• Tidak ada hasil yang ditemukan

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง แบบสืบเสาะ 7 ขั้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.09/77.78 หมายความว่า ค่าเฉลี่ยคะแนน ระหว่างการเรียนโดยแผนการจัดกิจกรรมการเรียน รู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ทั้ง 5 แผน คิดเป็นร้อยละ 79.09 และคะแนนจากการทดสอบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 77.78 แสดงว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบ เสาะ 7 ขั้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของ รัตนา อังคณิตย์ (2553: 89) ได้พัฒนา แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบบปัญหา เป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.37/78.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70/70 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ อุไรวรรณ คำามณี

จันทร์ (2552:124) ได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน ความสามารในการแก้ปัญหาทาง

วิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการ จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการ จัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการโดยใช้ปัญหา เป็นฐาน (PBL) กับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎ จักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.03/83.54 และ 82.19/80.10 ตาม ลำาดับ การที่ผลการวิจัยปรากฎเช่นนี้ เนื่องจาก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น มี

ขั้นตอนประกอบด้วย ตรวจสอบความรู้เดิม การ เร้าความสนใจ สำารวจและค้นหา อธิบาย จากนั้น ก็นำาไปขยายความคิดต่อ มีการประเมินผล และนำา ความรู้ที่ได้ไปใช้ อีกทั้งกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบ เสาะ 7 ขั้น ยังเน้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด ทำางานเป็นกลุ่ม ร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อหาคำาตอบที่

อยากรู้ สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ค้นหาคำาตอบด้วย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำางานเป็นระบบ เน้นการ พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการ ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นหาข้อมูล (สุวิทย์ มูลคำา, 2546: 136) และยังเน้นการถ่ายโอนการเรียนรู้

และให้ความสำาคัญกับการตรวจสอบความรู้เดิม ของเด็ก นักเรียนจะสร้างความรู้จากพื้นความรู้เดิม ที่เด็กมี ทำาให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และไม่เกิดแนวความคิดที่ผิดพลาด การละเลยหรือ เพิกเฉยในขั้นนี้ จะทำาให้ยากแก่การพัฒนาแนว ความคิดของเด็ก ซึ่งจะไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย ที่ครูวางไว้ (ประสาท เนืองเฉลิม, 2550: 25) ตาราง 3 ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างนักเรียน ที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น กับแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

สถิติทดสอบ Value Hypothesis df Error df F p

Hotelling’s Trace .097 3.000 57.000 1.845 .149

และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหา เป็นฐานเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งเน้นปัญหาเป็น บริบทของการเรียนการสอน ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง ความรู้ด้วยตนเอง กระบวนการสร้างความรู้เกิด จากการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และ เกิดการซึมซับหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ และ ปรับโครงสร้างสติปัญญาให้เข้ากับประสบการณ์

ใหม่ Hmelo และ Evenson (2000: 4) เกิด การเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา ได้รับความรู้ใหม่จากการ ศึกษาค้นคว้าด้วยการวิเคราะห์ และแก้ปัญหา ที่เรียน รู้จักการตัดสินใจ การให้ความเห็น การ พัฒนาความคิดใหม่ๆ และความกระตือรือร้นต่อ การเรียน เกิดการเรียนรู้อย่างบูรณาการ (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2548: 79-80)

2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบใช้ปัญหา เป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียน อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ เฉลิมพล ตามเมืองปัก (2550: 33-41) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผม สัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่

ระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น กับแบบปัญหาเป็นฐาน พบว่านักเรียนที่ได้รับการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งสองแบบ มีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติเชิง วิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สอดคล้อง กับ งานวิจัยของ วิเชียร วัฒนกุลไพศาล (2555:

142) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิด สร้างสรรค์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ระหว่าง กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นและ แบบ

ปัญหาเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน การที่

ผลการวิจัยปรากฎเช่นนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบใช้ปัญหา เป็นฐาน กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วย ตนเอง จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อค้นหา ความรู้ด้วยตนเอง รู้จักแก้ไขปัญหาด้วยทักษะการ บวนการทางวิทยาศาสตร์ และสามารถนำาสิ่งที่ได้

จากการค้นคว้าด้วยตนเอง ไปใช้ในชีวิตประจำาวัน ของตนเอง อีกทั้งแผนการจัดกิจกรรมการเรียน รู้ทั้งสองแบบ มีกิจกรรมที่หลากหลาย สื่อการ เรียนที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อและยังเน้นให้ผู้เรียน ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 79.09/77.78 และ 78.37/78.92 ตาม ลำาดับ จึงส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบ ใช้

ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อ วิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน สอดคล้องกับงานวิจัย ของ สุรีย์พันธุ์ พันธุ์ธรรม (2553: 145) พบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหา เป็นฐานกับแบบสืบเสาะ 7 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน การคิดแก้ปัญหา และทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน เช่น เดียวกันกับงานวิจัยของ เฉลิมพล ตามเมืองปัก (2553: 33-41) พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วย กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นกับแบบ ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ และเจตคติเชิง วิทยาศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน การที่ผลการวิจัยเป็น เช่นนี้เนื่องมาจาก นักเรียนพยายามคิด วางแผน การเรียน ที่ตรงตามความสนใจ ความสามารถ และความถนัดของผู้เรียน โดยการจัดกิจกรรมทั้ง

สองแบบเน้นการลงมือปฏิบัติ มีการกำากับ ตรวจ สอบความก้าวหน้าในการเรียน และการประเมิน ปรับปรุงพฤติกรรมการเรียนของตนเอง และ ลักษณะนิสัยด้านเจตคติต่อวิทยาศาสตร์มีความ สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบบสืบ เสาะ 7 ขั้น และแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เน้นขั้น ตอนการทำากิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้สร้างความรู้

เชิงปฏิบัติการ ทำาให้นักเรียนมีความสามารถใน การสร้างและทดสอบแนวความคิดหรือข้อสรุปด้วย ตนเอง (สุวิทย์ มูลคำา, 2546: 9-10 อ้างอิงมาจาก Lawson, 2001: 8) ส่งผลให้นักเรียนที่เรียนด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติ

ต่อวิทยาศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำาผลการวิจัยไปใช้

1.1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง โดย กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น และแบบ ปัญหาเป็นฐาน ต้องใช้เวลาในการทำากิจกรรมการ เรียนการสอนมาก ดังนั้นถ้าเนื้อหามากเกินไป ครู

ผู้สอนอาจไม่สามารถควบคุมกิจกรรมการเรียน

การสอนให้ทันกำาหนดเวลา จึงต้องขมวดเนื้อหาลง เพื่อให้เหมาะสมกับเวลา

1.2 ในขณะที่นักเรียนทำากิจกรรมครูควร ควบคุมให้เป็นไปตามเวลาที่กำาหนด

1.3 ควรให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากที่สุด และทั่วถึงทุกคน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะ กระบวนการต่างๆ ในการแสวงหาคำาตอบ

2. ข้อเสนอแนะสำาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรนำากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบ เสาะ 7 ขั้นและแบบใช้ปัญหาเป็นฐานไปใช้วิจัยใน เนื้อหาอื่นๆ ของรายวิชาวิทยาศาสตร์ เนื่องจาก กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นและกิจกรรม การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานจะมีกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ใกล้เคียงกันแต่จะแตกต่างที่กิจกรรมนำา เข้าสู่บทเรียน ดังนั้นเนื้อหาที่แตกต่างกันก็มีความ เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออก ไปเช่นกัน

2.2 ควรศึกษาตัวแปรอื่นๆ ที่เกิดจาก การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นและ กิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน

2.3 ควรศึกษากิจกรรมการเรียนรู้แบ บอื่นๆ ที่ส่งผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อ วิทยาศาสตร์

เอกสารอ้างอิง

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2548). การเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นฐาน. สารานุกรมศึกษาศาสตร์. (34): 77- 80 ; มกราคม, 2548.

เฉลิมพล ตามเมืองปัก. (2550). การเปรียบเทียบผมสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง แรงและการ เคลื่อนที่ระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้นกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหา เป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 4 (4): 33-41.

Garis besar

Dokumen terkait