• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้สรุปผลของการวิจัยหลังจากที่ได้ท าการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

1. ความมุ่งหมายของการวิจัย 2. สรุปผล

3. อภิปรายผล 4. ข้อเสนอแนะ ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค ผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ เทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2.1 เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 70

2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75

2.3 เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์กับนักเรียน ที่เรียนแบบปกติ

2.4 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์กับนักเรียนที่

เรียนแบบปกติ

137 สรุปผล

1. กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.1 ขั้นเกริ่นน า(Introduction) 1.2 ขั้นถามตอบ(Question)

1.3 ขั้นสอบสวนสืบค้น(Investigation) 1.4 ขั้นน าเสนอ(Presentation) 1.5 ขั้นสรุป(Conclusion)

2. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค ผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2.1 นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้

ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์ร้อยละ 75.43 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ (= 22.63 , S.D. = 2.11)

2.2 นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้

ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและการ เคลื่อนที่ เฉลี่ยร้อยละ 78.76 ผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ (= 23.63 , S.D. = 1.98)

2.3 นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ เทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์กับนักเรียนที่เรียนแบบปกติ มีผลการคิดวิเคราะห์

แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.4 นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ เทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์กับนักเรียนที่เรียนแบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อภิปรายผล

จากการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ เทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถอภิปราย ผลได้ ดังนี้

1. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค ผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลจากการพัฒนา

138 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริม การคิดวิเคราะห์มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเกริ่นน า ขั้นถามตอบ ขั้นสอบสวนสืบค้น ขั้นน าเสนอ และ ขั้นสรุป พบว่าในแต่ละขั้นตอนมีความชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทของครูผู้สอนและผู้เรียน ครูผู้สอน วางแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนเป็นส าคัญ ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้มีความชัดเจนเป็นกระบวนการต่อเนื่องเหมาะสมในระดับมาก เนื่องจาก การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ สืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการแก้ปัญหา อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยให้ความส าคัญกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเป็นวิธีการที่สามารถ พัฒนานักเรียนให้เข้าถึงความรู้อย่างเป็นขั้นตอน ผู้สอนมีบทบาทในการตั้งค าถามกระตุ้นให้นักเรียน ได้ใช้กระบวนการคิดหาเหตุผลจนค้นพบความรู้หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง จนสรุปเป็นหลักการหรือวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถน าไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ สอดคล้องกับ ประสาท เนืองเฉลิม (2557: 129-130) ได้อธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้โดยให้

ความส าคัญกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และบริบทข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นแนวทาง ที่จะช่วยยกระดับความเข้าใจในมโนทัศน์ของวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผู้สอน ควรจัดการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ที่น่าสนใจ ซึ่งจะท าให้นักเรียนได้ค้นพบ ความรู้ใหม่ๆ พัฒนาทั้งทักษะทางปัญญาและทักษะที่จ าเป็นเพื่อค้นหาค าตอบ ขั้นตอนการสืบเสาะ หาความรู้ขั้นหนึ่งก็คือการรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นที่ครูมอบหมายให้นักเรียนไปค้นคว้าหาข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลต่างๆ ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และประเมินว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือไม่

มีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพียงได (วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2543: 19) เนื่องจากผังกราฟิกเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้นักเรียนจัดข้อมูลต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ให้เป็นระบบ สามารถเข้าใจและจดจ าได้ง่าย เหมาะสม ที่จะน ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อน าเสนอ ข้อมูลและความคิดที่ผ่านการจัดระเบียบความคิดได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์

(2554: 263-264) ที่ได้น าผังกราฟิก มาใช้ในกระบวนการสอนเริ่มตั้งแต่การน ามาใช้แสดงจุดมุ่งหมาย ในการเรียน การวางแผนการสอนให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และการทดสอบที่เน้นนักเรียนสามารถใช้

ผังกราฟิกให้เหมาะสมกับเนื้อหาต่างๆ สอดคล้องกับ ชนาธิป พรกุล (2557: 194) กล่าวว่าผังกราฟิก เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการคิด โดยผังกราฟิกเป็นการน าเสนอองค์ความรู้เป็นภาพ มีขั้นตอนการสร้างที่ต้องใช้กระบวนการทางปัญญา ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันตามข้อมูลที่น ามาบันทึก ครูสามารถใช้ผังกราฟิกน าเข้าสู่บทเรียนโดยทบทวนความรู้เดิม หรือให้มโนทัศน์ล่วงหน้า หรือใช้

ในการสรุปบทเรียนหรือประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน สอดคล้องกับ สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2555: 87) การจัดระบบความคิดโดยใช้ผังกราฟิกใช้เพื่อประเมินความ เข้าใจ และความถูกต้องของเนื้อหาสาระจากการเรียนรู้ช่วยฝึกและพัฒนาการคิดวิเคราะห์

139 2. นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ เทคนิคผังกราฟิกที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เฉลี่ย 23.63 คิดเป็นร้อยละ 78.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้วิจัยได้

พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่

ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ หาความรู้ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เกริ่นน า ใช้กิจกรรมที่หลากหลายในการกระตุ้น ให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียนซึ่งมีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับสิ่งที่จะเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์

และเกิดความสงสัย เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดการอยากรู้อยากเรียน สอดคล้องกับ ทิศนา แขมมณี (2558: 248) ที่กล่าวไว้ว่าการยกสถานการณ์ เรื่องราว กระตุ้นความสนใจและความ ต้องการในการสืบเสาะหาความรู้แสวงหาความรู้ของผู้เรียน เป็นปัญหาหรือสถานการณ์ที่เหมาะสม กับวัย และความสนใจของผู้เรียน ขั้นที่ 2 ถามตอบ ผู้สอนใช้ค าถามหลายลักษณะเพื่อกระตุ้นผู้เรียน ใช้ทักษะการคิดเรียบเรียงความรู้ เป็นลักษณะของการโต้ตอบให้ผู้เรียนเข้าใจในประเด็นที่สนใจ จะศึกษา โดยครูถามค าถามให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์จากการถามและการตอบ เพื่อให้ได้ประเด็นในการ แสวงหาข้อมูลความรู้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ นันทิยา บุญเคลือบ (2540: 13) ได้กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วยการซักถามประเด็นปัญหา ซึ่งท าให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้

สอดคล้องกับ ภพ เลาหไพบูลย์ (2542: 120) ที่กล่าวไว้ว่าการใช้ค าถามในการสืบเสาะหาความรู้

ไว้ในขั้นสร้างสถานการณ์ เป็นการกระตุ้นและท้าทายให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการ อภิปราย ขั้นที่ 3 สอบสวนสืบค้น ครูผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนก าหนดแนวทางและวางแผนการเสาะ แสวงหาความรู้อย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอ ผู้สอนใช้ผังกราฟิกมาเป็นเทคนิคฝึก การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และจัดกระท าข้อมูลซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์

ผู้เรียนเสาะแสวงหาความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุน ผู้สอนช่วยในการอ านวยความสะดวก และให้ค าแนะน าในการท ากิจกรรม นอกจากนี้ ทิศนา แขมมณี (2554: 41-42) กล่าวไว้ว่าปัญหา จะต้องมีความหมายต่อผู้เรียน และท้าทายเพียงพอที่จะท าให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะแสวงหา ค าตอบ โดยผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการแสวงหาความรู้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

ว่าจะต้องอาศัยสถานการณ์ ปัญหาจากเนื้อหาในขั้นแรกเป็นหลัก ใช้ค าถามที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน เพื่อน าไปสู่การคาดคะเนค าตอบที่อาจเป็นไปได้ ครูเป็นผู้แนะน า ช่วยเหลือเท่าที่จ าเป็น สอดคล้องกับ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548: 76) กล่าวไว้ว่าการสืบเสาะหาความรู้มีขั้นการรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้ดูแลร่วมในการอภิปราย เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ขั้นที่ 4 น าเสนอ ผู้เรียนน าข้อมูลที่แสดงองค์ความรู้ที่ได้จากการ จัดกระท าข้อมูลไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือข้อสรุปที่ได้ไปน าเสนอข้อมูลที่แสดงองค์ความรู้ โดยใช้

ผังก้างปลา ผังทีชาร์ต หรือเวนน์ไดอะแกรม สอดคล้องกับ ทิศนา แขมมณี (2558: 248-249) ได้กล่าว

Garis besar

Dokumen terkait