• Tidak ada hasil yang ditemukan

การก าหนดเกณฑ์ในการวัดผลและประเมินผล

ภาคผนวก

3. แนวทางการสัมภาษณ์

4.3 การก าหนดเกณฑ์ในการวัดผลและประเมินผล

การก าหนดเกณฑ์ในการวัดผลประเมินผล ควรมีความสอดคล้องกับเครื่องมือ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการตั้งเกณฑ์การประเมิน หรือเป็นเกณฑ์ที่ผู้เรียน และผู้สอนยอมรับร่วมกัน และผู้สอนควรแจ้งให้ผู้เรียนทราบเกณฑ์การประเมินล่วงหน้าก่อน เพื่อ ผู้เรียนจะได้เตรียมตัวหรือวางแผนการปฏิบัติให้ตรงตามเกณฑ์ให้มากที่สุด

162 5. การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้

การจัดสิ่งแวดล้อมและสร้างบรรยากาศในการเรียนเป็นปัจจัยส าคัญที่มีอิทธิพลต่อการ เรียนรู้ เกิดบรรยากาศที่กระตุ้นแรงจูงใจชวนให้นักเรียนอยากรู้อยากเห็น มีความเชื่อมั่น กล้าคิดกล้า ท า การจัดสิ่งแวดล้อมและสร้างบรรยากาศที่ดีจะช่วยเอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ได้อย่างเต็มศักยภาพ เรียนรู้ได้อย่างมีความสุข เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน การจัดบรรยากาศการเรียนรู้มีดังนี้

5.1 การจัดสภาพห้องเรียน การจัดโต๊ะเก้าอี้ควรมีความเหมาะสมกับจ านวนนักเรียนในห้อง ควรให้ผู้เรียนรู้สึกสะดวกสบาย คล่องตัวในการเคลื่อนไหว และสามารถดัดแปลงการจัดโต๊ะเก้าอี้ให้

เหมาะสมในการท ากิจกรรมต่าง ๆ

5.2 การประดับตกแต่งห้องเรียน ช่วยสร้างความสดชื่น แปลกใหม่ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เสมอ ชี้ชวนให้อยากรู้ อยากลองท ากิจกรรม หรือท้าทายให้ใฝ่รู้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น รูปภาพต่างๆ สื่อของจริง โมเดล หุ่นจ าลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในห้องเรียน ผู้สอนก็สามารถ น ามาประกอบการจัดการเรียนรู้ได้ ท าให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีความสนใจในการเรียน

5.3 การจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในห้องเรียน ภายในห้องเรียนควรมีการจัดเก็บสื่อ วัสดุอุปกรณ์อย่างเป็นระบบ สะอาด ปลอดภัยและสะดวกต่อการน ามาใช้ มีมุมหนังสือเพื่อการศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม จัดให้มีป้ายนิเทศเสนอข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย และน าเสนอความรู้เสริมหรือความรู้

ในเนื้อหาบทเรียน ผู้เรียนจะได้ใช้ห้องเรียนตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

5.4 การจัดแหล่งเรียนรู้ไว้บริการผู้เรียนเป็นสิ่งส าคัญ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งต้องมีไว้บริการผู้เรียนอย่างเพียงพอ และทันสมัย เช่น ห้องสมุด คอมพิวเตอร์ที่สามารถค้นคว้าข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ห้องปฏิบัติการ ทดลอง หนังสือต าราที่ใช้อ้างอิง เป็นต้น

163 ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก

ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แรงและการเคลื่อนที่

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความหมายและชนิดของแรง เวลา 1 ชั่วโมง

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่

มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และน าความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง และมีคุณธรรม ตัวชี้วัด

มฐ.ว 4.1 ป.5/1 ทดลองและอธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงซึ่งอยู่ในแนวเดียวกัน ที่กระท าต่อวัตถุ

มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การ แก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและ ตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตัวชี้วัด

มฐ.ว 8.1 ป.5/1ตั้งค าถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ ที่จะศึกษาตามที่

ก าหนดให้และตามความสนใจ

มฐ.ว 8.1 ป.5/2วางแผนการสังเกต เสนอการส ารวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า และ คาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการส ารวจตรวจสอบ

มฐ.ว 8.1 ป.5/3เลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมในการส ารวจตรวจสอบให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือ ได้

มฐ.ว 8.1 ป.5/4บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ และตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์

ไว้ น าเสนอผลและข้อสรุป

มฐ.ว 8.1 ป.5/5สร้างค าถามใหม่เพื่อการส ารวจตรวจสอบต่อไป

มฐ.ว 8.1 ป.5/6แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

มฐ.ว 8.1 ป.5/7บันทึกและอธิบายผลการส ารวจตรวจสอบตามความเป็นจริง มีการอ้างอิง

มฐ.ว 8.1 ป.5/8น าเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดง กระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

164 1. สาระส าคัญ

แรงคือสิ่งที่ท าให้วัตถุเปลี่ยนสภาพจากหยุดนิ่งให้เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนจากเคลื่อนที่อยู่แล้ว เป็นหยุดนิ่ง เร็วขึ้น ช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทาง นอกจากนี้ยังท าให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และขนาด 2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายและสรุปเกี่ยวกับความหมายของแรง และชนิดของแรงได้ (K) 2. สังเกต ทดลอง และอธิบายเกี่ยวกับผลที่เกิดจากแรงได้ (P)

3. ท างานกลุ่มแบบร่วมมือร่วมใจ (A) 3. สาระการเรียนรู้

เมื่อมีแรงกระท าต่อวัตถุ แรงจะท าให้วัตถุมีการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้ โดยเปลี่ยนจาก หยุดนิ่งให้เคลื่อนที่ เช่น เตะฟุตบอล เป็นต้น ส าหรับวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้ว เมื่อมีแรงกระท าก็อาจ เคลื่อนที่เร็วขึ้น ช้าลง หรือหยุดการเคลื่อนที่ได้ นอกจากนี้แรงยังท าให้รูปร่างของวัตถุมีการ

เปลี่ยนแปลงได้ เช่น ทุบดินน้ ามันก้อนกลมให้แบน เป็นต้น ในบางครั้งเมื่อออกแรงผลักหรือดึงวัตถุ

วัตถุอาจไม่มีการเคลื่อนที่ก็ได้ เช่น การออกแรงผลักผนังห้อง แรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. แรงที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

1.1 แรงที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แรงลม แรงน้ า แรงแม่เหล็ก แรงโน้มถ่วงของโลก 1.2 แรงที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น แรงที่คนใช้ปั่นจักรยาน แรงที่ใช้ยกสิ่งของ เป็นต้น 2. แรงที่ได้จากเครื่องจักร หรือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แรงที่เกิดจากการ ท างานของมอเตอร์พัดลม แรงที่เกิดจากการท างานของเครื่องยนต์ต่างๆ เป็นต้น

Garis besar

Dokumen terkait