• Tidak ada hasil yang ditemukan

Comparison of Science Learning Achievement “Earth and Change”, Science Process Skills and Scientific Attitudes

between Organization 0f 7E Inquiry Learning Activities and Organization of Problem-based Learning Activities Mattayo- msueksa 2

อารักษ์ ไชยหลาก

1

, พิศมัย ศรีอำาไพ

2

, กมล ตราชู

3

Arruk Ckailark

1

, Pisamai Sriampai

2

, Kamol Trachoo

3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบปัญหาเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่

มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบปัญหาเป็นฐาน กลุ่ม ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำานวน 61 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน อำาเภอบ้านเขว้า สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ได้โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1 นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2 รองศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

3 ดร. ศึกษานิเทศก์ กองการศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม

1 M. Ed. Condidate in Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Mahasarakham University 2 Assoc. Prof. Dr. , Faculty of Education, Mahasarakham University

3 Dr. Supervisors of Division of Education, Mahasarakham Municipality

3) แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ สถิติ

พื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการสุ่มกลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ สถิติ F-test ANOVA และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test Dependent Samples และ Hotelling’s T2

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ขั้นและแบบใช้

ปัญหาเป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 79.09/77.78 และ 78.37/78.92 ตามลำาดับ

2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน

Abstract

The purposes of this study were to: 1) develop an organizations of science learning activities using the 7E inquiry learning activities and the problem-based learning activities entitle Earth and Change of Matthayomsueksa 2 students with a required efficiency of 75/75, 2) compare learning achievement, science process skills and scientific attitudes of Matthayomsueksa 2 students before and after learning using the 7E inquiry learning and the problem-based learning activities, and 3) compare learning achievement, science process skills and scientific attitudes of Matthayomsueksa 2 students using the 7E inquiry learning and the problem-based learning activities. The sample used in the study consisted of 61 Matthayom- sueksa 2 students in semester 1, year 2012 from Bankhwaowittayayon school in Amphoe Bankhwao under Office of Mattayomsueksa Educational Service Area Zone 30, obtained using the cluster random sampling. The instruments used in the study were:1) plans for organization of the 7E inquiry learning and problem-based learning 2) an achievement test 3) a science process skills test and 4) a scientific attitudes scale. The basic statistic using percentage, mean and standard deviation ; F-test ANOVA was employed for testing sample

; and the t-test dependent and Hotelling’s T2 were employed for testing hypotheses.

The results of the study were as follows:

1. The efficiencies of the plans for the 7E inquiry learning and problem-based learning activities were 79.09/77.78 and 78.37/78.92 respectively.

บทนำา

การดำารงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันและ ในอนาคตมีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์มาก ขึ้นทั้งด้านความรู้และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์

ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา การ รู้วิทยาศาสตร์ (Scienctific Literacy) เป็นสิ่งที่

สำาคัญและจำาเป็นที่ทุกคนจะต้องเสาะหาติดตาม และใช้ข้อมูลข่าวสารทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่ม โอกาสในการเลือกวิถีชีวิตที่เหมาะสมและทันกับ ความเปลี่ยนแปลง (นันทิยา บุญเคลือบ, 2540:

7)

ปัจจุบันประเทศกำาลังประสบกับปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนต่ำาลง ส่งผลให้ส่งผลให้นักเรียนขาด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจาก กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นพฤติกรรม ที่เกิดจากการปฏิบัติ เป็นกระบวนการค้นคว้า ทดลอง เพื่อหาข้อเท็จจริงหลักการ และการเรียน การสอนที่น่าเบื่อยังส่งผลให้ผู้เรียนขาดเจตคติ

ที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ที่จะทำาให้เกิดความพอใจ ในประสบการณ์เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ศรัทธาและ ซาบซึ่งในผลงานทางวิทยาศาสตร์ เห็นคุณค่า และประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ตระหนักในคุณและโทษของการใช้เทคโนโลยี

เลือกใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการคิดและ ปฏับัติใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อย่างมีคุณธรรม โดยใคร่ครวญ ไตร่ตรองถึงผลดี

และผลเสีย (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี, 2546: 14-15) ดังนั้นการ จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จึงควรส่งเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติ

ต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งจากการศึกษาผู้วิจัยเห็นว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น เน้นการ ถ่ายโอนการเรียนรู้ และให้ความสำาคัญกับการ ตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน สร้างความรู้

จากพื้นความรู้เดิมที่เด็กมี ทำาให้เด็กเกิดการเรียน รู้อย่างมีความหมายและไม่เกิดแนวความคิดที่ผิด พลาด นอกจากนี้ยังเน้นให้นักเรียนเกิดเจตคติเชิง วิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการหาคำาตอบ ทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำาความรู้ที่ได้รับไป ประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำาวัน การ จัดกิจกรรมการเรียนแบบวัฏจักรสืบเสาะ 7 ขั้น เหมาะที่จะใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ (ประสาท เนืองเฉลิม, 2550: 25) และกิจกรรมการเรียนรู้

แบบปัญหาเป็นฐาน ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้

ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเป็นบริบท (Context) ของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา รวมทั้งได้

ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาด้วย 2. The students who learned using the 7E inquiry learning and problem-based learning activities were significantly higher in learning achievement, science process skills and scientific attitudes than before learning at the .05 level.

3. The students who learned using the 7E inquiry learning activities and problem-based learning activities did not show any different in learning achievement, science process skills and scientific attitudes.

Keywords: learning activities, scientific process skills, scientific attitudes, the 7E inquiry learning activities, the problem-based learning activities.

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจาก กระบวนการทำางานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและ การแก้ไขปัญหาเป็นหลัก (มัณฑรา ธรรมบุศย์, 2545: 13) ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำารูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มาใช้ในการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี

ที่ 2 เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง เพื่อเปรียบ เทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังกล่าว

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และ แบบ ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์

75/75

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียน

3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

Garis besar

Dokumen terkait