• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

กกกก

1. ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2530: 29) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึงคุณลักษณะ รวมถึงความรู้ความสามารถของบุคคลอันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน ท าให้บุคคลเกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านต่างๆ ของสมรรถภาพสมอง

ไพศาล หวังพานิช (2536: 89) ให้ความหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ว่า หมายถึง คุณลักษณะและความสามารถของบุคคลอันเกิดจากการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และประสบการณ์การเรียนที่ขึ้นจากการฝึกอบรมหรือการสอบ เป็นการตรวจสอบระดับความสามารถ ของบุคคลว่าเรียนแล้วมีความรู้เท่าใด สามารถวัดได้โดยการใช้แบบทดสอบต่างๆ เช่น ใช้ข้อสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ ข้อสอบวัดภาคปฏิบัติ สามารถวัดได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

1. การวัดด้านปฏิบัติ เป็นการตรวจสอบระดับความสามารถในการปฏิบัติโดยทักษะ ของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถดังกล่าวในรูปของการกระท าจริงให้ออกมาเป็น ผลงาน การวัดต้องใช้ข้อสอบภาคปฏิบัติ

2. การวัดด้านเนื้อหา เป็นการตรวจสอบความสามารถเกี่ยวกับเนื้อหา ซึ่งเป็น ประสบการณ์การเรียน รวมถึงพฤติกรรมความสามารถในด้านต่างๆ สามารถวัดได้โดยใช้แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2543: 20) ได้กล่าวว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความสามารถของผู้เรียน เป็นผลมาจากการเรียนการสอน วัดโดยใช้เครื่องมือ วัดผลสัมฤทธิ์ทั่วไป

บุญชม ศรีสะอาด (2541: 150) กล่าวว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลการเรียน ที่ได้จากการทดสอบ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่ก าหนดไว้

ภพ เลาหไพบูลย์ (2542: 329) ให้ความหมายไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งความสามารถในการกระท าสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ จากที่ไม่เคยกระท าหรือกระท า ได้น้อยก่อนที่จะมีการเรียนการสอน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีการวัดได้

จากการศึกษาความหมายดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถของนักเรียน วัดโดยใช้แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ในลักษณะต่างๆ และการวัดผลตามสภาพจริง เพื่อบอกถึงคุณภาพของการศึกษา

74 2. จุดมุ่งหมายของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

จุดมุ่งหมายของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบความสามารถของ สมรรถภาพทางสมองของบุคคลว่าเรียนแล้วรู้อะไรบ้างและมีความสามารถด้านใด มากน้อยเท่าใด เช่นพฤติกรรมด้านการจ า ความเข้าใจ การน าไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า มากน้อยอยู่ในระดับใดนั่นคือ การวัดผลสัมฤทธิ์เป็นการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้เรียนในด้าน พุทธิพิสัย ที่เป็นการวัด 2 องค์ประกอบ ตามจุดมุ่งหมายและลักษณะของวิชาที่เรียน ดังนี้

(พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2530: 29-30)

1. การวัดด้านการปฏิบัติ เป็นการตรวจสอบความรู้ความสามารถทางการปฏิบัติ

โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงให้เห็นผลงานปรากฏออกมา สามารถท าการสังเกตและวัดได้ เช่น วิชาศิลปศึกษา พลศึกษา การช่าง เป็นต้น การวัดแบบนี้จึงต้องใช้ “ข้อสอบภาคปฏิบัติ”

(Performance test) ซึ่งเป็นการประเมินผลพิจารณาที่วิธีปฏิบัติ (Procedure) และผลงานที่ปฏิบัติ

2. การวัดด้านเนื้อหา เป็นการตรวจสอบความรู้ความสามารถเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา (Content) รวมถึงพฤติกรรมความสามารถในด้านต่างๆ อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอนมีวิธีการ สอบวัดได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

2.1 การสอบแบบปากเปล่า (Oral test) มักกระท าเป็นรายบุคคลซึงเป็นการสอบ ที่ต้องดูผลเฉพาะอย่าง เช่น การสอบอ่านฟังเสียง การสอบสัมภาษณ์ที่ต้องการดูการใช้ถ้อยค าถาม รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นและบุคลิกภาพต่างๆ เช่น การสอบปริญญานิพนธ์ ที่ต้องการวัดความ เข้ารู้ความเข้าใจในเรื่องที่ท า ตลอดแง่มุมต่างๆ การสอบปากเปล่าสามารถวัดได้ละเอียดลึกซึ้ง และ ค าถามก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มได้ตามต้องการ

2.2 การสอบแบบให้เขียนข้อความ (Paper-pencil test or Written test) เป็นการสอบวัดที่ให้ผู้สอบเขียนเป็นตัวหนังสือตอบ ที่มีรูปแบบการตอบอยู่ 2 แบบ คือ

2.2.1 แบบไม่จ ากัดค าตอบ (Free response type) ได้แก่ การสอบวัดที่ใช้

ข้อสอบแบบอัตนัย หรือความเรียน (Essay test)

2.2.2 แบบจ ากัดค าถาม (Fixed response type) เป็นการสอบที่ก าหนด ขอบเขตของค าถามที่จะให้ตอบหรือก าหนดค าถามมาให้เลือก ซึ่งมีรูปแบบของค าถามค าตอบ 4 รูปแบบ ดังนี้

2.2.2.1 แบบเลือกทางใดทางหนึ่ง (Alternative) 2.2.2.2 แบบจับคู่ (Matching)

2.2.2.3 แบบเติมค า (Completion) 2.2.2.4 แบบเลือกตอบ (Multiple choice)

75 สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการวัดพฤติกรรมของ ผู้เรียนในด้านพุทธิพิสัย ซึ่งวัดได้ทั้งทางภาคปฏิบัติและด้านเนื้อหา

3. แนวความคิดและทฤษฎีในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แนวความคิดในการวัดที่นิยมกัน ได้แก่ การเขียนข้อสอบวัดตามการจัดประเภทจุดมุ่งหมายของการศึกษาด้านพุทธิพิสัยของบลูม มีนักการศึกษาได้กล่าวไว้หลายคน ดังนี้

วารี ถิระจิตร (2534: 220-221) ซึ่งจ าแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัย ออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่

1. ความรู้ (Knowledge) เป็นเรื่องที่ต้องการรู้ว่าผู้เรียนระลึกได้ จ าข้อมูลที่เป็น ข้อเท็จจริงได้ เพราะข้อเท็จจริงบางอย่างมีคุณค่าต่อการเรียนรู้

2. ความเข้าใจ (Comprehension) แสดงถึงระดับความสามารถ การแปลความ การตีความ และขยายความในเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การจับใจความได้ การอธิบาย ความหมาย และการขยายเนื้อหาได้

3. การน าไปใช้ (Application) ต้องอาศัยความเข้าใจเป็นพื้นฐานในการช่วยตีความ ของข้อมูล เมื่อต้องการทราบว่าข้อมูลนั้นมีประเด็นส าคัญอะไรบ้าง ต้องอาศัยความรู้จักเปรียบเทียบ แยกแยะความแตกต่าง พิจารณาน าข้อมูลไปใช้โดยให้เหตุผลได้

4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นทักษะทางปัญญาในระดับที่สูงจะเน้นการแยกแยะ ข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ และพยายามมองหาส่วนประกอบว่ามีความสัมพันธ์กัน และการจัดรวบรวม บลูม (Bloom) ได้แยกจุดหมายของการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ คือ การพิจารณาหรือการจัด ประเภทองค์ประกอบต่างๆ การสร้างความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นและ ควรค านึงถึงหลักการที่ได้จัดรวบรวมไว้แล้ว

5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นการน าเอาองค์ประกอบต่างๆ ที่แยกแยะกันอยู่

มารวมเข้าด้วยกันในรูปแบบใหม่ ถ้าสามารถสังเคราะห์ได้ก็สามารถประเมินได้ด้วย

6. การประเมินค่า (Evaluation) หมายถึง การใช้เกณฑ์และมาตรฐานเพื่อพิจารณา ว่าจุดมุ่งหมายที่ต้องการนั้นบรรลุหรือไม่ การที่นักเรียนสามารถประเมินค่าได้ถูก ต้องอาศัยเกณฑ์หรือ มาตรฐานเป็นแนวทางในการตัดสินคุณค่า การตัดสินใดๆ ที่ไม่ได้อาศัยเกณฑ์น่าจะเป็นลักษณะความ คิดเห็นมากกว่าการประเมิน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2550: 224-227) กล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้วัดด้าน พุทธิพิสัยว่าเป็นเครื่องมือด้านคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่สามารถจ าแนกได้ว่าถูกต้องหรือผิดส าหรับ แนวคิดของเครื่องมือวัดด้านพุทธิพิสัยจะกล่าวถึงแนวคิดของบลูมและคณะได้แบ่งด้านพุทธิพิสัย ออกเป็น6ขั้นจากขั้นที่ง่ายไปสู่ขั้นที่ซับซ้อนดังนี้

76 1.ความรู้(Knowledge)หมายถึงความสามารถในการจ าหรือระลึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาแล้วซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนโดยตรงจ าแนกได้เป็น

1.1ความรู้ในเรื่องเฉพาะเป็นการจ าหรือระลึกเรื่องราวต่างๆเป็นเรื่องเฉพาะ ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และความรู้เกี่ยวกับความจริงเฉพาะอย่าง

1.2ความรู้เกี่ยวกับแนวทางและวิธีด าเนินงานในเรื่องเฉพาะเป็นความสามารถ ในการจ าและระลึกเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับแนวทางและวิธีด าเนินงานในเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ แบ่งออกเป็นความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผนความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มหรือล าดับขั้นตอนความรู้

ในการจ าแนกและจัดประเภทเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์และความรู้เกี่ยวกับวิธีการ

1.3ความรู้ในสิ่งที่เป็นสากลและนามธรรมเป็นความสามารถในการจ าและระลึก เรื่องราวต่างๆได้ในสิ่งที่เป็นสากลและนามธรรมได้แก่ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และข้อสรุปทั่วไป และความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีหรือโครงสร้าง

2.ความเข้าใจ(Comprehension)ผู้เรียนสามารถเข้าใจความหมายของเรื่องราว ต่างๆโดยที่ยังไม่ได้มีการประยุกต์หรือแปลความนอกเหนือจากข้อมูลที่ก าหนดการวัดความเข้าใจ สามารถวัดได้โดยการแปลความ(Translation)การตีความ(Interpretation)และการขยายความ (Extrapolation)

2.1การแปลความเป็นการวัดความสามารถของผู้เรียนโดยการแปลความหมาย ของเรื่องราวต่างๆจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งโดยการใช้ค าพูดของตนเองเช่นการเขียน ประโยคใหม่จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยการแปลจากสูตรไปเป็นข้อความการเขียนข้อความ ให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

2.2การตีความเป็นการวัดความสามารถของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับทักษะต่างๆ เช่นการสรุปข้อความต่างๆโดยใช้ภาษาพูดของตนเองการอธิบายความหมายของตารางแผนภูมิ

และกราฟ

2.3การขยายความเป็นการวัดความสามารถของผู้เรียนในการคาดคะเนหรือ พยากรณ์เกี่ยวกับแนวโน้มของเหตุการณ์ต่างๆเช่นก าหนดข้อมูลให้สามารถอธิบายแนวโน้มของ ข้อมูลในอดีตและอนาคตได้หรือก าหนดเรื่องราวให้อ่านสามารถท านายการจบของเรื่องราวนั้นได้

ความเข้าใจทั้งสามประเภทนี้เป็นล าดับขั้นตอนกันกล่าวคือการแปลความเป็นขั้นตอน ที่ง่ายที่สุดและการขยายความเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนที่สุดเพราะฉะนั้นการตีความจะเป็นขั้นตอนที่

รวมการแปลความไว้ด้วยและการขยายความเป็นขั้นตอนที่รวมทั้งการแปลความและการตีความ 3.การน าไปใช้(Application)เป็นความสามารถในการน าความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว เช่นมโนมติหลักการกระบวนการกฎเกณฑ์ทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่

ได้อย่างถูกต้องเช่นการน านิยามทฤษฎีไปใช้แก้ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นต้น

Garis besar

Dokumen terkait