดยจัดครูครบชั้นเรียน ปฏิบัติ

หน้าที่จัดการเรียนการสอนอย่างเดียว ให้บุคลากร ภายนอก เช่น พระมาช่วยสอนพระพุทธศาสนา จัดให้มีการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนา บุคลากรอย่างสม่ำาเสมอ และ 4) การบริหาร ทั่วไป กำาหนดโครงสร้าง มีปฏิทินปฏิบัติงานชัดเจน ทำางานให้จบที่จุดเดียว ใช้ระบบอิเล็คทรอนิค เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในการบริหารจัดการ การที่

ผลปรากฏเช่นนี้อาจเนื่องมาจากการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยได้ศึกษาถึงขอบข่าย ของการพัฒนาสถานศึกษาขนาดเล็กที่จะแก้ปัญหา อย่างยั่งยืนโดยการนำาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่การปฏิบัติจริง ใน 6 ยุทธศาสตร์หลัก คือ ด้านระบบการบริหารจัดการ ด้านระบบ การจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้าน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการมีส่วนร่วม และ ด้านเครือข่าย ในการบริหารสถานศึกษาเน้นหลัก การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วม และที่พบมากคือ ด้านเครือข่าย เมื่อศึกษาสถาน ศึกษาขนาดเล็กต้นแบบที่มีบุคลากรจำานวนน้อย แต่ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์

การประเมินที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น นอกจากนี้ทั้ง 6 แห่ง เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารเชิงระบบ ทำาอย่างต่อเนื่องและเน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียงใน ทุกด้านจึงทำาให้ยุทธศาสตร์หลักและยุทธศาสตร์

ย่อยมีความสอดคล้องกัน

3. รูปแบบการนำาเสนอยุทธศาสตร์สถาน ศึกษาขนาดเล็กเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง ประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าประสงค์ 4) เป้าหมาย 5) ยุทธศาสตร์หลัก 6) ยุทธศาสตร์ย่อย 7) ตัวชี้วัด 8) แนวดำาเนินการ ผลการยืนยันเบื้องต้น พบว่า ยุทธศาสตร์มีความ เหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก ที่สุด การที่ปรากฎเช่นนี้อาจเนื่องจากยุทธศาสตร์

ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ดำาเนินการอย่างเป็นระบบมีขั้น ตอนที่ชัดเจนโดยประยุกต์จากแนวคิดของนักการ ศึกษาหลายท่าน มีการกำาหนดรูปแบบของการนำา เสนอยุทธศาสตร์ไว้อย่างชัดเจน คือวิสัยทัศน์

พันธกิจ เป้าประสงค์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ย่อย ตัวชี้วัด แนวดำาเนินการ และ ผ่านการประเมินความเหมาะสมและความเป็น ไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการ บริหารเชิงยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับ Bateman and Snell (1999: 6-7) และมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช (2548: 19-23) กล่าวว่า ยุทธศาสตร์

เป็นตัวกำาหนดสิ่งที่องค์การต้องการหรือเป็น คุณลักษณะของยุทธศาสตร์ที่ดี ประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย ภารกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และ สอดคล้องกับ Bovee and others (1993: 209) ได้นำาเสนอองค์ประกอบของแผนยุทธศาสตร์ ได้แก่

1) วิสัยทัศน์ขององค์การ 2) พันธกิจขององค์การ 3) ค่านิยมร่วมขององค์การ 4) ความสามารถ หลัก 5) วัตถุประสงค์หลัก 6) จุดมุ่งหมายระดับ ต่างๆ เช่น ระดับยุทธศาสตร์ ระดับกลวิธี ระดับ ดำาเนินการ และ 7) จุดมุ่งหมายแผนงาน เช่น ด้านคุณภาพ ด้านทรัพยากร ด้านงบประมาณ

4. ผลการนำาเสนอร่างยุทธศาสตร์และ ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความ เป็นประโยชน์ของยุทธศาสตร์โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ 33 คน พบว่า 6 ยุทธศาสตร์หลัก โดยรวม มีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์

อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ อยู่ใน ระดับมาก และ 13 ยุทธศาสตร์ย่อยโดยรวม มี

ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็น ประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด การที่ผลปรากฏ เช่นนี้อาจเนื่องมา จากการที่ผู้วิจัยได้ดำาเนินการ สร้างยุทธศาสตร์โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ ผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัย เชิงคุณภาพ ทำาให้ได้องค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อ การสร้างยุทธศาสตร์ และผู้วิจัยได้คำานึงถึงหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นพื้นฐานในการ ดำาเนินชีวิตในทางสายกลาง มุ่งให้เกิดความสมดุล ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ จิตใจ สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม คำานึงถึงปัญหาและแนวทางการแก้

ปัญหาของสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยเฉพาะ ด้านความพร้อมทางปัจจัยของโรงเรียน และ ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน ดังนั้น ในการแก้ปัญหาจึงต้องมีการกำาหนดแนวทาง ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะ เป็นการดำาเนินชีวิตที่สอดคล้องกับบริบทของ ชุมชน ทรัพยากรที่มีอยู่ในสถานศึกษานั้นโดย ยึดหลักสามห่วงสองเงื่อนไข ซึ่งสอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสถานศึกษาขนาด เล็กของกระทรวงศึกษาธิการ (สำานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 2549: 1-30) ว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนา คุณภาพสถานศึกษาขนาดเล็ก 4 ยุทธศาสตร์

คือ 1) พัฒนาระบบวางแผนและการบริหาร จัดการ 2) พัฒนาระบบการเรียนการสอนและ การประกันคุณภาพการศึกษา 3) เสริมสร้าง ความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน และ 4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนใน การจัดการศึกษา และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์

การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่

สถานศึกษา (พ.ศ. 2550-2554) ประกอบด้วย 1) การพัฒนาองค์ความรู้และเครื่องมือการเรียนรู้

2) การพัฒนาบุคลากร 3) การพัฒนาเครือข่าย 4) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และ 5) การติดตาม และประเมินผล

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำาผลการวิจัยไปใช้

1.1 จากการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวม ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 33 คน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูต รบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับสภาพ ท้องถิ่น สอดแทรกเข้าไปในทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้ และทุกระดับชั้น การจัดกระบวนการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำาคัญ การบูรณาการหลัก เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาอาจจะ นำายุทธศาสตร์และแนวดำาเนินการไปปรับปรุงให้

สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา 1.2 สถานศึกษาขนาดเล็กสามารถนำา ยุทธศาสตร์สถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อสร้างเสริม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สร้างขึ้น โดย ควรวิเคราะห์สภาพของสถานศึกษาในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ที่อาจส่งผลต่อการดำาเนินการ แล้วประยุกต์ใช้

ยุทธศาสตร์ให้เหมาะสม

1.3 ในการนำาคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สร้างขึ้นไปใช้ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมใน 6 ประเด็นหลัก เพื่อปลูกฝังจิตสำานึกในการอนุรักษ์

ธรรมชาติ อยู่อย่างพอเพียง และประการสำาคัญ คือ จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง และให้

นักเรียนถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียน ร่วมกันคิดวิเคราะห์ให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน โดย มีการฝึกปฏิบัติจริงบ่อยครั้ง และนำาไปใช้ในชีวิต ประจำาวัน

2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษายุทธศาสตร์หรือ รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วม ระบบเครือข่าย

Garis besar

Dokumen terkait