• Tidak ada hasil yang ditemukan

วิเคราะห์ความเหมาะสมของรูปแบบ จากแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ การ

สมมติฐานในการวิจัย

1. วิเคราะห์ความเหมาะสมของรูปแบบ จากแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ การ

จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N จากมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามความ คิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยการหาค่าเฉลี่ยและ

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วแปลความหมายเพื่อ ประเมินระดับของความเหมาะสม

2.วิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N โดย

2.1 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ด้วยการใช้สูตร คำานวณหาค่าดัชนีประสิทธิผล

2.2 เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความ สามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองจากแบบ ทดสอบความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของ เด็กปฐมวัย ด้วยค่าสถิติ t-test for dependent samples

2.3 เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย ความ สามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม จากแบบทดสอบความ สามารถทางการ คิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย ด้วยค่าสถิติ t-test for independent samples

2.4 วิเคราะห์ความเหมาะสมในการใช้รูป แบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N จากแบบ ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ตามความคิดเห็นของครูปฐมวัย โดย การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้ว แปลความหมายเพื่อประเมิน ระดับของความ เหมาะสม

ผลการวิจัย

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ประกอบด้วย ความเป็นมาและความ สำาคัญ ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา การจัด กระบวนการเรียนรู้ ระยะเวลา บรรยากาศและ สภาพแวดล้อม การประเมินผลการเรียนรู้ และ

การนำารูปแบบไปใช้ โดยรูปแบบการจัดการเรียน รู้ที่พัฒนาขึ้นมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น ตอน คือ 1) ขั้นปลุกสมอง (Boosting=B) 2) ขั้น ระบุและเชื่อมโยง (Remarking and Relating=R) 3) ขั้นค้นหาคำาตอบ (Acquiring=A) 4) ขั้น สรุปผล (Inferring=I) และ 5) ขั้นนำาเสนอผล (Notifying=N) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ จำานวน 5 คน ประเมินให้มีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 0.18

2. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N พบว่า

2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R- A-I-N มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.62

2.2 เด็กปฐมวัยที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N มีความ สามารถ ทางการคิดวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี

นัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3 เด็กปฐมวัยที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N มีความ สามารถ ทางการคิดวิจารณญาณสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่เรียน รู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ปกติ อย่างมี

นัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.4 ครูปฐมวัยที่ใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ประเมินความเหมาะสม ของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.26 และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.16

อภิปรายผล

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิด วิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นมีความ เหมาะสมในระดับมาก อาจเนื่องจากผู้วิจัยได้

ศึกษาและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยยึด องค์ประกอบสำาคัญของการสร้างรูปแบบการเรียน การสอน (ทิศนา แขมมณี, 2555: 221-222) คือ มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อ ที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักการของรูปแบบ มีการ บรรยายลักษณะของการจัด การเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับหลักการที่ยึดถือ มีการจัดองค์

ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบให้

สามารถนำาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของกระบวนการ มีการอธิบายเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอน ต่างๆ ที่ช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุทธาภา โชติประดิษฐ์ (2551: 119) ที่พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้วิธีการ สื่อความหมายเป็นฐานที่พัฒนาขึ้นตามองค์

ประกอบสำาคัญของการสร้างรูปแบบการเรียน การสอน สามารถพัฒนาการคิดวิจารณญาณของ เด็กปฐมวัยให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่

ระดับ .01 ยกเว้นด้านการตีความ นอกจากนี้ ผู้

วิจัยได้สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยคำานึงถึง แนวคิดและทฤษฎีที่สอดคล้องกับการเรียนรู้และ การส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณ ของเด็กปฐมวัย คือ ออกแบบกิจกรรมให้เด็กได้พบ กับสถานการณ์ที่แปลกใหม่ กระตุ้นความสงสัย หรือขัดแย้งในความคิด และให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ

กิจกรรมด้วยตนเองเพื่อให้เด็กคิดหาทางออกหรือ วิธีการในการแก้ปัญหา สอดคล้องตามทฤษฎี

พัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget ที่กล่าวว่า ความรู้หรือประสบการณ์เดิมเป็นปัจจัยสำาคัญที่ส่ง เสริมให้เด็กแสวงหาและใช้ความรู้เกี่ยวกับโลกรอบ ตัว จนพัฒนาเป็นความรู้หรือประสบการณ์ใหม่

ผ่านการลงมือกระทำาด้วยตนเอง (สิริอร วิชชาวุธ, 2554: 112 ; อ้างอิงจาก Piaget, 1969).

และรูปแบบที่สร้างขึ้นเน้นการสร้างแรงจูงใจ ภายในให้เกิดขึ้นกับเด็ก มีการวิเคราะห์ จัด โครงสร้าง เนื้อหาและสาระการเรียนรู้ให้เหมาะ

สมกับระดับความพร้อมและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากการทดลอง การสืบค้นข้อมูล และการประมวลความรู้จากแหล่งเรียนรู้เพื่อค้น พบคำาตอบ สอดคล้องตามทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bruner ที่กล่าวว่าเด็กแต่ละคนมีประสบการณ์และ พื้นฐาน ความรู้ที่แตกต่างกัน เด็กเลือกที่จะ รับรู้ในสิ่งที่สนใจและใส่ใจ การเรียนรู้เกิดจาก กระบวนการที่เด็กมีการค้นหาและค้นพบสิ่งที่

ต้องการด้วยตนเอง (Discovery Learning) และ เด็กสามารถเรียนรู้วิชาการต่างๆได้ เพียงแต่ต้อง จัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมและเป็นไปตามความ พร้อมของเด็กแต่ละคน (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, 2550: 60-61 ; สุรางค์ โค้วตระกูล, 2554:

212-213) อีกทั้งรูปแบบที่สร้างขึ้นส่งเสริมการ จัดกิจกรรมให้เด็กได้มีการวางแผน ออกแบบ สรุปความคิดเห็นผ่านการระดมสมอง อภิปราย และทำางานร่วมกับผู้อื่น สอดคล้องตามทฤษฎี

วัฒนธรรมเชิงสังคมของ Vygotsky ที่กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็ก มีปฏิสัมพันธ์และทำางานร่วมกับผู้อื่น เมื่อเด็กเผชิญ ปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถคิดแก้ปัญหาได้โดย ลำาพัง หากเมื่อเด็กได้รับการช่วยเหลือสนับสนุน หรือแนะนำาจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์

มากกว่าจะทำาให้เด็กสามารถแก้ปัญหานั้นได้และ เกิดการเรียนรู้ขึ้น (Chandra. 2008: 21-23 citing Vygotsky, 1991.Child Development in Social Context. 32-41) สอดคล้องกับงาน วิจัยของรุ้งลาวัลย์ ไชยสัตย์ (2550: 81) ที่พบ ว่า รูปแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้สำารวจ ค้นคว้าทดลองและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ที่

เป็นรูปธรรมทำาให้เด็กพัฒนาทักษะต่างๆ รวมทั้ง การคิดวิจารณญาณ หรือการให้เด็กลงมือกระทำา ตามความคิดของตนเอง ท่ามกลางบรรยากาศ ที่ผ่อนคลาย สนุกสนานและท้าทาย สอดคล้อง ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการ ทำางานของสมอง (Brain-based Learning) ที่ให้

ความสำาคัญในเรื่องการสร้างบรรยากาศให้เด็กรู้สึก ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed alertness) การ ให้โอกาสเด็กได้ซึมซับสิ่งที่เรียนรู้ (Orchestrated immersion) และการมีกระบวนการจัดกระทำา โดยตรงกับประสบการณ์ (Active processing) (Caine. et al, 2009: 6-8) ซึ่งสอดคล้องกับงาน วิจัยของAwolola (2011: 104) ที่พบว่า ยุทธวิธี

การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำางาน ของสมองทำาให้เด็กมัธยมศึกษาตอนปลายมีผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าการเรียน ด้วยวิธีบรรยายแบบปกติ

2. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N

2.1 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N มีค่าเท่ากับ 0.62 แสดงว่าหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการ เรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เด็กปฐมวัยมีคะแนนความ สามารถทางการคิดวิจารณญาณเพิ่มขึ้น 0.62 หรือคิดเป็นร้อยละ 62.00 ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ได้ออก แบแผนการจัดประสบการณ์ที่ผ่าน การตรวจ สอบความถูกต้องเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญที่มี

ประสบการณ์ด้านเนื้อหา ด้านการคิด และด้าน การวัดและประเมินผล รวมทั้งมีการหาคุณภาพ ของแผนการจัดประสบการณ์ด้วยการทดลองใช้

ก่อน นอกจากนี้ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น ให้เด็กได้ลงมือกระทำาผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และทำางานร่วมกับผู้อื่นตามกระบวนการจัดการ เรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำางานของสมอง โดย ครูเป็นผู้คอยชี้แนะและกระตุ้นการคิดให้การจัด กิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายอย่างมี

ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับงานวิจัยของจารุวรรณ คงทวี (2551: 57-58) ที่พบว่า กิจกรรมที่สามารถ ส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณ ของเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมเด็กได้ลงมือกระทำา

มีโอกาสสังเกต สำารวจ จำาแนก เปรียบเทียบสิ่ง ต่างๆ และเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้เด็กคิดค้นหรือหา วิธีการแปลกใหม่มาค้นคว้าทดลองหรือแก้ปัญหา ด้วยตนเอง

2 . 2 เ ด็ ก ป ฐ ม วั ย ที่ ไ ด้ รั บ ก า ร จั ด ประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการ คิดวิจารณญาณเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัย สำาคัญทางสถิติ .01 ที่ปรากฏเช่นนี้อาจเนื่องจาก รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีการ กำาหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมที่ชัดเจนช่วยให้เด็ก ปฐมวัยสามารถทำากิจกรรมได้อย่างเป็นระบบและ ช่วยส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณ ได้จริง นับตั้งแต่ขั้นปลุกสมอง (Boosting=B) ด้วย การทำาท่าบริหารสมอง (Brain Gym) พบว่า เด็ก จะนิ่งสงบลง พูดคุยกันในระดับเสียงที่ไม่ดังจน เกินไป และตั้งใจฟังครูมากขึ้น ที่เป็นเช่นนี้อาจ เนื่องจากท่าบริหารสมอง (Brain Gym) เป็นการ เคลื่อนไหวช้าๆที่ผ่านการวิจัยและทดลองมาแล้ว ว่าสามารถปรับคลื่นสมองให้อยู่ในสภาวะพร้อม จะเรียนรู้และเกิดสมาธิได้ สอดคล้องกับงานวิจัย ของ Hannaford (2005: 127) ที่นำาท่าบริหาร สมอง (Brain Gym) ไปให้เด็กที่มีปัญหาในการ เรียนรู้ฝึกทำาก่อนการเรียนซ่อมเสริมทุกวัน ครั้งละ 5 -10 นาที พบว่า เด็กมีผลการเรียนสูงขึ้นและ มีความมั่นใจ สามารถทำางานได้อย่างจดจ่อ มี

สมาธิมากขึ้น ขั้นระบุและเชื่อมโยง (Remarking and Relating=R) เมื่อครูนำาสื่ออุปกรณ์มาให้เด็ก สังเกตและสัมผัส เด็กแสดงความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ และร่วมสนทนาผ่านการ ตั้งคำาถามของครู โดยเด็กสามารถเล่าประสบการณ์

เดิม และบอกเรื่องหรือประเด็นที่ต้องการจะเรียน รู้ได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากครูได้จัดกิจกรรมให้เด็ก สังเกตสื่อที่เป็นรูปธรรมและ/หรือสถานการณ์ใกล้

ตัว รวมทั้งกระตุ้นให้เด็กคิดประเด็นที่ต้องการจะ

ศึกษา นอกจากนี้ครูให้เด็กคิดทบทวนว่าหัวข้อ หรือประเด็นที่เรียนรู้นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง และ/หรือสำาคัญกับตัวเด็กอย่างไร ส่งผลให้เด็กมี

การแสดง ความคิดเห็นมากมายเกิดความอยาก รู้อยากเห็นและพยายามแสวงหาความรู้ เพื่อให้

เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์หรือเรื่องนั้นๆ สอดคล้องกับ Jensen (2008: 134) ที่กล่าวว่า สมองจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อรับรู้ว่าเรื่องที่เรียนมีความ หมายต่อความอยู่รอดหรือจำาเป็นต่อตนเอง และ มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่มีอยู่ก่อนเพื่อให้

สิ่งที่จะเรียนรู้มีความสมบูรณ์ ขั้นค้นหาคำาตอบ (Acquiring=A) เด็กสามารถวางแผนและดำาเนิน การค้นคว้าหาความรู้ตามที่กำาหนดไว้ได้ มีความ กระตือรือร้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของ ตนเองให้กับเพื่อนตลอดเวลาขณะทำากิจกรรม ที่

ผลเป็นเช่นนี้อาจเนื่องจากครูได้จัดกิจกรรมให้

เด็กได้ค้นหาคำาตอบและตรวจสอบความรู้เดิม ด้วยการปฏิบัติจริง มีส่วนร่วมในการวางแผนและ ค้นคว้าจากการเลือกและตัดสินใจ ของเด็กเอง เพราะเด็กเกิดมาพร้อมความต้องการที่จะเข้าใจ และหาความหมายของสิ่งต่างๆ สมองของเด็กจะ เลือกรับรู้เฉพาะสิ่งที่ต้องการจะรู้ ขณะเดียวกัน จะแสวงหาและตอบสนองต่อสิ่งเร้าใหม่ๆ (Caine

& Caine, 1990: 67) สอดคล้องกับ Jenzen (2008: 146) ที่ให้ข้อเสนอแนะว่าครูควรจัด กิจกรรมผ่านการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมความ สามารถทางการคิดวิจารณญาณให้กับผู้เรียน ขั้น สรุปผล (Inferring=I) เด็กสามารถอภิปรายและ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อสรุปจากสิ่งที่ศึกษา หรือที่ค้นพบได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากครูกระตุ้น ให้เด็กไตร่ตรองและคิดย้อนกลับไปที่ขั้นระบุเชื่อม โยงและขั้นค้นหาคำาตอบ ส่งผลให้เด็กได้ประเมิน ความรู้และความคิดของตนเองว่าตรงกับสิ่งที่คิด ไว้หรือต้องการมากน้อยพียงใด เพราะการคิด ไตร่ตรองเป็นกระบวนการวิเคราะห์การตัดสิน ใจโดยมุ่งเน้นที่กระบวนการดำาเนินงานทั้งหมด

Garis besar

Dokumen terkait