• Tidak ada hasil yang ditemukan

128

129 1.2 ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้

ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอนที่ 2 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ เทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้

2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2.2 การคิดวิเคราะห์หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์

2.3 การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์กับแบบปกติ

2.4 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์กับ แบบปกติ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอนที่ 1 ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้

ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 น าเสนอ 2 ประเด็น ดังนี้

1.1 ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ หาความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้

ได้จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ จ านวน 3 คน ใช้เป็นข้อมูลส าหรับการพัฒนาการจัดการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ดังนี้

1.1.1 การออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ พบว่า ครูผู้สอนเริ่มจากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิเคราะห์ผู้เรียนเป็น รายบุคคลเพื่อทราบข้อมูลธรรมชาติการเรียนรู้ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน น าข้อมูล จากการวิเคราะห์มาจัดท าหน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์เนื้อหา เวลาในการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์

การเรียนรู้ให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธพิสัย ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ กิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ

130 หาความรู้ตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก าหนดขั้นตอน การสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นที่ 2 ส ารวจและค้นหา (Exploration) ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (Elaboration) และขั้นที่ 5 ประเมิน (Evaluation) สื่อและแหล่งเรียนรู้ เป็นสื่อใกล้ตัว ที่เป็นตัวแทนของเนื้อหาได้ดี เป็นสื่อง่าย ๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ และเป็นสื่อที่เน้นการปฏิบัติ

ก่อให้เกิดการส ารวจตรวจสอบเป็นหลัก และการวัดและประเมินผล เป็นการประเมินผลที่หลากหลาย ที่เน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นการประเมินการปฏิบัติ การประเมินชิ้นงาน เป็นต้น.“ออกแบบและ ก าหนดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยน าแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ สืบเสาะหาความรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก าหนดไว้ 5 ขั้น ได้แก่

ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นส ารวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยายความรู้ และขั้นประเมิน”

1.1.2 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ของครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1) ขั้นสร้างความสนใจ ครูผู้สอนกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรม สั้นๆ กิจกรรมหรือเรื่องราวที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่ก าลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น กระตุ้นให้

ผู้เรียนเกิดความสงสัยอยากรู้อยากเห็นหรือเกิดค าถาม ครูผู้สอนสร้างความสนใจให้ผู้เรียนรู้สึกอยาก เรียนรู้ด้วยการถามค าถาม กระตุ้นผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระเกี่ยวกับกิจกรรม เหตุการณ์

จนเข้าใจในประเด็นหรือค าถามที่สนใจศึกษาอย่างถ่องแท้

2) ขั้นส ารวจและค้นหา ครูผู้สอนก าหนดกิจกรรมส าหรับผู้เรียน ซึ่งแตกต่างกัน ไปตามเนื้อหา เช่น การส ารวจภาคสนาม การทดลองวิทยาศาสตร์ การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสาร อ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอ โดยผู้เรียนจะได้ใช้ประสบการณ์

ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างมากรวมทั้งการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนมีบทบาท ส าคัญในการถามค าถาม แนะน าวิธีการสืบเสาะ ให้ข้อเสนอแนะในแต่ละขั้นของการลงมือปฏิบัติ

ของผู้เรียน ...“ในขณะที่นักเรียนท ากิจกรรม ครูคอยแนะน าให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม และให้นักเรียนได้ออกแบบการทดลอง สังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล โดยบันทึกกิจกรรมและในแต่ละ ขั้นตอน”...

3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ครูผู้สอนถามค าถามกระตุ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้

น าข้อมูลจากขั้นการส ารวจและค้นหาที่มีอย่างเพียงพอ มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และน าเสนอ สาระส าคัญหรือแนวคิดส าคัญในรูปแบบต่าง ๆ ครูผู้สอนให้ค าแนะน าและความสะดวกในการท า กิจกรรมของผู้เรียน

131 4) ขั้นขยายความรู้ ครูผู้สอนช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนท าความเข้าใจกับแนวคิดและ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือข้อสรุปที่ได้ไปอธิบาย สถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ท าให้ผู้เรียนเกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

5) ขั้นประเมิน ครูผู้สอนประเมินผู้เรียนระหว่างการท ากิจกรรมด้วยวิธีการถาม ค าถาม สังเกตการท ากิจกรรมทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล เป็นการประเมินพัฒนาการผู้เรียนหลังเรียน ว่าเป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ ...”วัดผลประเมินผลด้วยการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ระหว่างการท ากิจกรรม การน าเสนอผลงานของกลุ่ม การทดสอบประจ าหน่วยการเรียนรู้ น าผลที่ได้

มาพัฒนานักเรียน และกระบวนการจัดการเรียนรู้”...

1.1.3 แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้

ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์พบว่า ครูผู้สอนได้น าเทคนิคการถามค าถามเพื่อให้มีการอภิปรายหาค าตอบ ที่จะเป็นแนวทางการตั้งสมมติฐานตลอดจนการสรุปผล กระตุ้นให้ผู้เรียนถามค าถามเพื่อเชื่อมโยง ค าตอบไปสู่ค าถามใหม่ และได้ใช้ผังก้อนเมฆ ผังแบบวงกลมซ้อน และผังมโนทัศน์ เป็นเทคนิคการ สอนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ในขั้นส ารวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ...“วิธีการหรือเทคนิคการสอนที่น ามาใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ได้น าเทคนิคการใช้ค าถามกระตุ้นคิดโดยใช้ค าถามปลายเปิด ในบางแผนการจัดการเรียนรู้ได้น า ผังกราฟิกแบบวงกลมซ้อนมาร่วมในการจัดการเรียนรู้ในขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ฝึกให้นักเรียนใช้

ผังกราฟิกแบบวงกลมซ้อนในการจ าแนกข้อมูลที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันของข้อมูล”...

ครูผู้สอนได้จัดบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนร่วมมือกันท างานและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ระหว่างเพื่อนในกลุ่มและเพื่อนในห้องเรียน น าเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อน ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากตนเองอย่างมีเหตุผล ส่งเสริมให้นักเรียนท างานร่วมกันในการเสาะ แสวงหาความรู้ นักเรียนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการท างานของกลุ่ม ส่งเสริมบรรยากาศใน ชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เฉลี่ยอยู่ในระดับดี

และคะแนนการทดสอบระดับชาติ (O-net) อยู่ในระดับดี

1.2 ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค ผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ตามตาราง 8 ดังนี้

132 ตาราง 8 ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และขั้นการคิดวิเคราะห์ของบลูม

ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหา ความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์

ขั้นการคิดวิเคราะห์ของบลูม (Bloom)

ขั้นที่ 1 ขั้นเกริ่นน า เป็นขั้นน าเข้าสู่บทเรียน เป็นกิจกรรมที่

สร้างความรู้สึกอยากรู้อยากเรียนให้เกิดขึ้นกับนักเรียน โดยการ สร้างแรงจูงใจในการเรียน ใช้กิจกรรมที่หลากหลาย

การวิเคราะห์ความส าคัญ เป็นการวิเคราะห์ว่าสิ่งที่อยู่นั้น อะไรส าคัญหรือจ าเป็น ตัวไหน เป็นเหตุ ตัวไหนเป็นผล เหตุผลใด ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด ขั้นที่ 2 ขั้นถามตอบ เป็นขั้นก าหนดประเด็นในการเรียนเป็น

กิจกรรมที่ผู้สอนใช้ค าถามในหลายลักษณะเพื่อกระตุ้นนักเรียน ได้ใช้ทักษะการคิดเรียบเรียงความรู้ ถ่ายทอดเป็นลักษณะการ โต้ตอบให้นักเรียนเข้าใจในประเด็นค าถามที่สนใจ จะศึกษา อย่างถ่องแท้ ครูตั้งค าถามให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ วิจารณ์แล้ว สรุปจากการถามและการตอบให้ได้ประเด็นที่ต้องการ ขั้นที่ 3 ขั้นสอบสวนสืบค้น เป็นขั้นการเสาะแสวงหาความรู้

และวิเคราะห์ กิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัติมีการอภิปรายร่วมกัน ร่วมกันตั้งสมมติฐานตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ ด าเนินการ วางแผนก าหนดแนวทางการส ารวจตรวจสอบค าตอบของ ค าถาม วางแผนการส ารวจตรวจสอบหรือออกแบบการทดลอง ปฏิบัติทดลอง ค้นหา บันทึกข้อมูล และรวบรวมข้อมูลจาก แหล่ง ข้อมูลต่างๆ นักเรียนใช้เทคนิคผังกราฟิก ได้แก่ ผัง ก้างปลา ผังทีชาร์ต หรือเวนน์ไดอะแกรม เป็นการน าข้อมูลที่

ได้รับ มาจัดกระท าข้อมูลโดยอาศัยทักษะการคิดวิเคราะห์

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์

เป็นความสามารถในการ วิเคราะห์ค้นหาว่าความส าคัญ ย่อยๆ ของเรื่องราวหรือ เหตุการณ์นั้นมีความแตกต่าง หรือต่อเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร สอดคล้องหรือขัดแย้งกันอย่างไร การวิเคราะห์ความสัมพันธ์

อาจจะถามความสัมพันธ์ของ เนื้อเรื่องกับเหตุ เนื้อเรื่องกับผล เหตุกับผล

ขั้นที่ 4 ขั้นน าเสนอ เป็นกิจกรรมที่นักเรียนน าข้อมูลที่ได้จาก การจัดกระท าข้อมูลในขั้นสอบสวนสืบค้นไปเชื่อมโยงกับ ความรู้เดิม หรือน าแบบจ าลอง หรือข้อสรุปที่ได้ไปน าเสนอ ข้อมูลที่แสดงองค์ความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นสืบค้นจากการ เรียนรู้ โดยน าสัญลักษณ์ ค าส าคัญ ความคิดหรือข้อมูลส าคัญ มาเชื่อมโยงกันในแบบต่างๆ โดยใช้ผังกราฟิกในการน าเสนอ

Garis besar

Dokumen terkait