• Tidak ada hasil yang ditemukan

การวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์

กกกก

6. การวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2543: 149-154) กล่าวไว้ว่าการวัดความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ คือการวัดความสามารถในการแยกแยะส่วนย่อยของเหตุการณ์ เรื่องราวหรือเนื้อหา ต่างๆ ว่าประกอบด้วยอะไร มีจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์สิ่งใด นอกจากนั้น ยังมีส่วนย่อยๆ ที่ส าคัญ นั้นแต่ละเหตุการณ์เกี่ยวพันกันอย่างไรบ้างและเกี่ยวกันโดยอาศัยหลักการใด จะเห็นว่าสมรรถภาพ ด้านการวิเคราะห์จะเต็มไปด้วยการหาเหตุและผลมาเกี่ยวข้องกันเสมอ การวิเคราะห์จึงต้องอาศัย พฤติกรรมด้านการจ า ความเข้าใจ และการน าไปใช้ มาประกอบการพิจารณาการวัดความสามารถ ในการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การวิเคราะห์ความส าคัญ เป็นการวิเคราะห์ว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นอะไรส าคัญหรือ จ าเป็นหรือมีบทบาทที่สุด ตัวไหนเป็นเหตุ ตัวไหนเป็นผล เหตุผลใดถูกต้องและส าคัญที่สุด

2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นการหาความสัมพันธ์ หรือความเกี่ยวข้องส่วนย่อย ในปรากฏการณ์หรือเนื้อหานั้น เพื่อมาอุปมาอุปไมย หรือค้นหาว่าแต่ละเหตุการณ์นั้นมีความส าคัญ อะไร เกี่ยวพันกันอย่างไร

3. วิเคราะห์หลักการ เป็นความสามารถที่จะจับเค้าเงื่อนของเรื่องราวนั้นว่ายึด หลักการใด มีเทคนิคหรือยึดปรัชญาใด อาศัยหลักการเป็นสื่อสารสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ

68 ลักขณา สริวัฒน์ (2549: 84-85) กล่าวไว้ว่า การวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์

คือการวัดความสามารถในการแยกแยะส่วนย่อยๆ ของเหตุการณ์ เรื่องราวว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง มีจุดมุ่งหมายหรือประสงค์สิ่งใด แต่ละเหตุการณ์นั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร โดยอาศัยหลักการใด จะเห็นได้ว่าสมรรถภาพด้านการคิดวิเคราะห์เต็มไปด้วยการหาเหตุ และผลมาเกี่ยวข้องกันเสมอ การวิเคราะห์จึงต้องอาศัยพฤติกรรมด้านความจ า ด้านความเข้าใจ และด้านการน าไปใช้มาประกอบ การพิจารณา การวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์จึงเป็นการวัดความสามารถในการแจกแจง รายละเอียด เรื่องราว ความคิด การปฏิบัติออกเป็นส่วนย่อยๆ โดยอาศัยหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง แบ่งตามประเภทของเนื้อหาที่วัดออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. การวิเคราะห์ความส าคัญ เป็นการให้ค้นหาเหตุผล คุณลักษณะเด่นของเรื่องราว ในแง่มุมต่างๆ ตามกฎเกณฑ์ที่ก าหนดให้ เป็นการวิเคราะห์ว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นอะไรส าคัญหรือจ าเป็นหรือ มีบทบาทที่สุด ตัวไหนเป็นเหตุ ตัวไหนเป็นผล เหตุผลใดถูกต้องและเหมาะสมที่สุด ตัวอย่างค าถาม เช่น สิ่งใดส าคัญที่สุดที่ท าให้บ้านมีความมั่นคงไม่พังง่าย ค าตอบคือ เสา เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นการหาความสัมพันธ์ หรือความเกี่ยวข้อง ส่วนย่อยในปรากฏการณ์หรือเนื้อหานั้น เพื่อน ามาอุปมาอุปไมยหรือค้นหาว่าแต่ละเหตุการณ์นั้น มีความส าคัญอะไรที่ไปเกี่ยวพันกัน

3. การวิเคราะห์หลักการ เป็นความสามารถที่จะจับเค้าเงื่อนของเรื่องราวนั้นว่า ยึดหลักการใด มีเทคนิคหรือยึดหลักปรัชญาใด อาศัยหลักการใดเป็นสื่อสารสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความ เข้าใจ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2550: 101-102) กล่าวไว้ว่าข้อสอบประเภทการ คิดวิเคราะห์นี้จะต้องวัดความสามารถในการแยกแยะส่วนประกอบของเหตุการณ์ออกเป็นส่วนย่อยๆ แล้วจ าแนกให้เห็นความส าคัญ ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบนั้นๆ ได้ การคิดวิเคราะห์จ าแนกได้

เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การวิเคราะห์ความส าคัญ เป็นการแยกแยะส่วนประกอบออกมาจนสามารถ เห็นว่าส่วนใดส าคัญ เป็นสาเหตุหรือผลลัพธ์ แนวการสร้างค าถาม ควรถามเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้

1.1 ส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง สมมติฐาน สิ่งที่เป็นแก่น 1.2 ความมุ่งหมายส าคัญว่าอยู่ตรงไหน เรื่องอะไร 1.3 อันดับความส าคัญขององค์ประกอบย่อยๆ ฯลฯ

2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการค้นหาความสัมพันธ์

ความเกี่ยวข้องระหว่างองค์ประกอบ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อเรื่องทั้งหมดกับสาเหตุหรือ ส่วนสนับสนุน แนวการสร้างค าถาม ควรถามเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้

2.1 ให้ค้นหาความส าคัญย่อยๆ ของเรื่องราวนั้น

69 2.2 มีอะไรเป็นสาเหตุหรือผล

2.3 บุคคลหรือบทความนี้ ยึดทฤษฎีอะไร

2.4 ค ากล่าวนี้ ขยาย สนับสนุนหรือคัดค้านอะไร ฯลฯ

3. การวิเคราะห์หลักการ เป็นความสามารถที่จะแยกแยะจนเห็นว่าเรื่องนั้นๆ มีหลักการใด มีโครงสร้างอย่างไร แนวการสร้างค าถาม ควรถามเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้

3.1 จับแก่นให้ได้ว่าเรื่องนี้ยึดถือหลักการใด ใช้เทคนิคใด

3.2 มีระเบียบวิธีในการเรียบเรียง และมีเค้าโครงการสร้างอย่างไร ฯลฯ ชวลิต ชูก าแพง (2550: 101-105) ได้กล่าวว่า การประเมินผลด้านพุทธิพิสัย เป็นกระบวนการประเมินเพื่อวัดระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน จุดมุ่งหมายทางการศึกษาของ Bloomถือได้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาในโรงเรียน และในทุกสาขาวิชา เครื่องมือในการประเมินส่วนใหญ่จึงเป็นแบบทดสอบที่มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองจุดประสงค์ดังกล่าว

1. จุดมุ่งหมายด้านพุทธิพิสัย

1.1 การปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายด้านพุทธิพิสัยของบลูม ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมาจากการน าจุมุ่งหมายทางการศึกษาของบลูม ไปใช้ในระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่ามีข้อจ ากัด สรุปได้ดังต่อไปนี้

1.1.1 มาตรฐานที่เข้มงวดของพฤติกรรมในแต่ละขั้น ท าให้เกิดความเข้าใจว่า ไม่สามารถทับซ้อนและเหลื่อมล้ ากันได้

1.1.2 พฤติกรรมในขั้นต่ าบางพฤติกรรมมีความซับซ้อนมากกว่าขั้นสูง 1.1.3 การให้ค าจ ากัดความในพฤติกรรมแต่ละขั้น

1.1.4 ไม่สะท้อนแนวคิดการประเมินตามแนวคิดใหม่

จากข้อจ ากัดดังกล่าว เดวิท แครทโวล์ท (David Krathwohl) บรรดาผู้เชี่ยวชาญและ ลูกศิษย์ของ Bloom ได้ร่วมกันปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาด้านพุทธิพิสัยในปี 1990-1999 โดยสามารถสรุปการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้

1.2 กระบวนการทางปัญญาใหม่ของ Bloom ล าดับขั้นตอนของกระบวนการ ทางปัญญาในจุดหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัยของบลูม ที่ปรับปรุงใหม่ ยังคงมีล าดับ 6 ขั้น ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

1.2.1 จ า (Remembering) หมายถึง ความสามารถในการระลึกได้แสดง รายการได้ บอกได้ ระบุ บอกชื่อได้ ตัวย่างเช่น นักเรียนสามารถบอกความหมายของทฤษฎีได้

1.2.2 เข้าใจ (Understanding) หมายถึง ความสามารถในการ

แปลความหมาย ยกตัวอย่าง สรุป อ้างอิง ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถอธิบายแนวคิดทฤษฎีบทได้

70 1.2.3 ประยุกต์ใช้ (Applying) หมายถึง ความสามารถในการน าไปใช้

ประยุกต์แก้ไขปัญหา ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาได้

1.2.4 วิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบ อธิบายลักษณะการจัดการ ตัวอย่างเช่น สามารถบอกความแตกต่างระหว่าง 2 ทฤษฎีได้

1.2.5 ประเมินค่า (Evaluation) หมายถึง ความสามารถในการตรวจสอบ วิจารณ์ ตัดสิน ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถตัดสินคุณค่าของทฤษฎีได้

1.2.6 คิดสร้างสรรค์ (Creating) หมายถึง ความสามารถในการออกแบบ วางแผน ผลิต ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถน าเสนอทฤษฎีใหม่ที่แตกต่างไปจากทฤษฎีเดิมได้

สุวิทย์ มูลค า (2551: 157) ได้กล่าวถึงแนวทางการประเมินการคิดวิเคราะห์ว่าสามารถ จ าแนกได้เป็น 2 แนวทาง ดังนี้

Garis besar

Dokumen terkait