• Tidak ada hasil yang ditemukan

ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์

A Comparisons of Learning Achievement, Science Process Skills, and Scientific Attitudes entitled Materials Around Us

2. แบบทดสอบ มี 2 ชุด ดังนี้

3.3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนทั้งสอง กลุ่ม โดยใช้ Hotelling’s T2 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบสมองเป็นฐาน และแบบสืบสวนสอบสวน ไม่

แตกต่างกัน ดังตาราง 5

ตาราง 5 ผลการทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ (Hotelling’s T2)

สถิติทดสอบ Value Hypothesis df Error df F Sig

Hotelling’s Trace 0.008 3.000 101.00 0.264 0.851

อภิปรายผล

จากการวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน และการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน สามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้

1. การจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุรอบ ตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยแผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน และการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน ที่

สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.94/79.10 และ 91.08/80.44 หมายความว่า นักเรียน ได้ค่าเฉลี่ยจากการทำาใบงานหรือชิ้นงาน การ ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างเรียน และ การทำาแบบทดสอบย่อยจากการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสมองเป็นฐานทั้ง 8 แผน คิดเป็นร้อย ละ 88.94 และผู้เรียนได้ค่าเฉลี่ยจากการทำาแบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิด เป็นร้อยละ 79.10 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน และได้ค่าเฉลี่ยจากการทำาใบงานหรือชิ้นงาน การ ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างเรียน และ

การทำาแบบทดสอบย่อยจากการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน ทั้ง 8 แผน คิดเป็น ร้อยละ 91.08 และผู้เรียนได้ค่าเฉลี่ยจากการทำา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 80.44 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน การที่ปรากฏเช่นนี้อาจเนื่องจากเนื่องจาก ผู้วิจัยได้

ผ่านกระบวนการสร้างแผนการการจัดการเรียนรู้

อย่างเป็นระบบ และมีวิธีการที่เหมาะสมโดยเริ่ม ตั้งแต่การเรียบเรียงหน่วยการเรียนรู้ตามเอกสาร หลักสูตรสถานศึกษา คู่มือการจัดการเรียนรู้ที่

เกี่ยวข้องกับการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุ

รอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์

หน่วยการเรียนรู้ได้ผ่านกระบวนตรวจสอบแก้ไข จากอาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญ ในการ สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ก่อนนำาทดลองใช้ ซึ่ง การจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำาคัญ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นจะต้องใช้กิจกรรม ที่หลากหลาย หลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำาคัญเป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มี

โอกาสลงมือปฏิบัติจริง รู้จักฝึกฝน ศึกษาค้นคว้า สร้างองค์ความรู้หรือผลงาน โดยฝึกการทำางาน ร่วมกันและมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ทำาให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสฝึกฝนความสามารถหรือทักษะ ซึ่ง เป็นการเรียนที่มุ่งการทำาซ้ำา ย้ำาทวน เพื่อให้เกิด

การเรียนรู้และจำาได้แม่นยำา (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์, 2554) อีกทั้งการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวน สอบสวน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนา ทักษะการคิดด้วยวิธีฝึกให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้า หาความรู้ โดยครูผู้สอนตั้งคำาถามกระตุ้นให้ผู้เรียน ใช้กระบวนการทางความคิดหาเหตุผลจนค้นพบ ความรู้หรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ด้วยตนเอง (สุวิทย์ มูลคำา, 2547) ส่งผลให้การ จัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นและการจัดการเรียนรู้

แบบสืบสวนสอบสวนมีประภาพภาพสูงกว่าเกณฑ์

ที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของวาสนา พิมพรัตน์ (2553) ณัฐสุภางค์ ยิ่งสง่า (2551) และนิภาวรรณ เจริญวัย (2551) ที่แผนการจัดการ เรียนรู้มีประสิทธิ์ภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำาหนด

2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้

เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็น ฐาน มีค่าเท่ากับ 0.5023 แสดงว่าผู้เรียนมีความ ก้าวหน้าในการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 50.23 และ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน มี

ค่าเท่ากับ 0.5557 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้า ในการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 55.57 การที่ปรากฏ ผลเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียน รู้แบบสมองเป็นฐาน สอดคล้องกับแนวคิดของ วิโรจน์ ลักขณาอดิสร (2550) วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์

(2554) และสิริลักษณ์ วงษ์เพชร (2542) ที่กล่าวว่า การทำาให้เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลายด้วย การสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทายชวนให้ค้นคว้าหาคำาตอบอีกทั้ง ทำาให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกันด้วยการใช้แผนการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้หลายๆ แบบ และทำาให้เกิด ความรู้จากการกระทำาด้วยตนเองโดยการให้เด็กได้

ลงมือทดลองประดิษฐ์หรือได้เล่าประสบการณ์จริง ที่เกี่ยวข้อง มีจัดเวลาให้นักเรียนลงมือทำามากๆ ให้

งานที่นักเรียนลงมือทำาเองมากๆ เพราะสมองจะ

ตื่นตัวทำางานทุกส่วนเมื่อผู้เรียนลงมือทำาจริง ใน การสอนครูต้องจัดเวลานี้ไว้มากๆ ให้ลงมือฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชำานาญ และมีการประเมินที่ดี

โดยจะต้องชี้นำาการ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัย ผลงานวิจัยของสโรชา แซวกระโทก (2555:

49-57) พบว่า ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องทศนิยมและ เศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 0.6529 และ 0.6050 ตามลำาดับ และผลงานวิจัยของ รัศมี กันยานุช (2555: 92-102) พบว่า ดัชนี

ประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยสองเป็นฐานและแผนการ จัดการเรียนโดยใช้กลุ่มร่วมกันคิดเป็น 0.7476 และ 0.7291 ตามลำาดับ

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อ วิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน และแบบสืบสวน ไม่

แตกต่างกัน การที่ผลปรากฏเช่นนี้เนื่องจาก ทักษะ กระบวนการวิทยาศาสตร์เป็นพฤติกรรมที่เกิดจาก การปฏิบัติ และฝึกฝนความคิดอย่างมีระบบ เป็นก ระบวนการทางสติปัญญา โดยใช้ความสามารถ ความชำานาญในการเลือกใช้กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เพื่อค้นหาคำาตอบ หรือการแก้ปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของวิไลวรรณ พันธะลี

(2546) และวิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2554) ที่

กล่าวว่านักเรียนที่ได้เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้

แบบสมองเป็นฐาน ส่งผลให้การทำางานของ สมองมีความสัมพันธ์กับลักษณะความรู้ที่เก็บไว้

ได้ เป็นความรู้ที่ไม่ติดอยู่กับเนื้อหา เป็นความ รู้ที่ไม่ติดกับเนื้อหานี้ก็จะนำามาใช้ในการเรียนรู้

เรื่องใหม่ สิ่งใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ เน้นความรู้

เกี่ยวกับกระบวนการ อีกทั้งสิริลักษณ์ วงษ์เพชร

(2542) ได้กล่าวถึงการสอนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นการสอนที่เน้นให้ครูจัดสถานการณ์ที่เป็น ปัญหายั่วยุและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสงสัย โดยนักเรียนจะเป็นผู้หาวิธีการที่จะเรียนรู้นั้นและ เมื่อนักเรียนสังเกตจนพบปัญหานั้นก็พยายามที่

จะค้นหาสาเหตุด้วยการใช้คำาถาม การรวบรวม ข้อมูลอธิบาย การหาเหตุผล การพยากรณ์และ การทดลอง จนค้นพบความรู้หรือแนวทางในการ แก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง และอาจเนื่องมา จากผู้วิจัยได้เลือกเนื้อหาที่ไม่มากและ ไม่ยากเกิน ไป การนำาเสนอเนื้อหาไม่มีความซ้ำาซ้อน และเป็น เรื่องใกล้ตัวและพบเห็นในชีวิตประจำาวัน และเป็น เรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้ในทางวิทยาศาสตร์ การ ดำาเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ยึดขั้นตอนของ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน และ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน อย่างถูกต้องตามขั้นตอน ทำาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้

อย่างต่อเนื่อง มีความสุขในการเรียน จึงส่งผล ให้นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบสมองเป็นฐาน และการจัดกิจกรรมการเรียน รู้แบบสืบสวนสอบสวน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติ

ต่อวิทยาศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน สอดคล้องกับ สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ วาสนา พิมพรัตน์

(2553: 4-135) พบว่า การเปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และ ความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 เรื่องคำายากระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ 4 MATกับการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบ BBL มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ความฉลาดทางอารมณ์ ไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำาผลการวิจัยไปใช้

1.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ สมองเป็นฐาน และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา ผู้

สอนต้องทำาการปฐมนิเทศนักเรียนให้เกิดความ เข้าใจในขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและไม่เกิดปัญหาและ ผู้สอนต้องคำานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สภาพความพร้อมทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติ

ปัญญา และพื้นฐานความรู้เดิมของนักเรียนแต่ละ คน เพื่อเตรียมความพร้อมให้เข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถเชื่อมโยงไปสู่เรื่องที่จะเรียนได้ ควรสร้าง บรรยากาศในห้องให้มีความรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อ ให้สมองของผู้เรียนเกิดการตื่นตัวในการเรียนรู้

และผู้เรียนสามารถนำาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำาวัน

1.2 ในช่วงเวลาที่ให้ผู้เรียนทำากิจกรรม ผู้สอนควรควบคุมเวลาให้เป็นไปตามที่กำาหนดไว้

ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้

ครบทุกส่วนและทุกขั้นตอนของแผนการจัดการ เรียนรู้

1.3 เนื่องจากกิจกรรมการเรียนรู้ส่วน ใหญ่ผู้เรียนเป็นผู้ปฎิบัติกิจกรรมการเรียนรู้จึง ควรมีการสรุปบทเรียนทุกครั้งที่ทำากิจกรรมเสร็จ เรียบร้อย

2. ข้อเสนอแนะสำาหรับการวิจัยครั้ง ต่อไป

2.1 ควรทำาการศึกษาการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน และการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน ร่วมกับเทคนิคการ

Garis besar

Dokumen terkait