• Tidak ada hasil yang ditemukan

ออกให้เป็นรูปภาพถ้าสามารถท าได้

กกกก

15. ออกให้เป็นรูปภาพถ้าสามารถท าได้

16. ไม่ควรให้ตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งมีโอกาสถูกบ่อยมากเกินไป

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ในการสร้างแบบทดสอบให้มีคุณภาพ วิธีสร้างแบบทดสอบ ที่เป็นค าถามเพื่อวัดเนื้อหาและพฤติกรรมที่สอนไปแล้ว ต้องตั้งค าถามที่สามารถวัดพฤติกรรมการ เรียนการสอนได้อย่างครอบคลุมและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยในประเทศ

ลักขณา อันทะปัญญา (2556: 133-141) ได้ท าการศึกษาการพัฒนาทักษะความ สามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจ าวัน โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้

ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และผู้เรียนไม่น้อย กว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้

ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จ านวน 28 คน โรงเรียนอนุบาลชื่นชม อ าเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการสืบเสาะหา ความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจ าวัน เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น การศึกษากลุ่ม ทดลองกลุ่มเดียว และมีการทดสอบหลังทดลองหนึ่งครั้ง (One Shot Case Study) ผลการวิจัยพบว่า

84 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผัง กราฟิก มีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์ ร้อยละ 73.11 มีจ านวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 76.20 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้

วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

คิดเป็นร้อยละ 73.13 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 75 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดไว้

ธนลาวัลย์ เพียรค้า (2556: 79-86) ได้ท าการศึกษาการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหา ความรู้(5E) โดยใช้เทคนิคผังความคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการได้รับการ จัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้(5E) โดยใช้เทคนิคผังความคิด ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาสาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหา ความรู้โดยใช้เทคนิคผังความคิด แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้โดยใช้

เทคนิคผังความคิด แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

มานพ สิงห์วี (2556: 115-128) ได้ท าการศึกษาผลการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก ประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความ คงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจ านวนนักเรียนที่

ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาฟิสิกส์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบ รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ของนักเรียนที่

ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมแสงชนูทิศ อ าเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จ านวน 39 คน เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น เป็นการศึกษากลุ่มทดลอง กลุ่มเดียว ทดสอบก่อน-หลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้

เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มีคุณภาพในระดับเหมาะสม มากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ จ านวน 30 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม มีจ านวนเท่ากับร้อยละ 72 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

85 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกประกอบรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

มีความคงทนในการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์

รุ้งอรุณ โยธาวรมนตรี (2556: 221-234) ท าการศึกษาผลการใช้การสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง พันธะเคมี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค ผังกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 3) เปรียบเทียบเจตคติ

ต่อวิชาเคมีของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และ เจตคติต่อวิชาเคมี ของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกันที่ได้รับการสอนโดยวิธีสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอุดม พัฒนศึกษา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จ านวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาเคมี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One–way MANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 มีเจตคติต่อวิชาเคมีหลังเรียนอยู่ในระดับมาก และนักเรียนที่มีความสามารถ ทางการเรียนต่างกัน เมื่อได้รับการสอนโดยวิธีสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาเคมีหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สมจิต ผอมเซ่ง (2557: 160-173) ได้ท าศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา

86 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิกกับนักเรียนที่เรียนตามปกติ

2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิกกับนักเรียนที่เรียนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา จ านวน 2 ห้องเรียน รวม 80 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบ กลุ่มแล้วจับสลากให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิก และเป็นห้องเรียนควบคุมใช้วิธีจัดการเรียนรู้ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้

ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้เทคนิคผัง กราฟิก 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

4) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิก สูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้ตามปกติอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิกสูงกว่า นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามปกติ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

แน่งน้อย อินคะเน (2558: 85-96) ได้ท าการศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ การสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ชั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์

เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดย ใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ชั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้

7 ชั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกตามเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์

ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ชั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ การสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ชั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดชลธาราสิงเห (เสาร์ศึกษาคาร) อ าเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จ านวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการ จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ชั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่องไฟฟ้าปัจจัยพื้นฐานของชีวิต จ านวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ เป็นแบบทดสอบแบบคู่ขนานก่อนและหลังเรียน ฉบับละ 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัด ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก เป็นแบบทดสอบแบบคู่ขนาน

Garis besar

Dokumen terkait